หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-HDRG-912A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมมีดในการกรีดยางพารา ประกอบด้วย การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการลับมีดกรีดยาง และ การลับมีดกรีดยางและเก็บพกพามีดอย่างถูกวิธี ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะความสามารถในการเตรียมและเลือกใช้มีดกรีดยางให้เหมาะสมกับอายุและหน้ากรีดของต้นยางและพร้อมใช้งานโดยการลับมีดและแต่งมีดอย่างถูกวิธี รวมทั้งการเก็บรักษาและพกพามีดกรีดยางอย่างปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1)  มีดที่ใช้ในการกรีดยาง

2)  อุปกรณ์ทีใช้ในการลับมีด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการลับมีดกรีดยางได้อย่างถูกต้อง

2)  มีทักษะในการลับมีดกรีดยางตามขั้นตอนต่างๆ 10 ขั้นตอนอย่างถูกวิธี

3)  มีทักษะในการเก็บรักษาและพกพามีดกรีดยางอย่างถูกวิธี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในการเลือกใช้มีดกรีดยางที่แตกต่างกันได้อย่างถูกต้อง

2)  มีความรู้ในการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ในการลับมีดกรีดยาง 

3)  มีความรู้ในการลับมีดกรีดยางตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเก็บรักษาพกพามีดกรีดยางอย่างปลอดภัย 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2)  แฟ้มสะสมงาน

       (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3)  ผลการสอบข้อเขียน

              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

              1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ในการเลือกใช้มีดกรีดยางอย่างเหมาะสม การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการลับมีดกรีดยาง การลับมีดกรีดยางและเก็บพกพามีดอย่างถูกวิธี โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2)  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     •  วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     •  ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง)  วิธีการประเมิน

              1)  การสอบข้อเขียน

              2)  การสอบสัมภาษณ์

              3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

       (ก)  คำแนะนำ

       ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการสวนยาง ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

              1)  ชนิดของมีดที่ใช้กรีดยาง ประกอบด้วย มีดเจ๊ะบง มี 2 ชนิด (1) มีดคลองเล็ก เหมาะสำหรับต้นยางเปิดกรีดใหม่ เปลือกบาง (2) มีดคลองใหญ่ เหมาะสำหรับต้นยางที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ความสูง  150  เซนติเมตรจากพื้นดิน  เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้กรีด และมีดเกาซ์ ใช้กรีดยางหน้าสูงเหนือหน้ากรีดปกติซึ่งเป็นส่วนที่ไม่เคยกรีดยางมาก่อน ต้นยางที่เหมาะสมที่จะกรีดยางหน้าสูงคือ ต้นยางก่อนโค่นซึ่งมีอายุมากหรือหน้ากรีดปกติเสียหาย

              2)  อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการลับมีดกรีดยาง ได้แก่ หินลับมีดกรีดยางแบบหยาบ หินลับมีดกรีดยางแบบละเอียด ภาชนะใส่น้ำ ไม้รองมีดกรีดยางขณะลับมีด ม้านั่งหรือเก้าอี้     ผ้า และมีดกรีดยาง

              3)  การเตรียมหินลับมีดกรีดยาง หมายถึง การนำน้ำใส่ขันหรือถังหรือภาชนะอื่นพอสมควร นำหินหยาบและหินละเอียดแช่น้ำไว้ 5-10 นาที หรือมากกว่าก็ได้ และควรเตรียมที่นั่งให้เหมาะสม เพราะต้องใช้เวลานานพอสมควร จากนั้นหยิบหินหยาบมาพิจารณาดู จะพบว่าด้านหนึ่งหนา ด้านหนึ่งบาง ขอบหินโค้งมน สำหรับหินละเอียดหากพบว่าขอบหินยังไม่โค้งมน ให้ใช้สันมีดขูดหรือแต่งให้โค้งมน เพราะต้องใช้แต่งหรือลับในคลองมีดด้วย สำหรับลำดับการลับ ครั้งแรกจะลับด้วยหินหยาบ เมื่อมีดคมแล้วก็ลับด้วยหินละเอียด และครั้งต่อๆ ไปก็ใช้เฉพาะหินละเอียดเท่านั้น

              4)  ขั้นตอนการลับมีดกรีดยาง(มีดเจ๊ะบง) ได้แก่ (1) ลับแก้มมีดด้านนอกให้เรียบจนเกิดเส้นตรงแนวเดือย 1 เส้น (2) ลับหูมีดด้านนอกให้เรียบจนเกิดเส้นตรงแนวเดือน 1 เส้น (3) ลับแก้มมีดด้านในให้คม (4) ลับหูมีดด้านในให้คมบาง (5) ลับคลองมีดให้โค้งและคมบาง (6) ลับสันคลองมีดให้ตรงและโค้งมน (7) แต่งเดือยและคมมีดให้คมทั้ง 5 ส่วน (8) ลับด้วยหินละเอียด ทุกส่วนของมีดตามขั้นตอนเดิมให้เกิดเงาวาว (9) ลบคมมีดที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ (10) ปัดมีดกับผ้า

              5)  เก็บรักษาและพกพามีดกรีดยางอย่างถูกวิธี  หมายถึง เก็บมีดให้ห่างจากมือเด็กและวางในที่ปลอดภัย  เก็บมีดที่ยังไม่ใช้ไว้ในปลอกมีดหรือพันด้วยผ้าตลอดเวลา ไม่ควรเหน็บมีดไว้ในกระเป๋าด้านหลังของกางเกงหรือเหน็บมีดไว้กับสะเอว และถอดปลอกมีดอย่างถูกวิธี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)  ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ