หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การรับซื้อและตรวจสอบคุณภาพยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-THGB-932A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การรับซื้อและตรวจสอบคุณภาพยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการแปรรูปผลผลิตยางพารา


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการรับซื้อผลผลิตยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการรับซื้อผลผลิตยางพาราได้อย่างตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือในการรับซื้อผลผลิตยางพารา วิธีการตรวจคุณภาพยางก่อนซื้อตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรได้แก่ ยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพ การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจสอบคุณภาพยางก่อนซื้อ และทักษะได้แก่ สามารถทดสอบและสรุปการรับซื้อผลผลิตยางพารา สามารถทดสอบและสรุปผลการตรวจสอบคุณภาพยางพาราก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง การกำหนด รักษาและตัดสินใจเลือกในการรับซื้อผลผลิตยาง ได้แก่ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ผลิตและรักษาคุณภาพยางเครพ สามารถกำหนดและตัดสินใจเลือกในการจัดการตรวจคุณภาพ ได้แก่ ขั้นตอนในการตรวจคุณภาพยางพาราก่อนซื้อได้แก่ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C111

รับซื้อน้ำยางสด

1. อธิบายแหล่งรับซื้อน้ำยางสดได้

C111.01 197067
C111

รับซื้อน้ำยางสด

2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการรับซื้อน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง

C111.02 197068
C111

รับซื้อน้ำยางสด

3. อธิบายขั้นตอนการรับซื้อน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง

C111.03 197069
C111

รับซื้อน้ำยางสด

4. ดำเนินการตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อน้ำยางสดได้

C111.04 197070
C112

รับซื้อยางแผ่นดิบ

1.  อธิบายแหล่งรับซื้อยางแผ่นดิบได้

C112.01 197071
C112

รับซื้อยางแผ่นดิบ

2.  เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการรับซื้อยางแผ่นดิบได้อย่างถูกต้อง

C112.02 197072
C112

รับซื้อยางแผ่นดิบ

3. อธิบายขั้นตอนการรับซื้อยางแผ่นดิบได้อย่างถูกต้อง

C112.03 197073
C112

รับซื้อยางแผ่นดิบ

4. ดำเนินการตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อยางแผ่นดิบได้

C112.04 197074
C1120

ตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อ

1. อธิบายคุณภาพยางเครพก่อนซื้อได้

C1120.01 197103
C1120

ตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อ

2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อได้

C1120.02 197104
C1120

ตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อ

3. อธิบายขั้นตอนการตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง

C1120.03 197105
C1120

ตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อ

4. ดำเนินการตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง

C1120.04 197106
C113

รับซื้อยางก้อนถ้วย

1. อธิบายแหล่งรับซื้อยางก้อนถ้วยได้

C113.01 197075
C113

รับซื้อยางก้อนถ้วย

2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการรับซื้อยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกต้อง

C113.02 197076
C113

รับซื้อยางก้อนถ้วย

3. อธิบายขั้นตอนการรับซื้อยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกต้อง

C113.03 197077
C113

รับซื้อยางก้อนถ้วย

4. ดำเนินการตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อยางก้อนถ้วยได้

C113.04 197078
C114

รับซื้อไม้ยางพารา

1. อธิบายแหล่งรับซื้อไม้ยางพาราได้

C114.01 197079
C114

รับซื้อไม้ยางพารา

2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการรับซื้อไม้ยางพาราได้อย่างถูกต้อง

C114.02 197080
C114

รับซื้อไม้ยางพารา

3. อธิบายขั้นตอนการรับซื้อไม้ยางพาราได้อย่างถูกต้อง

C114.03 197081
C114

รับซื้อไม้ยางพารา

4. ดำเนินการตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อไม้ยางพาราได้

C114.04 197082
C115

รับซื้อยางเครพ

1. อธิบายแหล่งรับซื้อยางเครพได้

C115.01 197083
C115

รับซื้อยางเครพ

2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการรับซื้อยางเครพได้อย่างถูกต้อง

C115.02 197084
C115

รับซื้อยางเครพ

3. อธิบายขั้นตอนการรับซื้อยางเครพได้อย่างถูกต้อง

C115.03 197085
C115

รับซื้อยางเครพ

4. ดำเนินการตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อยางเครพได้

C115.04 197086
C116

ตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อ

1. อธิบายคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อได้

C116.01 197087
C116

ตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อ

2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อได้

C116.02 197088
C116

ตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อ

3. อธิบายขั้นตอนการตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง

C116.03 197089
C116

ตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อ

4. ดำเนินการตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง

C116.04 197090
C117

ตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อ

1. อธิบายคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อได้

C117.01 197091
C117

ตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อ

2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อได้

C117.02 197092
C117

ตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อ

3. อธิบายขั้นตอนการตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง

C117.03 197093
C117

ตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อ

4. ดำเนินการตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง

C117.04 197094
C118

ตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อ

1. อธิบายคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อได้

C118.01 197095
C118

ตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อ

2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อได้

C118.02 197096
C118

ตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อ

3. อธิบายขั้นตอนการตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง

C118.03 197097
C118

ตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อ

4. ดำเนินการตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง

C118.04 197098
C119

ตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ

1. อธิบายคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อได้

C119.01 197099
C119

ตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ

2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อได้

C119.02 197100
C119

ตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ

3. อธิบายขั้นตอนการตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง

C119.03 197101
C119

ตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ

4. ดำเนินการตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง

C119.04 197102

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) คุณลักษณะทางกายภาพที่ดีของผลผลิตยางพารา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการรับซื้อผลผลิตยาง การทดสอบ และการสรุปผลตรวจคุณภาพยางพาราก่อนซื้อ ได้แก่ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพ

2)  มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด รักษาและตัดสินใจเลือกในการรับซื้อผลผลิตยางได้แก่ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตรได้แก่ ผลิตและรักษาคุณภาพยางเครพ การจัดการตรวจคุณภาพ ได้แก่ ขั้นตอนในการตรวจคุณภาพยางพาราก่อนซื้อได้แก่ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพ

3)  มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานให้ถูกต้อง

4)  มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในขั้นตอนการรับซื้อผลผลิตยางพาราได้ตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

2)  มีความรู้ในการเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือในการรับซื้อผลผลิตยางพารา

3)  มีความรู้ในวิธีการตรวจคุณภาพยางก่อนซื้อตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรได้แก่  ยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพ

4)  มีความรู้ในการเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจสอบคุณภาพยางก่อนซื้อ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3) ผลการสอบข้อเขียน

              4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน

              2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน

              3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด

       (ง) วิธีการประเมิน

              1) การสอบข้อเขียน

              2) การสอบสัมภาษณ์

              3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

       (ก)  คำแนะนำ

       ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการรับซื้อและตรวยสอบคุณภาพยางพารา ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

              1. การรับซื้อยางพารา

              ยางพาราที่รับซื้อมีหลายรูปแบบทั้งน้ำยางพาราดิบ ยางก้อนถ้วย ยางแผ่น และยางแปรรูปประเภทต่างๆ ซึ่งคุณต้องมีที่ส่งขายอย่างแน่นอนและจ่ายเงินคล่อง เวลารับซื้อยางพาราต้องรู้จักยางพาราเป็นอย่างดีเพราะมักจะมีการปลอมปนผู้รับซื้อยางได้รับความเดือดร้อนจากการที่ผู้ที่นำน้ำยางมาขายโดยเฉพาะขี้ ยางมีการใส่ดินหิน ทราย และแป้งบางชนิดในก้อนยางเพื่อเพิ่มน้ำหนัก โดยล่าสุดตนเองก็โดนด้วย เมื่อนำไปขายบริษัทกลับถูกบริษัทส่งคืนมาจำนวน 1.5 ตัน โดยบอว่ามีทั้งดินและแป้งปลอมปนมาจำนวนมากโดย  เพราะแรงงานที่กรีดยางเป็นคนทำ หรือเจ้าของสวนตั้งใจปลอมปนเองก็มี ดังนั้น จึงอยากฝากเตือนไปยังผู้ที่รับซื้อยางทุกราย ไม่ว่าจะเป็นยางแผ่น ขี้ยางหรือน้ำยางสด ให้ตรวจสอบก่อนทำการรับซื้อ โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้ารายใหม่ ๆ ที่เพิ่งจะเริ่มเข้ามารับซื้อ ให้สังเกตลูกค้าว่าเป็นใครมาจากไหน พร้อมทั้งตรวจดูเนื้อยางด้วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่ หากไม่แน่ใจให้ใช้มีดผ่าดูก่อนว่ามีอะไรผสมหรือไม่ เพราะนอกจากคนในพื้นที่นำยางมาขายแล้ว ยังมีคนนอกพื้นที่มาขายด้วย โดยเฉพาะผู้รับซื้อหน้าใหม่อาจจะตกเป็นเหยื่อของกลุ่มคนเหล่านี้ได้ เนื่องจากผู้ค้ารายเก่า ๆ ส่วนมากจะโดนกันไปถ้วนหน้าจึงมีความระมัดระวัง กลุ่มคนดังกล่าวจึงมุ่งไปที่ผู้ค้ารายใหม่เป็นเป้าหมายหลักในการหลอกลวงแทนถ้าคุณจะเป็นผู้รับซื้อยางพาราจะต้อง

                     1.1 รู้จักยางพาราดีมากๆ ว่า น้ำยางคุณภาพดีเป็นอย่างไร ยางถ้วยที่ปลอมปนหรือใส่วัสดุบางอย่างมามีลักษณะและทดสอบได้อย่างไร  ยางแผ่นคุณภาพดีมีลักษณะอย่างไร

                     1.2 มีโรงเรือน ที่เก็บเพียงพอและปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัคคีภัย อาจจะต้องมีการทำประกันถ้ามีการเก็บตุนจำนวนมากระยะยาว

                     1.3 มีทุนในการดำเนินการมากพอสามารถที่จะรอราคาได้เพื่อไปนำไปขายต่อ

                     1.4 ถ้ามีรถไปรับซื้อถึงสวนได้ก็ยิ่งดีมากเพราะจะได้ขาประจำและไม่ถูกหลอก

                     1.5 คุณจะขายต่อไห้ใคร ราคาใด ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆหรือทำได้เลย เพราะมีคนตามราคาอยู่ตลอดเวลา ยิ่งถ้ารู้ข้อมูลภายในของการขึ้นลงราคายางคุณจะได้เปรียบกว่าคนอื่นที่จะตัดสินใจกักตุนหรือขายออกไป

                     1.6 ข้อสุดท้ายที่ต้องนำมาพิจารณามากคือ อิทธิพลในท้องถิ่น เนื่องจากมีผู้ประกอบการแบบคุณหลายคนอาจจะมีความขัดแย้งได้ง่าย ถ้าเราไปอยู่แบบโดดเดี่ยวต้องระวังให้มากเพราะแค่เขากลั่นแกล้งเผาโกดังเราก็เจ๊ง

              2. การรับซื้อน้ำยางสด

การซื้อน้ำยางแบบปรอทนั้นเป็นวิธีที่ง่ายไม่ซับซับซ้อนเหมือนกับแบบอบแห้งเพราะมีขั้นตอนการทำไม่เยอะ ซึ่งขั้นตอนมีดังนี้ อย่างแรกคือ ตักน้ำยางสดมา 1 จอกก่อนแล้วทำการใส่น้ำลงไปในกรวยที่เตรียมไว้ จากนั้นก็ใส่ปรอทลงไป แล้วก็ดูเปอร์เซ็นของมันว่าอยู่ในระดับใด สังเกตง่ายๆคือถ้าหากว่าน้ำยางนั้นเหลวเปอร์เซ็นของมันก็จะต่ำแต่ถ้าหากน้ำยางนั้นข้นทำให้เปอร์เซ็นนั้นสูงขึ้นตามลำดับและเกณฑ์ในการดูเปอร์เซ็นนั้นก็ดูว่าปรอทนั้นขึ้นที่ตัวเลขใดก็นำมาคูณกับน้ำหนักได้เลยและเกณฑ์ของปรอทมีดังนี้  ถ้าหากตัวเลขของปรอทอยู่ที่ 50 = 20%   100 = 30%   150 = 40%   200 = 50%   250 = 60%  และภายใน 100 – 250 ก็จะมีขีดเป็นช่องๆลงไปอีก โดยให้ในแต่ละขีดนั้นมีค่าเป็น 2

              3. การรับซื้อยางแผ่นดิบ

ขั้นตอนการบริการซื้อขายยางแผ่นดิบที่ตลาดกลาง

                     3.1 การลงทะเบียน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 14.00 น. ผู้ขายยางยื่นบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรสมาชิกตลาดกลางและหมายเลขรหัสที่ตลาดกลางออกให้ต่อเจ้าหน้าที่ลง ทะเบียนที่จุดลงทะเบียนพร้อมแจ้งน้ำหนักยาง และรับบัตรคิวการ ลงทะเบียนผู้ขายเป็นการแสดงความจำนงในการขายยางของผู้ขายนั้นเอง

                     3.2 การคัดคุณภาพยาง เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุณภาพจะคัดคุณภาพยางในขณะที่ผู้ขายนำยางลงวาง บนแผงเหล็กรองยาง ที่ตลาดกลางจัดเตรียมไว้ให้ ยางแผ่นที่ไม่ได้คุณภาพหรือคุณภาพ ต่ำกว่ามาตรฐานของตลาดกลาง จะถูกคัดออกไปไม่อนุญาต ให้ลงขายในตลาดกลาง การคัดคุณภาพ ในหนึ่งมัดยางหากตรวจพบยางแผ่นคุณภาพต่ำ ตั้งแต่ 1 แผ่นขึ้นไปจะคัดออกทั้งมัดยาง

                     3.3 การชั่งน้ำหนักยาง ยางที่ผ่ายการคัดคุณภาพจะได้รับการชั่งน้ำหนักโดยเจ้าหน้าที่ ชั่งยางของตลาดกลางเท่านั้น เป็นผู้ชั่งพร้อมบันทึกน้ำหนัก และคุณภาพของยางเป็น ราย ๆ ไป

                     3.4 การประมูลยาง เจ้าหน้าที่ฝ่ายประมูลจะรวบรวมปริมาณยางในแต่ละครั้งการประมูลแจ้งไปยังผู้ ประกอบการเพื่อเสนอราคาประมูล โดยจะเริ่มตั้งแต่เวลา 09.25 –10.30 น. ผู้ประมูลที่เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับยางไปในแต่ละครั้ง ที่ประมูล

                     3.5 การจ่ายเงินค่ายาง เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินจะจ่ายค่ายางให้ผู้ขายตามจำนวนน้ำหนัก คุณภาพ และราคาที่ประมูลได้ โดยจะจ่ายเป็นเช็คเงินสด หรือโอนผ่านบัญชีธนาคาร หรือเงินสด

                     3.6 การส่งมอบยาง ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลหรือผู้ประมูลยางได้ต้องรีบจัดส่ง รถบรรทุกยางมารับยางที่ตลาดกลางโดยรับน้ำหนัก ณ ตลาดกลางให้เสร็จสิ้นภายใน วันที่ประมูลได้หรือในวันถัดไป 1 วัน

                     ระเบียบการซื้อขายยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน (ไม่อัดก้อน)

                     1. ผู้ขายยางเป็นชาวสวนยาง/ผู้รวบรวมยางในท้องถิ่น และสถาบันเกษตรกร

                     2. ผู้ซื้อยางเป็นผู้ส่งออก โรงงานแปรรูปยาง โรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและพ่อค้ายาง

                     3. ผู้ซื้อและผู้ขายยางต้องลงทะเบียนก่อนการใช้บริการของตลาดกลาง

                     4. ชนิดยางที่ซื้อขายเป็นยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน (ไม่อัดก้อน) กรณียางแผ่นดิบผู้ขายต้องจัดยางแผ่นดิบเป็นมัด ๆ ละประมาณ 15-20 แผ่น

                     5. ยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน (ไม่อัดก้อน) ที่นำมาขายที่ตลาดกลางจะต้องมีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐานที่สถาบันวิจัยยางกำหนด และเจ้าหน้าที่ของตลาดกลางเท่านั้นที่เป็นผู้คัดคุณภาพ

                     6. การชั่งน้ำหนักยาง

                            6.1 ตลาดกลางเป็นผู้ให้บริการเครื่องชั่งมาตรฐานและเครื่องชั่งน้ำหนักรถยนต์ บรรทุกยางทั้งคันระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องชั่งมาตรฐานที่ผ่านการตรวจสอบจากกระทรวงพาณิชย์

                            6.2 เจ้าหน้าที่ของตลาดกลางเท่านั้นที่เป็นผู้ชั่งและควบคุมการชั่ง

                            6.3 เจ้าหน้าที่ของตลาดกลางจะคัดคุณภาพยางพร้อมกับการชั่งน้ำหนักยางไปด้วย กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบสิ่งแปลกปลอมในแผ่นยางหรือมัดยางจะดำเนินการปรับลด คุณภาพยางหรือถ้าเป็นยางแผ่นรมควัน (ไม่อัดก้อน)

                     7. การซื้อขายใช้วิธีการประมูลยาง

                            7.1 ยางที่มีคุณภาพเดียวกันจะนำเข้าประมูลพร้อมกัน

                            7.2 ราคายางที่ประมูลเป็นราคา ณ ตลาดกลาง ไม่รวมค่าขนส่ง

                            7.3 การประมูลยางในแต่ละครั้งผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงสุด จะเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งนั้น กรณีมีผู้ประมูลให้ราคาสูงสุดเท่ากัน ให้สิทธิประมูลก่อนเป็นผู้ชนะการประมูล

                            7.4 การประมูลยาง ผู้ซื้อสามารถยื่นประมูลด้วยตนเองหรือทางโทรศัพท์หรือทางโทรสารก็ได้

                     8. ตลาดกลางจะทดรองจ่ายเงินค่ายางเป็นเงินสด/เช็คเงินสด/โอนเงินเข้าบัญชี ให้กับผู้ขาย ยางไปก่อน

                     9. ตลาดกลางจะเป็นผู้จัดการส่งมอบยาง ผู้ประมูลยางสามารถรับยางหลังจากได้จ่ายเงินให้ผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ส่วนการขนส่งยางผู้ประมูลได้เป็นผู้ดำเนินการเองทั้งสิ้น

                     10. กรณีไม่ตกลงซื้อขาย ผู้ขายยางสามารถดำเนินการดังนี้

                            10.1 รอการประมูลครั้งต่อไป

                            10.2 ฝากยางที่ตลาดกลาง

                            10.3 นำยางออกนอกตลาดกลาง

                     11. บริการสัปดาห์ละ 4 วัน (วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี 08.30-14.00 )

                     12. ค่าบริการไม่มี

              3) ขั้นตอนการบริการซื้อขายยางแผ่นดิบที่ตลาดยางสกย.

ตลาดยาง สกย. มีลักษณะเป็นระบบตลาดท้องถิ่น เป็นตลาดยางที่ซื้อขายโดยมีการส่ง มอบยาง (Physical Market) ซึ่งได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการจาก สกย. เพื่อให้ เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรในความดูแลของ สกย. รวบรวมผลผลิตยางและนำมาขาย โดยวิธีการประมูลทั่วไป หรือประมูลระบบตลาดยางอิเล็กทรอนิกส์ หรือประมูลแบบ Paper Rubber Market หรือวิธีตกลงราคา หรือตลาดข้อตกลง ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างทางเลือก ให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางสามารถขายยางได้ในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งมีทั้งตลาดในที่ตั้ง ของสำนักงานฯ และ ณ จุดรวบรวมยางในที่ตั้งของกลุ่มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ปัจจุบัน สกย. ได้ จัดตั้งและดำเนินการตลาดยาง สกย. จำนวนทั้งสิ้น 108 ตลาด ตลาดยาง สกย. ดำเนินการจัดตลาดโดยมีรูปแบบการซื้อขายยาง ดังนี้ 1. ประมูลทั่วไป โดยนำยางเข้าสู่ที่ตั้งของตลาด หรือจุดรวบรวมยาง ผ่านการคัดชั้น และ ชั่งน้ำหนัก และรับราคาจากการประมูลแข่งขันกันของผู้ซื้อ 2. Paper Rubber Market โดยทำการคัดชั้นและชั่งน้ำหนักยาง ณ จุดรวบรวมยาง หรือ ที่ตั้งสถาบันเกษตรกร น าตัวเลขปริมาณ คุณภาพและชนิดผลผลิต ท าการประมูลผ่านระบบสื่อสารของตลาด 3. ตกลงราคา โดยรวบรวมยางพร้อมตรวจสอบคุณภาพ และน้ำหนัก ณ ที่ตั้งตลาด หรือ จุดรวบรวมยาง แล้วส่งผลผลิตยางให้ผู้ซื้อที่ตกลงราคาซื้อไว้ก่อน โดยกำหนดราคาร่วมกัน หรืออ้างอิง ราคาจากตลาดกลางยางพารา 4. ข้อตกลง โดยรวบรวมยางพร้อมตรวจสอบคุณภาพ และน้ำหนัก ณ ที่ตั้งตลาด หรือ จุดรวบรวม ตามชนิด ปริมาณ และกำหนดส่งมอบในข้อตกลงที่เจรจาไว้ก่อนแล้ว ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ผ่านตลาดยาง สกย. 5. ประมูลทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือตลาดยางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการประมูลผ่าน ระบบอินเตอร์เน็ต โดยผู้ขายเป็นผู้กำหนดราคาขั้นต่ำ และผู้ประมูลต้องประมูลราคาเพิ่มจากราคาขั้นต่ำ ครั้งละไม่น้อยกว่า 5 สตางค์ ภายในเวลาที่กำหนด

              4. การรับซื้อยางก้อนถ้วย

              การซื้อขายยางก้อนถ้วยพ่อค้าจะประเมินราคาจากเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่อยู่ในก้อนยาง โดยยางกรีด 2 มีด แล้วนำไปผึ่งไว้นาน 3 วัน  ยางก้อนถ้วยจะมีความชื้นเฉลี่ย 45%  มีปริมาณเนื้อยางแห้ง 55%  ซึ่งจะคิดราคาอ้างอิงจากราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เป็นหลัก  ถ้ายางก้อนถ้วยสกปรกหรือมีขี้เปลือกและสิ่งปะปนจะถูกหักราคากิโลกรัมละ 5 - 10 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของสิ่งปะปน  ดังนั้นเกษตรกรควรผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ซึ่งจะช่วยให้ได้รับราคาที่เป็นธรรมและได้รับผลตอบแทนสูง ทั้งยังช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมยางแท่งของไทยเกิดความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

              5. การรับซื้อไม้ยางพารา

                     5.1 รูปแบบการรับซื้อไม้ยางพารา ช่องทางการรับซื้อไม้ยางและขั้นตอนการรับซื้อไม้ยางพารา รูปแบบการซื้อไม้ยางโดยทั่วไป สามารถบ่างได้ 2 รูปแบบคือ 1 โรงงานเลื่อยแปรรูปรับซื้อไม้ยางจากพ่อค้าคนกลางหรือตนตัดไม้ 2 คนตัดไม้ยางมารับซื้อไม้ยางพาราจากเจ้าของสวน  สำหรับช่องทางการรับซื้อไม้ยางและขั้นตอนการรับซื้อไม้ยางพารายังสามารถแบ่งได้ 3 ช่องทางได้แก่

                            1) นายหน้าเป็นผู้รับซื้อ วิธีการนี้เริ่มจากเกษตรกรที่ต้องการขายต้นยางจะติดต่อนายหน้าที่เป็น คนกลางเพื่อให้ติดต่อพ่อค้าคนกลางมารับซื้อไม้ของเกษตรกร โดยนายหน้าจะทำการติดต่อพ่อค้าที่จะรับซื้อต้น ยางมาตีราคาไม้มากกว่า 2 ราย จากนั้นพ่อค้าแต่ละรายก็จะเสนอราคาให้ชาวสวนต่อรองราคา เมื่อตกลงราคา เรียบร้อยจะมีการทำสัญญาซื้อขายที่มีระยะเวลา 3-6 เดือน ในปัจจุบันการขายผ่าน นายหน้ามีน้อยลง เนื่องจากเกษตรกรต้องการขายโดยตรงกับพ่อค้าหรือตัวแทนจากโรงงาน และที่สำคัญ ไม่ต้องการโดนหักค่านายหน้า

                            2) พ่อค้าหรือตัวแทนของโรงงานที่รับซื้อไม้ยาง โดยพ่อค้าหรือตัวแทนของโรงงานที่รับซื้อไม้ยาง ทราบชื่อของ เกษตรกรที่ต้องการขายไม้ยางพาราจากบัญชีรายชื่อผู้แจ้งขอสงเคราะห์ที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวน ยางท้องที่ พ่อค้าหรือตัวแทนของโรงงานจะทำการติดต่อของซื้อต้นยางโดยตรงจากเกษตรกร จากนั้นทำการยื่น ข้อเสนอและต่อรองราคากัน เมื่อตกลงราคากันได้การซื้อขายก็ดำเนินการโดยมีการทำสัญญา วางมัดจำ และ จ่ายเงินก่อนท าการโค่นไม้ในสวนหรือในกรณีที่เกษตรกรเป็นผู้ติดต่อให้พ่อค้ามารับซื้อ การติดต่ออาจจะติดต่อ หลายรายหรือรายเดียวก็ได้เพื่อตีราคาไม้ การซื้อขายจะเป็นไปในรูปแบบเดียวกันเมื่อตกลงกันได้ 

                            3) โรงงานที่รับซื้อไม้จากเกษตรกรโดยตรง กรณีที่โรงงานไม้แปรรูปมีความต้องการไม้ในปริมาณมาก ทาง โรงงานจะทำการส่งพนักงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนไปทำการติดต่อซื้อไม้จากเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่เงินทุนใน การซื้อจะเป็นของโรงงานทั้งหมด ทั้งนี้ตัวแทนของโรงงานไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานของบริษัท อาจเป็นพ่อค้าที่ ท าหน้าที่เป็นตัวแทนในการจัดหาวัตถุดิบให้กับโรงงานไม้แปรรูป โดยไม้ทั้งหมดที่ซื้อมาได้พ่อค้าที่เป็นตัวแทน จะท าการขายให้กับโรงงงานทั้งหมด

                     5.2 ราคาไม้ยางพารากับรูปแบบการรับซื้อไม้ยาง โดยทั่วไปรูปแบบการซื้อไม้ยางเป็นตัวกำหนดราคาไม้ยางพารา เช่น

                            1) ราคาไม้ยางที่โรงงานเลื่อยแปรรูปซื้อจากรถที่เอาไปส่ง  โรงงานจะซื้อไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว ขึ้นไป (บางโรงงานลดเหลือเล็กสุด 4 นิ้ว แต่ต้องคละกับไม้โตในสัดส่วนพอประมาณ) ความยาวท่อนละ 1.10 เมตร เป็นราคาต่อกิโลกรัม ราคาจะอยู่ระหว่าง กก.ละ 1.50 - 4.50 บาท ราคาจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความต้องการของโรงงานกับปริมาณของที่มี (Demand - Supply) หน้าแล้งราคาถูก หน้าฝนราคาแพง เพราะสวนที่อยู่ห่างจากถนนใหญ่เข้าไปตัดไม่ได้  แต่หน้าแล้งเข้าได้หมดทุกสวนราคาก็จะถูก  ดังนั้นใครมีสวนยางที่จะโค่น ติดถนนใหญ่เข้าออกสะดวก แนะนำให้ขายในช่วงหน้าฝนซึ่งโรงงานจะให้ราคาดี เมื่อโรงงานให้ราคาดี คนตัดไม้ที่ซื้อจากสวนก็จะให้ราคาดีไปด้วย

                            2) ราคาไม้ยางที่คนตัดไม้ยางซื้อจากสวน  คนที่ซื้อจะเอาไปขายที่โรงงานเลื่อยแปรรูปตามข้อ 1 อีกที ราคาที่ซื้อ จะใช้วิธีประเมินจากปริมาณและคุณภาพไม้ยาง  ดังได้กล่าวไว้ในข้อแรก ไม้ยางขนาดโตๆ เป็นไม้ที่ต้องการของโรงงาน แต่ไม้ขนาดเล็กก็สามารถถัวเฉลี่ยได้  ดังนั้นถ้าไม้โตมีมาก ราคาก็จะดี  ถ้าไม้เล็กมีมากกว่า ราคาก็จะถูกกดลงมา  ต้องไม่ลืมว่าคนตัดไม้ต้องจ่ายค่าแรงงาน, ค่าน้ำมันรถ, ค่าน้ำมันเลื่อยโซ่ยนต์, 

ค่านายหน้า ค่าผ่านทาง เป็นต้น ดังนั้นคนซื้อไม้จากเจ้าของสวนก็จะประเมินราคาที่เผื่อต้นทุนและกำไรไว้ด้วย ต้นยางขนาดโตๆ ไร่ละประมาณ 60-70 ต้น  ย่อมราคาดีกว่า สวนยางที่ได้ขนาดเท่ากัน แต่ปริมาณเพียงไร่ละ 40-50 ต้น  อีกประเด็นที่สำคัญมาก คือ ฝีมือในการขายและการแข่งขันในพื้นที่ ถ้าการแข่งขันสูง ราคาก็จะดี แต่ถ้าโดนผูกขาด ก็จะถูกกดราคา  ส่วนคนที่มีลูกล่อลูกชนในการเสนอราคาขายและสามารถยืนราคาได้ดี ย่อมได้ราคาดีกว่า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การตกลงจะซื้อขายไม้ยางพารา ขอแนะนำให้ทำสัญญาให้ชัดเจน โดยการตกลงซื้อขายต้องมีมัดจำ และมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ถ้าเลยเวลาแล้วยังไม่ชำระเงินทั้งหมด ก็ถือว่าสละสิทธิ์ ยึดเงินมัดจำและบอกขายเจ้าอื่นได้ทันที  กรณีเช่นนี้มีตัวอย่าง  คือตกลงจะซื้อไม้ยางราคาสามแสนบาท วางมัดจำเสร็จ ไม่ยอมเข้าโค่นไม้สักที จะปลูกยางต่อก็เตรียมดินไม่ได้  เงินก็ยังไม่ได้ มีแต่เงินมัดจำ 5% ซึ่งน้อยนิด กรณีดังกล่าว ติดที่ไม่ได้ตกลงเรื่องเงื่อนเวลาครับ

                     5.3 ขั้นตอนการรับซื้อไม้ยางพารา

                            1. ตรวจนับจำนวนต้นยางทั้งหมดในสวนของเกษตรกรเอง และนำมาคำนวณหาจำนวนต้นต่อไร่ (เช่นเกษตรมีพื้นที่ปลูกยาง 7 ไร่ และนับจำนวนต้นยางได้ 455 ต้น ดังนั้นเกษตรกรจะมีจำนวนต้นยางเฉลี่ย 65 ต้น/ไร่)

                            2. สุ่มวัดการเจริญเติบโตของต้นยาง จำนวน 1 ไร่ (ตามจำนวนที่ได้จากข้อม 1) โดยวัดขนาดรอบลำต้นที่ระดับความสูง 150 ซม. (เช่น เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกยาง 7 ไร่ นับจำนวนต้นยางได้ 455 ต้น เฉลี่ย 65 ต้น/ไร่ ดังนั้น      เกษตรกรต้องวัดต้นยางจำนวน 65 ต้น โดยทำการสุ่มให้ทั่วแปลง)

                            3. นำข้อมูลการเจริญเติบโตที่วัดได้ มาหาค่าเฉลี่ย (เช่นเกษตรกรวัดการเจริญเติบโตของต้นยางทั้งหมด 65 ต้น ก็นำตัวเลขทั้งหมดมารวมกันแล้วหารด้วย 65 ก็จะได้ขนาดของต้นยางเฉลี่ยต่อไร่)

                            4. นำตัวเลขการเจริญเติบโตที่ได้จากข้อ 3 มาใช้คำนวณหาน้ำหนักสดของต้นยางจากสมการ y = 11.34X - 344.6 โดยที่ X คือ ขนาดรอบลำต้นที่ระดับความสูง 150 ซม. (เช่น หาค่าเฉลี่ยของต้นยางได้ 70 ซม.แล้วให้นำตัวเลขมาเข้าสูตรจะได้ y=11.34(70) - 344.6 เมื่อคำนวณแล้วจะได้ y = 449.2 ดังนั้นต้นยาง 1 ต้นจะมีน้ำหนัก 449.2 กก.)

                            5. นำตัวเลขน้ำหนักต้นยางที่ได้ มาคูณกับจำนวนต้นต่อไร่ก็จะได้น้ำหนักรวมต่อไร่ (เช่น 449.2 X 65 = 29,198 กก. หรือคิดเป็นประมาณ 29.2 ตัน)

                            6. นำตัวเลขน้ำหนักรวมต่อไร่มาคูณกับพื้นที่ทั้งหมดก็จะได้น้ำหนักของไม้ยางทั้งสวน (เช่น 29.2 X 7 = 204.4 ตัน)

                     5.4 การรับซื้อยางเครพ  ในการรับซื้อยางเครพ โดยทั่วไปผู้ซื้อยางพาราต้องซื้อใน 2 รูปแบบ คือ ซื้อยางในรูปยางเครพโดยตรง และซื้อยางก้อนถ้วยแล้วนำไปผลิตเป็นยางเครพ สำหรับการซื้อยางก้อนถ้วยไปผลิตเป็นยางเครพนั้นมีขั้นตอนโดย ผู้ซื้อจะรับซื้อยางก้อนถ้วยจากชาวบ้านเดือนละ 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 23 ตัน ซึ่งแต่ละครั้งจะรับซื้อห่างกัน 15 วัน ยางก้อนจะกำหนดการซื้อไว้ที่ 6-8 มีด โดยจะรับซื้อให้ราคาสูงกว่าลานประมูลยางก้อนถ้วยประมาณ 0.50 - 1 บาท

              6. การตรวจสอบคุณภาพน้ำยางสด

              การหาปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยาง จะหาเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยาง โดยคิดเทียบจากน้ำยาง 100 ส่วนว่า จะมีเนื้อยางแห้งอยู่กี่ส่วน ซึ่งวิธีการหาสามารถกระทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน มี 2 วิธี คือ 1) วิธีใช้เครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะและ 2) วิธีชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่าง หรือวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ

              1) วิธีใช้เครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะ เครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะของน้ำยาง เรียกว่า“เมโทรแลค” หรือ “ลาเทคโซมิเตอร์”เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดหาปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางโดยอาศัยค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำยาง มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนก้านและส่วนกระเปาะ ที่ก้านจะมีขีดกำหนดค่าเนื้อยางแห้งไว้ โดยจะมี 2 ระบบ คือ ระบบอังกฤษ ซึ่งจะบอกค่าเป็นปอนด์ / แกลลอน และระบบเมตริกซึ่งจะบอกค่าเป็นกรัมต่อลิตร โดยค่าปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำจะอยู่ด้านล่างค่าสูงจะอยู่ด้านบน ซึ่งหมายความว่า เมโทรแลคจะจมลงไปในน้ำยางที่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งต่ำทั้งนี้เพราะยางที่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งสูงจะมีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าน้ำยางที่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งต่ำ 

              การใช้เมโทรแลควัดหาปริมาณเนื้อยางแห้งยางแห้งในน้ำยางนั้น ส่วนใหญ่โรงงานแปรรูปยางจะใช้วัดหาค่าปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางที่ทางการโรงงานรวบรวมได้ เพื่อผลประโยชน์ในการคิดคำนวนน้ำและน้ำกรดที่จะผสมใส่ลงไปในน้ำยาง เพื่อให้ยางจับตัวกันอย่างสมบูรณ์ และมีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่โรงงานต้องการ ค่าปริมาณเนื้อยางแห้งที่วัดได้จึงไม่ถูกต้องนักเมื่อเทียบกับวิธีชั่งน้ำหนักยางตัวอย่างหรือวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการอย่างไรก็ตามการหาปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางโดยใช้เมโทรแลคนี้ทำได้ง่ายสะดวก รู้ผลทันที จึงมีคนนำมาประยุกต์ใช้ในการซื้อขายน้ำยาง ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งได้ และรับจ่ายเงินได้ทันทีที่มีการซื้อขาย

              ขั้นตอนการหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางโดยใช้เมโทรแลคก่อนใช้เมโทรแลคในการวัดหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง ต้องเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้วัดให้พร้อม ซึ่งได้แก่ เมโทรแลค กระบอกตวงสำหรับใส่น้ำยางเพื่อใช้วัดโดยเมโทรแลค ถาดหรือตะแกรงสำหรับรองกระบอกตวงเพื่อรับน้ำยางที่ล้นกระบอกตวงเมื่อใส่เมโทรแลค และน้ำสะอาด จากนั้นนำเมโทรแลค แช่ลงในกระบอกบรรจุน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้คงที่และลดแรงตึงผิว แล้วจึงใช้วัดค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งตามขั้นตอน ดังนี้

                     1.ตักตัวอย่างน้ำยางที่ต้องการวัด 1 ส่วน (ประมาณ 250 – 300 ซี.ซี.) ผสมกับน้ำสะอาด 2 ส่วน กวนให้เข้ากันดี แล้วเทใส่ในกระบอกตวงให้เต็มจนล้น

                     2.เป่าฟองอากาศที่ลอยอยู่บนผิวน้ำยางในกระบอกตวงออกให้หมดแล้วค่อย ๆ หย่อนเมโทรแลคลงไปในกระบอกตวง ปล่อยให้ลอยเป็นอิสระ

                     3.อ่านค่าที่ก้านของเมโทรแลค บริเวณที่ผิวน้ำยางตัดกับก้าน เมโทรแลค หลังจากที่เมโทรลอยตัวนิ่งแล้ว

                     4.นำค่าที่อ่านได้ไปคูณด้วย 3 ก็จะได้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางตัวอย่างที่ใช้วัดออกมา

              2) วิธีชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่าง หรือ วิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ 

              วิธีนี้เป็นวิธีวัดหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยใช้หลักความจริงในการดำเนินงาน คือ นำน้ำยางไปทำให้แห้งให้เหลือแต่เฉพาะเนื้อยาง แล้วนำไปชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบระหว่างน้ำยางก่อนที่จะนำไปทำให้แห้ง กับเนื้อยางที่แห้งแล้วว่าเป็นเท่าไร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาก็จะได้ค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยาง เช่นน้ำยาง 100 กรัม นำไปทำเป็นยางแผ่นแล้วอบให้แห้ง จะได้ยางแผ่นหนัก 35 กรัม นั่นคือ น้ำยางนั้นมีค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง 35 % สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ 1) ตู้อบตัวอย่างยาง 2) เครื่องชั่งละเอียด ทศนิยมอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง ชั่งน้ำหนักได้สูงสุดไม่เกิน 200 กรัม 3) จักรรีดยาง ขนาดเล็ก 4) ถ้วยพลาสติกใส่ตัวอย่างน้ำยาง 5) ถ้วยอลูมิเนียม ใส่ตัวอย่างยางเข้าตู้อบ 6) น้ำกรดอะซิติก ความเข้มข้น 2 %และ 7) น้ำกลั่นหรือน้ำสะอาด

                     2.1) ขั้นตอนการหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งโดยการชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่างหรือวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ การหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง โดยการชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่างหรือวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ มีขั้นตอนดำเนินงาน 10 ขั้นตอนดังนี้

                            1.สุ่มตักตัวอย่างน้ำยางที่ต้องการหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง

                            2.ชั่งตัวอย่างน้ำยางในถ้วยพลาสติก ถ้วยละ 10 กรัม (ชั่งถ้วยพลาสติกก่อน ถ้าถ้วยพลาสติกหนัก 8.5 กรัม ก็ให้ใส่นำยางลงไป ชั่งเป็น 18.5 กรัม)

                            3. เติมน้ำกลั่นหรือน้ำสะอาดผสมลงในตัวอย่างน้ำยาง ประมาณ 20 ซี.ซี.

                            4. เติมน้ำกรดอะซีติก ความเข้มข้น 2% ลงไปอีกประมาณ 15 - 20 ซี.ซี. คนให้เข้ากัน

                            5. ตั้งทิ้งไว้ให้ยางจับตัวประมาณ 30 นาที

                            6. นำยางที่จับตัวสมบูรณ์แล้ว ไปรีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ ความหนาไม่เกิน 2 มม.

                            7. ล้างแผ่นยางที่รีดจนบางได้ที่แล้วให้สะอาด

                            8. นำแผ่นยางที่ล้างสะอาดแล้ว ไปอบให้แห้งในตู้อบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ระยะเวลาอบ 16 ชั่วโมง

                            9. นำแผ่นยางที่อบแห้งแล้วออกจากตู้อบ ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปชั่งน้ำหนัก พร้อมบันทึกน้ำยางแห้งไว้

                            10. คำนวณหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งจากสูตรเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง = (น้ำหนักยางแห้ง×100)/น้ำหนักน้ำยางสด

              7)  การตรวจสอบคุณภาพยางแผ่นดิบ ในการตรวจสอบคุณภาพยางแผ่นดิบนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องทราบถึงคุณภาพยางแผ่นดิบละมาตรฐานชั้นยางแผ่นดิบและมาตรฐานชั้นยางแผ่นรมควัน ดังรายละเอียดดังนี้

                     7.1)  คุณภาพของยางแผ่นดิบ แบ่งได้ 5 ลักษณะ ได้แก่

                            1 ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ลักษณะ ยางแผ่นมีความสะอาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 38-46 CM ยาว 80-90 CM หนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่น 1,000 – 1,200 กรัม มีความยืดหยุ่นดี เนื้อยางแห้งใส สีสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น สีคล้ำ โปร่งแสง พอสมควร และมีลายดอกเห็นเด่นชัด มีความชื้นไม่เกิน 3%

                            2. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี (ความชื้น 3 – 5%) ลักษณะ ยางแผ่นมีความสะอาด และมีฟองอากาศอยู่ในแผ่นยางได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 38-46 CM ยาว 80-90 CM หนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่น 1,000 – 1,500 มีความยืดหยุ่นดี สีสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น สีคล้ำ ไม่โปร่งแสง และมีลายดอกเห็นเด่นชัด มีความชื้นไม่เกิน 5%

                            3. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี (ความชื้น 5 – 7%) ลักษณะ ยางแผ่นมีความสะอาด และมีฟองอากาศและสิ่งสกปรกอยู่ในแผ่นยางได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 38-46 CM ยาว 80-90 CM หนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร มีความยืดหยุ่นดี สีคล้ำหรือด่างดำ ไม่โปร่งแสง มีราดำ หรือราสนิมเปื้อนในยางเล็กน้อย และมีลายดอกเห็นเด่นชัดมีความชื้นไม่เกิน 7%

                            4. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี (ความชื้น 7 – 10%) ลักษณะ ยางแผ่นมีความสะอาด และมีฟองอากาศและสิ่งสกปรกอยู่ในแผ่นยางได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 38-46 CM ยาว 80-90 CM หนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร มีความยืดหยุ่นดี สีคล้ำหรือด่างดำ ไม่โปร่งแสง มีราดำ หรือราสนิมเปื้อนในยางเล็กน้อย และมีลายดอกเห็นเด่นชัด มีความชื้นไม่เกิน 10%

                            5. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี (ความชื้น 10 – 15%) ลักษณะ ยางแผ่นมีความสะอาด และมีฟองอากาศและสิ่งสกปรกอยู่ในแผ่นยางได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 38-46 CM ยาว 80-90 CM หนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร มีความยืดหยุ่นดี สีคล้ำหรือด่างดำ ไม่โปร่งแสง มีราดำ หรือราสนิมเปื้อนในยางเล็กน้อย และมีลายดอกเห็นเด่นชัด มีความชื้นไม่เกิน 15%

                     7.2)  มาตรฐานชั้นยางแผ่นดิบ

                            1. ยางแผ่นดิบคุณภาพชั้น 1 ต้องมีเนื้อยางใสตลอดแผ่น มีความชื้นเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์ มีสีสม่ำเสมอและปราศจากฟองอากาศ สะอาดตลอดทั้งแผ่น ความหนาของแผ่นยาง 2.8-3.2 มิลลิเมตร ขนาดของแผ่นยาง 38-46 x 80 x 90 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่น 800-1,200 กรัม มีความยืดหยุ่นดี มีลายดอกของลูกกลิ้งบดเด่นชัดตลอดทั้งแผ่น และสามารถรมควันให้แห้งได้ภายใน 5 วัน 

                            2. ยางแผ่นดิบคุณภาพชั้น 2 มีเนื้อใสตลอดทั้งแผ่น มีความชื้นสูงขึ้นเล็กน้อยที่ 3-4 เปอร์เซ็นต์ มีรอยด่างดำได้บ้างเล็กน้อย และให้มีฟองอากาศได้เล็กน้อยเช่นเดียวกัน ความหนาของแผ่น 3-4 มิลลิเมตร ขนาดของแผ่นต้องเท่ากับยางแผ่นดิบคุณภาพ 1 น้ำหนักต่อแผ่น 1,000-1,200 กรัม มีความยืดหยุ่นดี สามารถรมควันให้แห้งภายใน 6-7 วัน 

                            3. ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 เนื้อยางสีไม่โปร่งใส มีความชื้น 6-7 เปอร์เซ็นต์ มีสิ่งเจือปนและฟองอากาศได้บ้างเล็กน้อย ความหนาของแผ่นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร น้ำหนักยางแผ่นไม่เกินแผ่นละ 1,500 กรัม ขนาดของแผ่นต้องมีมาตรฐานเดียวกัน และรมควันให้แห้งได้ไม่เกิน 10 วัน 

                            4. ส่วนยางแผ่นดิบคุณภาพต่ำกว่าคุณภาพ 3 หรือยางคละ ลักษณะแผ่นยางจะแห้งไม่สม่ำเสมอทั้งแผ่น ความชื้นไม่เกิน 8 เปอร์เซ็นต์ มีสิ่งเจือปนได้มากกว่ายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ขนาดของแผ่นไม่สวยงาม มีความกว้างและยาวไม่แน่นอน สีของแผ่นค่อนข้างทึบไม่โปร่งใส มีฟองอากาศเจือปนมาก

                     7.3) มาตรฐานชั้นยางแผ่นรมควันสำหรับมาตรฐานยางแผ่นรมควันชั้น 1 – 3 (ไม่อัดก้อน) มีคุณสมบัติดังนี้

                            ชั้นที่ 1 : แห้ง เนื้อแข็ง ไม่มีจุดพอง ไม่มีกรวดทรายปน ไม่มีสิ่งปนเปื้อน ไม่มีตำหนิ ไม่มีราสนิม

                            ชั้นที่ 2 : แห้ง เนื้อแข็ง ไม่มีจุดพอง ไม่มีกรวดทรายปน ไม่มีสิ่งปนเปื้อน ไม่มีตำหนิ

                            ชั้นที่ 3 : แห้ง เนื้อแข็ง ไม่มีจุดพอง ไม่มีกรวดทรายปน ไม่มีสิ่งปนเปื้อน

                     การขึ้นราของยางแผ่นรมควัน

                            ชั้น 1 : ต้องไม่มีรา หรือมีเล็กน้อย เฉพาะผิวแผ่นยางที่ใช้ห่อชั้น 2 : มีราสนิมได้บ้าง มีราที่แผ่นยางที่ใช้ห่อ แต่ต้องไม่เกิน 5% ของตัวอย่างที่ใช้ตรวจชั้น 3 : มีราสนิมได้บ้าง มีราที่แผ่นยางที่ใช้ห่อ แต่ต้องไม่เกิน 10% ของตัวอย่างที่ใช้ตรวจ

ตำหนิยางแผ่นรมควันที่ยอมรับได้

                            ชั้นที่ 1 : ฟองอากาศเท่าหัวเข็มหมุดกระจายทั่วแผ่น มีจุดดำๆของเปลือกไม้เล็กน้อย

                            ชั้นที่ 2 : ฟองอากาศเท่าหัวเข็มหมุดกระจายทั่วแผ่น มีจุดดำๆของเปลือกไม้เล็กน้อย

                            ชั้นที่ 3 : ฟองอากาศเท่าหัวเข็มหมุดกระจายทั่วแผ่น มีจุดดำๆของเปลือกไม้เล็กน้อย มีรอยด่างเล็กน้อย

                     ตำหนิยางแผ่นรมควันที่ยอมรับไม่ได้

                            ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 และ ชั้นที่ 3: ยางเหนียวเยิ้ม ยางแก่ไฟ ยางไหม้ ยางอ่อนรมควัน ยางแก่รมควัน ยางทึบ ยางเนื้ออ่อน

              8) การตรวจสอบคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อ สำหรับการตรวจสอบคุณภาพยางก้อนถ้วย ต้องใช้การพิจารณาคุณภาพเบื้องต้นโดยเจ้าหน้าที่ของตลาดกลาง เพราะผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดกลางยางพาราถือว่าได้รับการตรวจสอบคุณภาพยางในเบื้องต้น จนสามารถให้ความเชื่อมมั่นต่อผู้ซื้อที่ไม่ต้องเห็นคุณภาพของยางก่อนการประมูล โดยผู้ขายและผู้ซื้อเห็นด้วยว่าควรแบ่งคุณภาพของยางก้อนถ้วยเป็นยางคละตามแนวทางการปฏิบัติของสถาบันเกษตรกรในจังหวัดเพราะราคายางก้อนถ้วยควรมีเพียงราคาเดียวและมีมาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียวกัน การแบ่งชั้นคุณภาพยางก้อนถ้วยแบ่งเป็น 2 คุณภาพ และให้ผู้ประมูลเสนอราคาตามคุณภาพเพื่อให้เห็นความแตกต่างด้านราคา ซึ่งจะใช้การนับจำนวนวันในระบบกรีด 2 วันเว้น 1 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของเกษตรกรในท้องถิ่น ตามตาราง

ตารางแสดงการนับจำนวนมีดกรีด (ระบบกรีด 2 วันเว้น 1 วัน)










































วันที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
มีด 1 2 หยุด 3 4 หยุด 5 6 หยุด 7 8 หยุด 9 10 ขาย


                     ยางก้อนถ้วยคุณภาพหนึ่ง คือ ยางจำนวน 8 มีดขึ้นไป หรือยางก้อนถ้วยที่เก็บ 6 มีด แต่ใช้ระยะเวลาจัดเก็บ 12 วันขึ้นไป เป็นยางก้อนที่เกิดจากน้ำยางสดจับตัวในถ้วยรับน้ำยางและเป็นยาง ก้อนถ้วยที่สะอาดทั้งภายในและภายนอกก้อน ต้องปราศจากสิ่งเจือปนหรือสิ่งปลอมปน เช่น ขี้เปลือกเศษยาง เปลือกไม้ หิน ดิน ทราย หรือวัสดุปลอดปนใด ๆ รวมถึงไม่กรีดทับหน้ายางก่อนนำมาขาย

                     ยางก้อนถ้วยคุณภาพสอง คือ ยางจำนวน 6 มีดขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8 มีด และใช้ระยะเวลาจัดเก็บประมาณ 9 - 10 วัน จับดูนุ่ม มีเศษสิ่งสกปรกเจือปนอยู่เล็กน้อย และไม่กรีดทับหน้ายางก่อนนำมาขาย

              9) การตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ

              สำหรับการตรวจคุณภาพไม้ยางพารา ต้องทราบคุณลักษณะของไม้ยางพาราที่มีคุณภาพก่อน

                     1. ลักษณะคุณภาพไม้ยางพารา โดยทั่วไป คุณภาพไม้ยางพารา มีลักษณะดังนี้

                            - ไม้ยางพาราที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตต้องเป็นไม้ยางพาราเกรด C อัดน้ำยาอบแห้งกันแมลงกินเนื้อไม้ มีความชื้นอยู่ระหว่าง 10-20%

                            - ขนาดไม้ต้องได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

                            - ไม้จะต้องไม่มีตาใหญ่หรือแผลในเนื้อไม้

                            - ไม้มีลักษณะตรง ไม่โก่งงอ ไม่ผุและเป็นรูไม้สีดำ

                            - ไม้ต้องไม่มีรอยแตกหักจนอาจส่งผลถึงความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์

                            - ไม้ต้องไม่มีแมลง ปลวก

                            - ลวดยิงต้องมีความเหนียว แข็งแรง ทนทาน ไม่ขาดหรือแตกหักง่าย และไม่ขึ้นสนิม

                            - ตะปูต้องมีความเหนียว แข็งแรง ทนทาน ไม่ขาดหรือแตกหักง่าย และไม่ขึ้นสนิม

                     2. ขั้นตอนการตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ

                            - ตรวจนับจำนวนต้นยางทั้งหมดในสวนของเกษตรกรเอง และนำมาคำนวณหาจำนวนต้นต่อไร่ 

                            - สุ่มวัดการเจริญเติบโตของต้นยาง จำนวน 1 ไร่ โดยวัดขนาดรอบลำต้นที่ระดับความสูง 150 ซม. 

                            - นำข้อมูลการเจริญเติบโตที่วัดได้ มาหา

                            - นำตัวเลขการเจริญเติบโตที่ได้จากข้อ 3 มาใช้คำนวณหาน้ำหนักสดของต้นยางจากสมการ y  = 11.34X - 344.6 โดยที่ X คือ ขนาดรอบลำต้นที่ระดับความสูง 150 ซม.

                            - นำตัวเลขน้ำหนักต้นยางที่ได้ มาคูณกับจำนวนต้นต่อไร่ก็จะได้น้ำหนักรวมต่อไร่

                            - นำตัวเลขน้ำหนักรวมต่อไร่มาคูณกับพื้นที่ทั้งหมดก็จะได้น้ำหนักของไม้ยางทั้งสวน

              10) ตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อ

              การตรวจสอบคุณภาพยางเครพ มีวิธีการตรวจโดยดูจากลักษณะของชั้นคุณภาพยางเครพ ดังนี้

                     10.1 ยางเครพชั้น 1 มีลักษณะที่ควรตรวจได้แก่ ความหนาของแผ่นยางตลอดทั้งแผ่น ต้องไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ลักษณะเม็ดยางในแผ่นมีขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตรและมีขนาดสม่ำเสมอทั้งแผ่น ผิวของแผ่นยางดูเรียบ สวยงามไม่ขรุขระจนเกินไปและไม่เหนียวเยิ้ม ไม่มีจุดขาวบนแผ่นยาง และเนื้อยาง แผ่นยางมีสีน้ำตาลตลอดทั้งแผ่น มีความสะอาดตลอดแผ่น ไม่มีวัตถุปลอมปนและสิ่งปนเปื้อนใดๆ แผ่นยางมีความยาว 5-10 เมตร มีความชื้นในแผ่นยางไม่เกิน 1.5% แผ่นยางมีความเหนียวแน่นดี  ไม่เปื่อยขาดง่าย

                     10.2 ยางเครพชั้น 2 มีลักษณะที่ควรตรวจ ได้แก่ ความหนาของแผ่นยางตลอดทั้งแผ่น ต้องไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ลักษณะเม็ดยางในแผ่นมีขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตรมีขนาดสม่ำเสมอทั้งแผ่น ผิวของแผ่นยางดูเรียบ สวยงามไม่ขรุขระจนเกินไปและไม่เหนียวเยิ้ม อนุญาตให้มีจุดขาวบนแผ่นยางได้ไม่เกินขนาดเมล็ดถั่วเขียว แผ่นยางมีสีน้ำตาล อนุญาตให้มี ริ้วรอยได้บ้างเล็กน้อย มีความสะอาดตลอดแผ่นยาง อนุญาตให้มีเปลือกไม้ละเอียดปนเปื้อนได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยางมีความยาว 5-10 เมตรแผ่นยางมีความเหนียวแน่นดี  ไม่เปื่อยขาดง่าย

                     10.3 ยางเครพชั้น 3 ลักษณะที่ควรตรวจ ได้แก่ ความหนาของแผ่นยางตลอดทั้งแผ่นต้องไม่เกิน 5 มิลลิเมตรลักษณะเม็ดยางในแผ่นมีขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตรหรือใหญ่กว่าปะปนได้บ้างเล็กน้อย ผิวของแผ่นยางดูเรียบพอประมาณและยางมีความเหนียวแน่นแข็งแรงดี ไม่มีรอยเหนียวเยิ้ม อนุญาตให้มีจุดขาวบนแผ่นยางได้ไม่เกินขนาดเมล็ดถั่วเขียว แผ่นยางมีสีน้ำตาลมีจุดดำคล้ำและริ้วรอยได้บ้างกระจายอยู่ทั่วไป แผ่นยางมีความสะอาดอนุญาตให้มีเปลือกไม้ละเอียดปนเปื้อนได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยางมีความยาว 5-10 เมตรแผ่นยางมีความเหนียวแน่นดี ไม่เปื่อยขาดง่าย



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)  ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ