หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AUJO-910A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการสำรวจสวนยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด ประกอบด้วย สำรวจต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดและการจัดทำข้อมูลสวนยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการวางแผนการสำรวจขนาดต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดและต้นยางต้องไม่เป็นโรค การทำเครื่องหมายต้นยางที่สามารถเปิดกรีดได้ รวมทั้งการคำนวณสัดส่วนจำนวนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดในแต่ละแปลงเพื่อสรุปผลแปลงยางที่สามารถเปิดกรีดได้ ตลอดจนวางแผนป้องกันความเสียหายจากการเปิดกรีดหน้ายางได้อย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) อายุ ขนาด สัดส่วนที่เหมาะสมต่อการเปิดกรีด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการใช้อุปกรณ์สำรวจและอุปกรณ์ทำเครื่องหมายบนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด

2)  มีทักษะในการนับจำนวนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดและไม่ได้มาตรฐานเปิดกรีดจนครบทุกแถวในแต่ละแปลง

3)  มีทักษะในการคำนวณสัดส่วนจำนวนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดเทียบกับจำนวนต้นยางทั้งหมดในแต่ละแปลงเพื่อสรุปผลจำนวนแปลงยางที่สามารถเปิดกรีดได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในการระบุลักษณะต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด

2)  มีความรู้ในการทำเครื่องหมายบนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด 

3)  มีความรู้ในการระบุสวนยางที่สามารรถเปิดกรีดได้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2)  แฟ้มสะสมงาน

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3)  ผลการสอบข้อเขียน

              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

              1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ในการระบุต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด การทำเครื่องหมายบนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด และการจัดทำข้อมูลสวนยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2)  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     •  วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     •  ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง) วิธีการประเมิน

              1)  การสอบข้อเขียน

              2)  การสอบสัมภาษณ์

              3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการสวนยาง ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ก)  คำแนะนำ

              N/A

       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

              1)  ลักษณะต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด หมายถึง ต้นยางที่ติดตามีขนาดเส้นรอบวงลำต้นไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ณ ระดับความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน หรือต้นยางที่ปลูกด้วยเมล็ดยางพันธุ์ดีมีขนาดเส้นรอบวงลำต้นไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ณ ระดับความสูง 75 เซนติเมตรจากพื้นดิน ขนาดเส้นรอบวงดังกล่าวต้นยางมีความหนาของเปลือกและมีท่อน้ำยางที่สมบูรณ์ พร้อมให้ผลผลิต และระดับความสูงดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้กรีดยาง และ ต้องเป็นต้นยางที่สมบูรณ์ไม่เป็นโรค เช่น โรคเปลือกแห้ง โรครากเน่า โรคใบร่วง

              2)  การทำเครื่องหมายบนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด หมายถึง การใช้สีขาวหรือสีอื่นที่เห็นได้ชัดเจนเขียนเลขที่แถวยางและเลขที่ต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดกำกับบนลำต้นในระดับสายตาที่สังเกตได้ชัดและนับจำนวนได้ง่าย 

              3)  อุปกรณ์สำรวจและอุปกรณ์ทำเครื่องหมายบนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด อุปกรณ์สำรวจ หมายถึง สายวัดหรือเชือก ยาว 50 เซนติเมตร สำหรับวัดเส้นรอบวงต้นยาง ไม้รวก ยาว 150 เซนติเมตรและอาจทำเครื่องหมายที่ไม้ที่ความยาว 75 เซนติเมตรไว้ด้วยสำหรับวัดความสูงต้นยาง และ อุปกรณ์ทำเครื่องหมายบนต้นยาง หมายถึง สีขาวหรือสีอื่นที่เห็นได้ชัดเจนบรรจุในถังมีฝาปิดมีหูหิ้วพร้อมแปรงทาสีเพื่อป้ายทำเครื่องหมายบนต้นยาง

              4)  สำรวจ หมายถึง การเดินสำรวจเพื่อวัดและสังเกตต้นยางแต่ละต้นเป็นรายแถวเพื่อเลือกต้นที่ได้มาตรฐานเปิดกรีด แต่หากผู้สำรวจมีความชำนาญเพียงพอ อาจไม่จำเป็นต้องวัดต้นยางที่มีขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐานเปิดกรีดซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยสายตา 

              5)  ลักษณะสวนยางที่สามารถเปิดกรีดได้ หมายถึง สวนยางที่นับจำนวนต้นยางที่ได้มาตรฐานเปิดกรีดได้ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนต้นยางทั้งหมดในแปลงจึงจะเปิดกรีดได้ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและความคุ้มค่าทางการเงินในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)  ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ