หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQLS-916A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการรักษาคุณภาพผลผลิตยาง ประกอบด้วย การเตรียมผลผลิตยางให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน การรักษาคุณภาพผลผลิตที่ได้โดยเก็บในสถานที่และภาชนะที่เหมาะสม รวมถึงการป้องกันการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อคนในชุมชนจากน้ำเสียที่เกิดจากการเตรียมผลผลิตยางและรักษาคุณภาพผลผลิตยาง โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงาน เช่น การทำความสะอาดร่างกายและชุดที่สวมใส่ก่อนการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานการลอกขี้ยางออกจากถ้วยรับน้ำยางก่อนกรีด ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำยาง คัดแยกสิ่งเจือปนน้ำยางก่อนใส่ภาชนะ ทำยางก้อนถ้วยโดยใช้กรดฟอร์มิก สามารถเลือกวิธีการเก็บผลผลิตในภาชนะและโรงเรือนที่เหมาะสม และบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะอย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) เข้าใจวิธีการผลิตยาง การเก็บรักษา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการทำความสะอาดถ้วยรองรับน้ำยาง ภาชนะใส่น้ำยาง การคัดกรองสิ่งเจือปนออกจากน้ำยางโดยใช้เครื่องกรองลวด และการใช้กรดฟอร์มิกในการเตรียมยางก้อนถ้วยอย่างถูกวิธี

2)  มีทักษะในการจัดเตรียมโรงเรือนและเก็บรักษาผลผลิตยางก้อนถ้วยอย่างถูกวิธี

3)  มีทักษะในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียและบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากการเตรียมผลผลิตยางและการรักษาคุณภาพผลผลิตยางอย่างถูกวิธี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมผลผลิตยางให้มีคุณภาพ

2)  มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะโรงเรือนที่ใช้เก็บผลผลิตยางก้อนถ้วยให้มีคุณภาพ

3)  มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาผลผลิตยางให้มีคุณภาพ 

4)  มีความรู้เกี่ยวกับน้ำเสีย วิธีการบำบัดน้ำเสียและขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2)  แฟ้มสะสมงาน

       (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3)  ผลการสอบข้อเขียน

              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

              1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ในการเตรียมผลผลิตยางให้มีคุณภาพ การเก็บรักษาคุณภาพผลผลิตยางก้อนถ้วยอย่างถูกวิธีและเหมาะสม การบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากการเตรียมผลผลิตยางและการเก็บรักษาคุณภาพผลผลิตยาง

              2)  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     •  วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     •  ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง)  วิธีการประเมิน

              1)  การสอบข้อเขียน

              2)  การสอบสัมภาษณ์

              3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการสวนยาง ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ก)  คำแนะนำ

              N/A

       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

              1)  พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 หมายถึง มาตรา 5 กำหนดให้ “โรงงาน” หมายถึง อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ ทั้งนี้ ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้นในการทำและเก็บรักษายางก้อนถ้วย หากดำเนินการโดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป ก็จะเข้าข่ายเป็นโรงงานซึ่งต้องมีการควบคุมกำกับตามพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ 

              2)  ขั้นตอนการเตรียมผลผลิตยางให้มีคุณภาพ หมายถึง การเตรียมน้ำยางสด เริ่มจาก การทำความสะอาดร่างกายและเสื้อผ้าที่สวมใส่ก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนในผลผลิตยางที่จะทำให้คุณภาพของผลผลิตยางต่ำลง การลอกขี้ยางออกจากถ้วยรับน้ำยางก่อนการกรีดและคว่ำถ้วยหลังเก็บเกี่ยวทันที การทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำยาง เพื่อป้องกันการเน่าเสียของน้ำยางที่อาจเกิดจากเศษยางเก่าที่ติดอยู่ภายในภาชนะ การคัดแยกสิ่งเจือปนน้ำยางโดยการกรองสองชั้นก่อนบรรจุใส่ภาชนะเพื่อจำหน่าย และ การเตรียมยางก้อนถ้วย เริ่มจาก การทำความสะอาดร่างกายและเสื้อผ้าที่สวมใส่ก่อนการปฏิบัติงาน การลอกขี้ยางออกจากถ้วยรับน้ำยางก่อนการกรีด ใช้กรดฟอร์มิก 30 มิลลิลิตร  (2 ช้อนโต๊ะ) ผสมกับน้ำ 1.17 ลิตร (3 กระป๋องนมข้น) และคนให้เข้ากัน จากนั้นใส่กรดฟอร์มิกที่เจือจางแล้วลงในน้ำยางที่รองรับด้วยถ้วยรองรับน้ำยางปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อถ้วย และคนให้เข้ากัน ไม่ควรใช้กรดซัลฟูริก เพราะจะทำให้ยางสูญเสียความยืดหยุ่น และเกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม (H2S-แก๊สไข่เน่า)

              3)  วัสดุอุปกรณ์ในการเตรียมผลผลิตยางให้มีคุณภาพ หมายถึง ถ้วยรับน้ำยาง ถังเก็บน้ำยาง  ถังรวบรวมน้ำยาง เครื่องกรองลวดเบอร์ 40 และ 60 ไม้กวาดน้ำยาง ไม้คนน้ำยาง และกรดฟอร์มิก

              4)  ลักษณะของโรงเรือนที่ใช้เก็บผลผลิตยางก้อนถ้วย หมายถึง โรงเรือนที่มิดชิด มีหลังคา พื้นปูน มีน้ำล้างทำความสะอาดพื้น มีคูระบายน้ำ เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมที่ดีของผู้อยู่อาศัย ป้องกันการลักขโมย และสัตว์รบกวน  

              5)  วิธีการเก็บรักษาผลผลิตยาง หมายถึง น้ำยางสด เวลากลางคืนเก็บรักษาไว้ได้ 4-5 ช.ม. กลางวันเก็บรักษาได้ 2-3 ชั่วโมง เก็บยางก้อนถ้วยในถุงพลาสติกหรือภาชนะพลาสติกที่มีคุณภาพดี เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเศษพลาสติกที่มีคุณภาพต่ำกับยางก้อนถ้วย ซึ่งมีผลเสียต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ผลิต

              6)  น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีสิ่งเจือปนต่างๆ มากมาย จนกระทั่งกลายเป็นน้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการ และน่ารังเกียจของคนทั่วไป ไม่เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์อีกต่อไป หรือถ้าปล่อยลงสู่ลำน้ำธรรมชาติก็จะทำให้คุณภาพน้ำในลำน้ำธรรมชาติเสียหายได้ เช่น น้ำที่ล้างภาชนะที่บรรจุน้ำยางหรือยางก้อนถ้วยที่มีการใช้กรดฟอร์มิกหรือกรดซัลฟูริก(ซึ่งไม่ควรใช้) เป็นต้น

              7)  วิธีการบำบัดน้ำเสีย หมายถึง (1) การบำบัดทางกายภาพ (physical treatment) หมายถึง การแยกสิ่งเจือปนออกจากน้ำเสีย โดยเน้นการลดปริมาณของแข็งที่มีอยู่ในน้ำเสียเป็นหลัก อุปกรณ์หลักในการบำบัดด้วยวิธีนี้ ได้แก่ ตะแกรงดักขยะ ถังดัก กรวยทราย ถังดักไขมัน ถังตะกอน (2) การบำบัดทางเคมี (chemical treatment) หมายถึง การใช้กระบวนการทางเคมีเพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในน้ำเสีย อุปกรณ์หลักในการบำบัดด้วยวิธีนี้ ได้แก่ ถังกวนเร็ว ถังกวนช้า ถังตกตะกอน ถังกรอง และถังฆ่าเชื้อโรค (3) การบำบัดทางชีวภาพ (biological treatment) หมายถึง การใช้จุลินทรีย์ จุลินทรีย์อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน (aerobic organism) หรือแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic organism) ก็ได้ ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียที่เป็นสารอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เป็นต้น การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีนี้มีหลายระบบ เช่น ระบบตะกอนเร่ง (activated sludge; AS) ระบบบ่อเติมอากาศ (aerated lagoon; AL)  ระบบยูเอเอสบี (upflow anaerobic sludge blanket; UASB)

              8)  ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน (1) การบำบัดขั้นต้น (preliminary treatment) เป็นขั้นตอนการแยกของแข็งที่มีขนาดใหญ่ออกจากน้ำเสีย ขั้นตอนนี้สามารถกำจัดของแข็งแขวนลอยได้ร้อยละ 50-70   (2) การบำบัดขั้นที่สอง (secondary treatment) เป็นขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการขั้นต้นมาแล้ว แต่อาจจะมีของแข็งแขวนลอยหรือสารอินทรีย์ปนอยู่ โดยการใช้จุลินทรีย์ซึ่งการบำบัดขั้นนี้อาจเรียกว่า การบำบัดทางชีวภาพ (biological treatment) (3) การบำบัดขั้นสูง (advanced treatment) เป็นขั้นตอนกำจัด ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส สี สารแขวนลอยที่ยังไม่ได้ถูกกำจัดโดยกระบวนการบำบัดขั้นที่สอง เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดียิ่งขึ้น

              9)  วัสดุอุปกรณ์ในการบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ บ่อบำบัดน้ำเสีย ที่มีเครื่องกรองขยะ เครื่องเติมอากาศ ปูนขาวและขี้เถ้าทำให้กรดซัลฟูริกในน้ำเสียมีสภาพเป็นกลาง และ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย เช่น EM


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)  ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ