หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-NMRM-913A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการกรีดยางอย่างถูกวิธี ประกอบด้วย ความรู้และทักษะเกี่ยวกับระบบกรีดยางที่เหมาะสมกับช่วงอายุของต้นยาง ความรู้เรื่องกายวิภาคของต้นยาง และเทคนิคการกรีดยางที่ถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสมผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะความสามารถในการเตรียมและเลือกวิธีการกรีดยางต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี ได้แก่ การกรีดยางหน้าปกติ การกรีดยางหน้าสูง การกรีดยางก่อนโค่น รู้กายวิภาคของต้นยางพารา เทคนิคการกรีดยางเพื่อให้ได้ผลผลิตดีและยาวนาน และการจัดการเวลาอย่างเหมาะสมในการกรีดยาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- เอกสารแนะนำการกรีดยาง ส่วนวิชาการเกษตร ฝ่ายส่งเสริมการสงเคราะห์ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง- คำแนะนำการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง ปี 2554 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร- คู่มือการฝึกอบรมเจ้าของสวนยาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์- เอกสารวิชาการเรื่องสวนยางพารา กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

A33 จัดเตรียมมีดในการกรีดยาง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการกรีดยางอย่างถูกต้อง

2)  มีทักษะในการกรีดยางตามระบบกรีดและเทคนิคการกรีดยางที่ถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้เกี่ยวกับระบบกรีดยางที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุของต้นยาง

2)  มีความรู้ในเรื่องกายวิภาคของต้นยางในส่วนที่เกี่ยวกับเปลือก เยื่อเจริญ และเนื้อไม้

3)  มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการกรีดยางที่ถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกรีดยาง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2)  แฟ้มสะสมงาน

       (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3)  ผลการสอบข้อเขียน

              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

              1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ในระบบการกรีดยางหน้าปกติ ระบบการกรีดยางหน้าสูง และระบบการกรีดยางก่อนโค่น ความรู้กายวิภาคของต้นยาง รวมทั้งเทคนิคการกรีดที่ถูกต้องและกรีดในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2)  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     •  วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     •  ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง)  วิธีการประเมิน

              1)  การสอบข้อเขียน

              2)  การสอบสัมภาษณ์

              3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

       (ก)  คำแนะนำ

       ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการ ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

              1)  (1/2S d/3) หมายถึง ระบบกรีดยางหน้าปกติ สัญลักษณ์ 1/2S = กรีดครึ่งลำต้น , d/3 = กรีดทุก 3 วัน วิธีนี้ให้ผลต่อครั้งกรีดดีมาก ความสิ้นเปลืองเปลือกต่อปีน้อยมาก ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งน้อยมาก

              2)  (1/2S d/2) หมายถึง ระบบกรีดยางหน้าปกติ สัญลักษณ์  1/2S = กรีดครึ่งลำต้น , d/2 = กรีดทุก 2 วัน (วันเว้นวัน) วิธีนี้ให้ผลผลิตต่อครั้งกรีดดี ความสิ้นเปลืองเปลือกต่อปีน้อย ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งน้อย

              3)  (1/3S d/2+ET 2.5%) หมายถึง ระบบกรีดยางหน้าปกติ สัญลักษณ์ 1/3S = กรีดหนึ่งในสามลำต้น , d/2 = กรีดทุก 2 วัน (วันเว้นวัน), ET 2.5% (Ethephon) = การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5%  วิธีนี้ให้ผลผลิตต่อครั้งกรีดดี ความสิ้นเปลืองเปลือกต่อปีน้อยมาก ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งปานกลาง

              4)  (1/3S ä  d/2+ET 2.5%) หมายถึง ระบบกรีดยางหน้าสูง สัญลักษณ์  1/3S = กรีดหนึ่งในสามลำต้น , ä = ทิศทางการกรีดขึ้น , d/2 = กรีดทุก 2 วัน (วันเว้นวัน), ET2.5% (Ethephon) = การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5% วิธีนี้เปิดกรีดเหนือรอยกรีดหน้าล่าง 10 เซนติเมตร ให้ทำมุม 45 องศากับแนวระดับ เปลี่ยนหน้ากรีดให้เวียนทวนเข็มนาฬิกาหรือไปทางด้านขวาเมื่อหันหน้าเข้าหาต้นยาง

              5)  (1/3S d/2+ET 2.5%) หมายถึง ระบบกรีดยางหน้าสูง สัญลักษณ์ 1/3S = กรีดหนึ่งในสามลำต้น โดยการกรีดลง , d/2 = กรีดทุก 2 วัน (วันเว้นวัน), ET 25% (Ethephon) = การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5%  ใช้บันไดเปิดกรีดที่ความสูง 200-250 เซนติเมตรจากพื้นดิน ให้ทำมุม 30-35 องศากับแนวระดับ กรีดลงเมื่อกรีดเข้าใกล้เปลือกของหน้ากรีดปกติผลผลิตจะลดลง เปลี่ยนหน้ากรีดให้เวียนตามเข็มนาฬิกาหรือเวียนไปทางด้านซ้ายเมื่อหันหน้าเข้าหาต้นยาง

              6)  (1/3S ä d/2+ET 2.5%) หมายถึง ระบบกรีดยางก่อนโค่น สัญลักษณ์  1/3S = กรีดหนึ่งในสามลำต้น , ä = ทิศทางการกรีดขึ้น , d/2 = กรีดทุก 2 วัน (วันเว้นวัน), ET 25% (Ethephon) = การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5%  เปิดรอยกรีดเหนือรอยกรีดด้านล่าง 10 เซนติเมตร ให้รอยกรีดทำมุม 45 องศากับแนวระดับ เปลี่ยนหน้ากรีดทุกปี สามารถกรีดได้นาน 3-6 ปี

              7)  (2x1/4S ä d/1 (t,t)+ET 2.5%) หมายถึง ระบบกรีดยางก่อนโค่น สัญลักษณ์  2x1/4S = กรีดหนึ่งในสี่ของลำต้น 2 รอย อยู่ตรงกันข้าม , ä = ทิศทางการกรีดขึ้น , d/1 = กรีดทุกวัน วันละรอย , (t,t) = กรีด 2 รอย สลับหน้ากรีดทุกวัน , ET 2.5% (Ethephon) = การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5% เหมาะกับชาวสวนที่นิยมกรีดทุกวัน สามารถกรีดได้นาน 2 ปี

              8)  (1/2S ä d/2 +ET 2.5%) หมายถึง ระบบกรีดยางก่อนโค่น สัญลักษณ์ 1/2S = กรีดครึ่งลำต้น, ä = ทิศทางการกรีดขึ้น , d/2 = กรีดทุก 2 วัน (วันเว้นวัน), ET 25% (Ethephon) = การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5%  เหมาะกับชาวสวนที่สลับแปลงกรีดและควรเปลี่ยนหน้ากรีดทุก 2 เดือน สามารถกรีดได้นาน 2 ปี

              9)  (2x1/2S ä d/1 (t,t)+ET 2.5 %) หมายถึง ระบบกรีดยางก่อนโค่น สัญลักษณ์  2x1/2S = กรีดครึ่งลำต้น 2 รอย อยู่ตรงกันข้าม , ä = ทิศทางการกรีดขึ้น , d/1 = กรีดทุกวัน วันละรอย , (t,t) = กรีด 2 รอย สลับหน้ากรีดทุกวัน , ET 25% (Ethephon) = การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5% สามารถกรีดได้นาน 1 ปี เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นควรเปิดกรีดรอยที่สอง(ฝั่งตรงกันข้าม)ให้สูงกว่ารอยที่หนึ่ง 75 เซนติเมตร เมื่อถึงเดือนสุดท้ายก่อนโค่นให้กรีดทั้งสองรอยพร้อมกัน 

              10)  เปลือกของต้นยางพารา หมายถึง ส่วนที่อยู่บริเวณนอกสุด แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ เปลือกแข็งและเปลือกอ่อน โดยเปลือกอ่อนจะมีท่อน้ำยางมากกว่าเปลือกแข็งซึ่งท่อน้ำยางเหล่านี้จะไหลเวียนจากขวามาซ้ายและจำนวนท่อน้ำยางจะแตกต่างกัน

              11)  เยื่อเจริญของต้นยางพารา หมายถึง ส่วนที่อยู่ระหว่างเปลือกกับเนื้อไม้ เป็นส่วนที่สร้างเนื้อไม้และสร้างเปลือกงอกใหม่ขึ้นมาแทนที่เปลือกที่ถูกกรีด การกรีดแต่ละครั้งจึงไม่ควรทำลายเยื่อเจริญ 

              12)  เนื้อไม้ของต้นยางพารา หมายถึง แกนกลางสำหรับยึดลำต้น แต่ไม่มีท่อน้ำยางอยู่เลย

              13)  เทคนิคการกรีดยาง ได้แก่ (1) กรีดเวียนจากซ้ายบนลงมาขวาล่าง เพื่อให้ตัดท่อน้ำยางให้มากที่สุด เนื่องจากท่อน้ำยางเรียงตัวเอียงประมาณ 3 องศา เวียนจากขวามาซ้าย (2) กรีดทำมุม 30-35 องศากับแนวระดับเพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงในการไหลของน้ำยาง  หากมุมกรีดต่ำกว่า 30 องศาจะทำให้น้ำยางไหลออกนอกรอยกรีดจึงเก็บน้ำยางได้ไม่เต็มที่ (3) ไม่กรีดลึกจนถึงเยื่อเจริญ ควรกรีดให้ห่างจากเยื่อเจริญ ประมาณ 1 มิลลิเมตร  ความหนาของเปลือกยางที่กรีดหากบางเกินไปก็ได้น้ำยางน้อย แต่ถ้าหนาเกินไปจนถึงเยื่อเจริญจะทำให้เกิดบาดแผลซึ่งจะทำให้น้ำยางลดลงเมื่อกรีดเปลือกที่ 2 หรือไม่สามารถกรีดได้อีก (4) กรีดด้วยวิธีกระตุกข้อมือจะทำให้มีดเฉือนเปลือกยางด้วยความเร็วอย่างฉับพลันและด้วยมีดที่คมอยู่เสมอจะทำให้รอยเฉือนคมและเกิดรอยแผลน้อย และกรีดไปข้างหน้าไม่กรีดถอยหลังซ้ำรอยกรีดเดิมเพื่อหลีกเลี่ยงการอุดตันของท่อน้ำยาง ทำให้ได้น้ำยางมากกว่าการกรีดด้วยวิธีลากด้วยท่อนแขน (5) การตรวจสอบหลังกรีดยาง เช่น ตรวจถ้วยและเอาสิ่งเจือปนออก ตรวจสอบว่าน้ำยางไหลลงถ้วยหรือไม่ 

              14)  การจัดการเวลาในการกรีดยาง ประกอบด้วย (1) ควรกรีดยางในเวลา 03.00 - 05.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศเย็น น้ำยางไม่แข็งตัวอุดตันท่อน้ำยาง ส่งผลให้น้ำยางไหลได้นาน ทำให้ได้น้ำยางมากแต่ปัจจุบันเวลากรีดยางอาจแตกต่างกันไปเพราะขึ้นอยู่กับข้อจำกัดในพื้นที่ เช่น สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีกระตุ้นการไหลของน้ำยางทำให้สามารถกรีดยางในเวลากลางวันได้ (2) หยุดกรีดในช่วงยางผลัดใบจนกว่าใบที่ผลิใหม่จะแก่พอ เพราะการสร้างน้ำยาง (ซึ่งมาจากน้ำตาลและแป้ง) ต้องอาศัยการสังเคราะห์แสงจากใบที่สมบูรณ์ (3) กรีดชดเชย โดยกรีดซ้ำแปลงกรีดเดิมในวันถัดไป เพื่อทดแทนจำนวนวันกรีดที่สูญเสียไป แต่ไม่ควรกรีดซ้ำติดต่อกันเกิน 2 วัน (4) กรีดสาย คือ กรีดหลังจากเวลาปกติ ในกรณีที่ฝนตกหน้ากรีดยางเปียกชื้น (5) ไม่ควรกรีดยางทุกวัน เพราะมีผลเสียคือ ผลผลิตจะลดลง ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย เปลือกหมดเร็วและเปลือกงอกใหม่หนาไม่พอที่จะกรีดซ้ำได้

              15)  อุปกรณ์ในการกรีดยาง หมายถึง มีดกรีดยาง ตะเกียง กระเป๋าใส่มีดกรีดยางและเศษยาง หินลับมีดแบบละเอียด รองเท้าบูท ยากันยุง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)  ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ