หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-CDUH-915A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตยางพาราควบคู่กับบำรุงรักษาต้นยางพารา ประกอบด้วย การใช้สารเอทธิฟอนหรือแก๊สเอทธิลีนในการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง และการบำรุงรักษาต้นยางพาราระหว่างการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการคำนวณปริมาณการใช้สารเอทธิฟอนกับหน้ากรีดปกติที่ต้องการกรีดซ้ำเปลือกงอกใหม่ หน้ากรีดปกติและไม่ต้องการกรีดซ้ำเปลือกงอกใหม่ คำนวณปริมาณการใช้สารเอทธิฟอนกับการกรีดยางหน้าสูงโดยวิธีการกรีดขึ้น การใช้แก๊สเอทธิลีนกับการกรีดหรือเจาะเปลือกยางหน้าสูง สามารถเลือกวิธีบำรุงรักษาต้นยางระหว่างการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง รวมทั้งมีความเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองของพันธุ์ยางต่างๆ ต่อสารเคมีเร่งน้ำยาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- คำแนะนำในการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง ปี 2554 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร- เอกสารวิชาการ เรื่องยางพารา กลุ่มยางพารา กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) รู้และเข้าใจสารเพิ่มผลผลิตยางพารา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการใช้สารเอทธิฟอนกับหน้ากรีดปกติอย่างถูกวิธี

2)  มีทักษะในการใช้สารเอทธิฟอนกับหน้ากรีดสูงอย่างถูกวิธี

3)  มีทักษะในการใช้แก๊สเอทธิลีนกับการกรีดหรือเจาะเปลือกยางหน้าสูงอย่างถูกวิธี

4)  มีทักษะในการบำรุงงรักษาต้นยางระหว่างการใช้สารเอทธิฟอนและแก๊สเอทธิลีนอย่างถูกวิธี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้เกี่ยวกับการตอบสนองของพันธุ์ยางต่างๆ ต่อสารเคมีเร่งน้ำยาง

2)  มีความรู้ในการเลือกใช้เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตน้ำยางให้เหมาะสมกับอายุของต้นยาง พันธุ์ยาง และเป้าหมายการกรีดซ้ำเปลือกงอกใหม่หรือไม่กรีดซ้ำเปลือกงอกใหม่

3)  มีความรู้ในการบำรุงรักษาต้นยางระหว่างการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2) แฟ้มสะสมงาน

       (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3) ผลการสอบข้อเขียน

              4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

              1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง ได้แก่ การใช้สารเอทธิฟอนกับหน้ากรีดปกติและหน้ากรีดสูง การใช้แก๊สเอทธิลีนกับยางหน้ากรีดสูง การบำรุงรักษาต้นยางช่วงการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง และการตอบสนองของพันธุ์ยางต่างๆ ต่อสารเคมีเร่งน้ำยาง โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2)  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     •  วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     •  ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง)  วิธีการประเมิน

              1)  การสอบข้อเขียน

              2)  การสอบสัมภาษณ์

              3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการสวนยาง ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ก)  คำแนะนำ

              N/A

       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

              1)  สารเคมีเร่งน้ำยาง หมายถึง สารเคมีที่เมื่อใช้กับต้นยาง ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้น โดยจะยืดเวลาการไหลของน้ำยางให้นานขึ้น สารเคมีเร่งน้ำยางที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบันได้แก่ เอทธิฟอน (ethephon) ซึ่งสามารถปล่อยแก๊ส  เอทธิลีน (ethylene) ออกมาช้าๆ หรือการให้แก๊สเอทธิลีนโดยตรงกับต้นยางบริเวณเปลือกที่ใกล้รอยกรีดหรือเจาะ แก๊สเอทธิลีนจะกระจายและซึมเข้าสู่เปลือกชั้นใน เข้าสู่ท่อน้ำยาง ทำให้น้ำยางไหลได้นานขึ้น สำหรับสารเอทธิฟอน ควรใช้ที่ความเข้มข้นต่างๆ ตามช่วงอายุต้นยาง ดังนี้ (1) ต้นยาง อายุ 10-15 ปี ใช้ที่ความเข้มข้น 2.5% (ฝาสีน้ำเงิน)  (2) ต้นยาง อายุ 15 ปี-ก่อนโค่น 2-3 ปี ใช้ที่ความเข้มข้น 5% (ฝาสีเขียว) และ (3) ต้นยาง อายุก่อนโค่น 2-3 ปี ใช้ที่ความเข้มข้น 10% (ฝาสีแดง)

              2)  การตอบสนองของพันธุ์ยางต่างๆ หมายถึง ยางแต่ละพันธุ์ตอบสนองต่อการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ จึงควรพิจารณาพันธุ์ยางประกอบด้วย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางสูงสุด การตอบสนองของพันธุ์ยางต่างๆ เป็นดังนี้ พันธุ์ยาง RRIT 226, BPM 1, RRIM 600 ตอบสนองได้สูง พันธุ์ยางสงขลา 36, AVROS 2037, BPM 24, PR 255, RRIC 110, RRIC 121 และ GT 1 ตอบสนองปานกลาง และพันธุ์ยาง RRIT 250, RRIT 251, RRIT 408, PB 235, PB 255, และ PB 260 ตอบสนองต่ำ

              3)  วิธีการใช้สารเอทธิฟอนกับหน้ากรีดปกติ หมายถึง กรณีต้องการกรีดซ้ำเปลือกงอกใหม่ มี 3 วิธี คือ (1) ทาใต้รอยกรีด (2) หยดในรอยกรีดที่ลอกยางบนรอยกรีดออกแล้ว และ (3) ทาในรอยบากโดยใช้มีดกรีดยางทำแนวบากเป็นร่องตื้นๆ กว้าง 0.5 เซนติเมตร ให้อยู่ต่ำจากแนวรอยกรีด 2.5 เซนติเมตร และ กรณีไม่ต้องการกรีดซ้ำเปลือกงอกใหม่ ให้ใช้สารเอทธิฟอน ทาบริเวณเหนือรอยกรีดให้กว้าง 1.25 เซนติเมตร 

              4)  วิธีการใช้สารเอทธิฟอนกับการกรีดยางหน้าสูงโดยวิธีการกรีดขึ้น  มี 2 วิธี คือ (1) ทาในรอยบาก โดยให้รอยบากอยู่สูงกว่าแนวรอยกรีดประมาณ 4-5 เซนติเมตร และ (2) ทาตามแนวตั้ง 3 แถบ ใช้มีดเกาซ์ขูดเปลือกเหนือรอยกรีดตามแนวตั้ง 3 แถบ กว้างแถบละ 1.5 เซนติเมตร ความยาวของแถบเป็นครึ่งหนึ่งของความยาวรอยกรีด แล้วทาสารเอทธิฟอนในแถบทั้ง 3 แถบ 

              5)  วิธีการใช้แก๊สเอทธิลีนกับการกรีดหรือเจาะเปลือกยางหน้าสูง คือ (1) ติดตั้งอุปกรณ์บรรจุแก๊สบริเวณเปลือกที่ต้องการกรีดหรือเจาะ ซึ่งมีอุปกรณ์ 2 แบบ คือ แบบหัวปล่อยแก๊สเชื่อมต่อกับถุงพลาสติกและแบบฝาครอบ (2) บรรจุแก๊สในอุปกรณ์บรรจุ โดยให้แก๊ส 2 ครั้งต่อเดือน และเมื่อใกล้โค่นให้ 3 ครั้งต่อเดือน ควรติดตั้งอุปกรณ์และใช้แก๊สเอทธิลีน ตามคำแนะนำของฉลากผลิตภัณฑ์ ไม่ควรเก็บรักษาแก๊สและใช้แก๊สเมื่ออยู่ใกล้เปลวไฟ ไม่ควรวางไว้กลางแดดหรือใกล้มือเด็ก

              6)  วิธีการบำรุงรักษาต้นยาง หมายถึง ในระหว่างใช้สารเอทธิฟอนหรือแก๊สเอทธิลีน ควรใส่ปุ๋ยปริมาณเพิ่มเป็นสองเท่าของอัตราปกติโดยแบ่งใส่ประมาณปีละ 4 ครั้งๆละ 0.5 กิโลกรัมต่อต้น จากเดิมใส่ปีละ 

2 ครั้งๆละ 0.5 กิโลกรัมต่อต้น ควรจัดทำระบบน้ำควบคู่กับการใส่ปุ๋ย เพื่อเพิ่มความชื้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งจะทำให้ต้นยางสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ควรไถพรวน ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะเป็นการตัดและทำลายรากฝอยที่มีหน้าที่ดูดหาอาหารให้กับต้นยาง 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)  ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ