หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-QLJX-911A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการเปิดกรีดหน้ายาง ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเปิดกรีดหน้ายางและวิธีการเปิดกรีดหน้ายางตามขั้นตอนต่างๆ ที่ถูกต้อง ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะความสามารถในการเตรียมและเลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ไม้เปิดกรีด มีดเจ๊ะบง รางรองรับน้ำยาง(ลิ้น) ลวดลัดถ้วยรองรับน้ำยาง ถ้วยรองรับน้ำยางได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถเตรียมการเปิดกรีดหน้ายางตามขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ ได้แก่ ทำรอยกรีดต้นยางที่เปิดกรีดได้ แบ่งหน้ากรีด ทำรอยแบ่งด้านหน้าและด้านหลัง ปักลิ้นและวางถ้วยรองรับน้ำยางบนเส้นลวดที่มัดติดกับต้นยาง และสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเปิดกรีดหน้ายาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- มาตรฐานการเปิดกรีดหน้ายาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

A31 สำรวจสวนยางพาราที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการทำไม้เปิดกรีดหน้ายาง

2)  มีทักษะในการทำรอยกรีด การแบ่งหน้ากรีด การทำรอยแบ่งด้านหน้าและด้านหลัง

3)  มีทักษะในการติดตั้งรางรองรับน้ำยาง ลวดลัดถ้วยรองรับน้ำยาง และถ้วยรองรับน้ำยาง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในการเตรียมอุปกรณ์ในการเปิดกรีดหน้ายาง

2)  มีความรู้ในการเปิดกรีดหน้ายาง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2)  แฟ้มสะสมงาน

       (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3)  ผลการสอบข้อเขียน

              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

              1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ในการเตรียมและใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการเปิดกรีดหน้ายางและวิธีการเปิดกรีดหน้ายางตามขั้นตอนต่างๆ ที่ถูกต้อง โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2)  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     •  วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     •  ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง)  วิธีการประเมิน

              1)  การสอบข้อเขียน

              2)  การสอบสัมภาษณ์

              3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการสวนยาง ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ก)  คำแนะนำ

              N/A

       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

              1)  อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเปิดกรีดหน้ายาง ได้แก่ ไม้เปิดกรีด มีดเจ๊ะบง รางรองรับน้ำยาง ลวดลัดถ้วยรองรับน้ำยาง ถ้วยรองรับน้ำยาง ตะปูหรือชอล์ก

              2)  วิธีการทำไม้เปิดกรีดหน้ายาง มีขั้นตอนคือ (1) ตัดไม้ระแนง หนาประมาณ 0.5 นิ้ว กว้างประมาณ 1.5 นิ้ว ยาวตามที่ต้องการ ระหว่าง 50, 75, 100, 120 หรือ 150 เซนติเมตร (2) ตัดแผ่นสังกะสีเรียบ ขนาดประมาณ 3 x 35 เซนติเมตร (3) ตัดหัวไม้ระแหงให้ลาดเอียงทำมุม 30-35 องศา กับแนวระดับ  (4) นำแผ่นสังกะสีมาประกบกับหัวไม้ระแนง โดยให้ปลายแผ่นสังกะสีข้างหนึ่งเสมอกับขอบด้านยาวของไม้ระแนง และขอบบนของแผ่นสังกะสีเสมอกับขอบตามแนวลาดเอียงของหัวไม้ระแนง แล้วตอกตะปูให้แน่น 

              3)  วิธีการทำรอยกรีด การแบ่งหน้ากรีด การทำรอยแบ่งด้านหน้าและด้านหลัง ประกอบด้วย (1) ตรวจสอบต้นยางที่สามารถเปิดกรีดได้ (2) ตั้งไม้เปิดกรีดให้แนบสนิทกับต้นยางตามแนวดิ่งโดยปลายไม้ด้านที่ไม่มีแผ่นสังกะสีตั้งบนพื้นดิน (3) หันปลายแผ่นสังกะสีไปทางด้านซ้ายมือ กดแผ่นสังกะสีให้แนบกับต้นยางตามแนวลาดเอียงของแผ่นสังกะสีแล้วใช้ตะปูหรือชอล์กทำเครื่องหมายบนต้นยางตามแนวด้านบนของแผ่นสังกะสีลงมาและลากต่อเนื่องตามแนวขอบไม้ลงมา จะได้รอยกรีดและรอยแบ่งด้านหน้าตามต้องการ (4) ใช้เชือกวัดรอบลำต้นยางแล้วนำมาทบแบ่งครึ่ง หรือ 1/3 ซึ่งจะได้ความยาวครึ่งหนึ่ง หรือ 1/3 ของลำต้น จากนั้นนำเชือกที่ทบมาทาบกับต้นยางโดยให้ปลายด้านหนึ่งอยู่ที่รอยแบ่งด้านหน้า แล้วดึงเชือกอีกด้านหนึ่งแนบกับต้นยางตรงแนวระดับไปทางด้านหลังแล้วทำจุดเครื่องหมายไว้และทำเช่นนี้อีกในระดับที่ต่ำกว่าเดิมประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้ตะปูหรือชอล์กทำรอยแบ่งด้านหลังผ่านจุดทั้งสอง จากนั้นใช้มีดกรีดเปลือกเบาๆตามรอยที่ทำเครื่องหมายรอยกรีดและตามเส้นแบ่งทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

              4)  วิธีติดตั้งรางรองรับน้ำยาง ลวดลัดถ้วยรองรับน้ำยาง และถ้วยรองรับน้ำยาง หมายถึง ติดตั้งรางรับน้ำยางโดยใช้ส่วนที่เป็นสันตอกลิ้นของมีดกรีดยางตอกเข้าไปในลำต้น ห่างจากรอยกรีดด้านหน้าลงมาประมาณ 30 เซนติเมตร และติดลวดรับถ้วยน้ำยาง ห่างจากรางรับน้ำยางลงมาประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วจึงวางถ้วยน้ำยาง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)  ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ