หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินและวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินในสวนยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-EUCG-904A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินและวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินในสวนยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการปุ๋ยยางพารา


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินและวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินในสวนยาง ประกอบด้วย การสำรวจอินทรียวัตถุในดินและความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินเบื้องต้น เก็บตัวอย่างดินในสวนยางเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช และใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่ายเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการสำรวจอินทรียวัตถุในดินและความหลากหลายทางชีวภาพโดยการสัมผัส สังเกต และจดบันทึกข้อมูลสัตว์และพืชที่พบทั้งบนดินและในดิน สามารถให้คำแนะนำการเก็บตัวอย่างดินตามหลักการและวิธีการที่ถูกต้องเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช และสามารถใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างถูกวิธี ตลอดจนสามารถประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินและธาตุอาหารพืชในดินได้จากผลการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A221

สำรวจอินทรียวัตถุในดินและความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินเบื้องต้น

1. อธิบายลักษณะดินที่มีอินทรียวัตถุในสวนยาง

A221.01 195993
A221

สำรวจอินทรียวัตถุในดินและความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินเบื้องต้น

2. อธิบายลักษณะสวนยางที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ

A221.02 195994
A221

สำรวจอินทรียวัตถุในดินและความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินเบื้องต้น

3. สำรวจอินทรียวัตถุในดินและความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางอย่างง่ายเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินเบื้องต้น

A221.03 195995
A222

เก็บตัวอย่างดินในสวนยางเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

1.อธิบายหลักการเก็บตัวอย่างดินในสวนยางเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

A222.01 195996
A222

เก็บตัวอย่างดินในสวนยางเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

2. อธิบายขั้นตอนการเก็บตัวอย่างดินในสวนยางเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

A222.02 195997
A222

เก็บตัวอย่างดินในสวนยางเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

3. เตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

A222.03 195998
A222

เก็บตัวอย่างดินในสวนยางเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

4. เก็บตัวอย่างดินในแปลงตามหลักการและขั้นตอนที่ถูกต้อง

A222.04 195999
A222

เก็บตัวอย่างดินในสวนยางเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

5. บันทึกรายละเอียดตัวอย่างดินที่จัดเก็บและส่งตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

A222.05 196000
A223

ใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่ายเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชเบื้องต้น

1. อธิบายวิธีการใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่ายได้อย่างถูกต้อง

A223.01 196001
A223

ใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่ายเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชเบื้องต้น

2. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่าย

A223.02 196002
A223

ใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่ายเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชเบื้องต้น

3. ใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่ายได้อย่างถูกวิธี

A223.03 196003
A223

ใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่ายเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชเบื้องต้น

4. อ่านและจดบันทึกผลการตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน

A223.04 196004
A224

กำหนดสูตรปุ๋ยที่จะใช้ในสวนยางและคำนวณปริมาณปุ๋ยและจำนวนแรงงานในการใส่ปุ๋ยในสวนยางในเบื้องต้น

1. นำผลการตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินพร้อมคำแนะนำการใช้ปุ๋ยที่แจ้งกลับมาหรือผลการตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินโดยใช้อุปกรณ์ตรวจสอบอย่างง่ายมากำหนดสูตรปุ๋ยที่จะใช้ในสวนยางได้อย่างเหมาะสม

A224.01 196005
A224

กำหนดสูตรปุ๋ยที่จะใช้ในสวนยางและคำนวณปริมาณปุ๋ยและจำนวนแรงงานในการใส่ปุ๋ยในสวนยางในเบื้องต้น

2. คำนวณปริมาณปุ๋ยแต่ละชนิดที่ต้องใช้ในแต่ละครั้งโดยพิจารณาจากจำนวนต้นยางที่ปลูกและอายุต้นยาง

A224.02 196006
A224

กำหนดสูตรปุ๋ยที่จะใช้ในสวนยางและคำนวณปริมาณปุ๋ยและจำนวนแรงงานในการใส่ปุ๋ยในสวนยางในเบื้องต้น

3. คำนวณจำนวนแรงงานในการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้งตามจำนวนต้นยางที่ปลูก อายุต้นยาง และลักษณะพื้นที่สวนยาง

A224.03 196007

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) การเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์

2) ความต้องการปุ๋ยของยางพารา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการสำรวจอินทรียวัตถุในดินและความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางโดยการสัมผัส สังเกต และจดบันทึกข้อมูล

2) มีทักษะในการใช้อุปกรณ์การเก็บตัวอย่างดินตามขั้นตอนเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดิน

3) มีทักษะในการใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารในดินอย่างง่าย

4) มีทักษะในการกำหนดสูตรปุ๋ยที่จะใช้ในสวนยางโดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินและคำแนะนำฯ ได้อย่างถูกต้อง

5) มีทักษะในการคำนวณปริมาณปุ๋ยและจำนวนแรงงานในการใส่ปุ๋ยในสวนยางได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะดินที่มีอินทรียวัตถุในสวนยางและลักษณะสวนยางที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ

2) มีความรู้ในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดิน

3) มีความรู้ในการใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารในดินอย่างง่าย

4) มีความรู้ในการกำหนดสูตรปุ๋ยที่จะใช้ในสวนยางและคำนวณปริมาณปุ๋ยและจำนวนแรงงานในการใส่ปุ๋ยในสวนยาง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2) แฟ้มสะสมงาน

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3) ผลการสอบข้อเขียน

              4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับการสำรวจอินทรียวัตถุในดินและความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยาง การเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช การใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่าย โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง) วิธีการประเมิน

              1) การสอบข้อเขียน

              2) การสอบสัมภาษณ์

              3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

       (ก) คำแนะนำ

              ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการสวนยาง ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ข) คำอธิบายรายละเอียด

              1) ลักษณะดินที่มีอินทรียวัตถุ หมายถึง ดินที่มีเศษซากพืชซากสัตว์ปะปนอยู่ในดิน หากมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะช่วยให้สภาพดินร่วนซุย ไม่แน่นทึบ อุ้มน้ำ มีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น ชักนำให้สัตว์หน้าดินเข้ามาอยู่อาศัย ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของวงจรธาตุอาหารพืช (plant nutrient cycling) และระบบนิเวศในแปลง

              2) ลักษณะสวนยางที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง ในสวนยางมีสัตว์หน้าดินต่างๆ เช่น ไส้เดือน แมงกระชอน หนอน แมลง ปลวก จุลินทรีย์ ที่ช่วยพรวนดิน ถ่ายมูล(เช่นมูลไส้เดือนบนดิน) ช่วยย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ให้เปลี่ยนสภาพเป็นฮิวมัสเพื่อเป็นธาตุอาหารแก่พืช รวมถึงในสวนยางมีความหลากหลายของพันธุ์พืชและชั้นเรือนยอด ช่วยทำให้อินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น ฟื้นฟูกระบวนการทำงานของวงจรธาตุอาหารพืช ลดแรงกระแทกของเม็ดฝนที่ตกสู่พื้นดินจึงช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน เหล่านี้ล้วนบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน

              3) สำรวจอินทรียวัตถุในดินและความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางอย่างง่าย หมายถึง การเดินสำรวจโดยการสังเกต สัมผัส จัดหมวดหมู่ และจดบันทึกข้อมูลพืชและสัตว์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆทั้งที่พบบนดินและในดิน เพื่อนำไปประเมินความอุดมสมบูรณ์ของสวนยางพาราในเบื้องต้น

              4) หลักการเก็บตัวอย่างดินในสวนยาง ได้แก่ (1) เวลาที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างดินคือก่อนการปลูกพืชหรือก่อนใส่ปุ๋ย (2) เก็บในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะคือเมื่อบีบดินให้แน่นแล้วแบมือออกดินจะยังจับเป็นก้อน แต่เมื่อใช้มือบีบอีกครั้งดินจะแตกร่วนโดยง่าย (3) เก็บเพียง 2-3 ปีต่อครั้ง เนื่องจากระดับธาตุอาหารในดินที่วิเคราะห์ได้โดยวิธีทางเคมีนั้น มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก (4) ต้องเผื่อเวลาสำหรับการส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์เพราะกว่าจะส่งผลกลับมาใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน (5) การเก็บตัวอย่างดินเพื่อจะให้หน่วยวิเคราะห์ดินเคลื่อนที่มาให้บริการ จะต้องเก็บก่อนวันนัดหมาย 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ตัวอย่างดินแห้งจึงจะวิเคราะห์ได้

              5) ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างดินในสวนยาง  (1) แบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย พื้นที่ราบไม่เกิน 50 ไร่ พื้นที่ลาดชันแปลงละ 10-20 ไร่ (2) สุ่มเก็บตัวอย่างดิน กระจายให้ทั่วแต่ละแปลงๆ ละ 15-20 จุด ก่อนขุดดินต้องถางหญ้า กวาดเศษพืชหรือวัสดุบนผิวหน้าดินออกก่อน แล้วใช้จอบ เสียม หรือพลั่ว ขุดหลุมเป็นรูปตัว V ให้ลึกในแนวดิ่งประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วแซะเอาดินด้านหนึ่งเป็นแผ่นหนา 2-3 เซนติเมตรจากปากหลุมถึงก้นหลุม ทำเช่นเดียวกันนี้จนครบ นำดินทุกจุดใส่รวมกันในถังหรือภาชนะ (3) ดินที่เก็บในถังนี้เป็นตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของที่ดินแปลงนั้น จากนั้นเทดินในแต่ละถังลงบนแผ่นผ้าพลาสติกหรือผ้ายางแยกกันถังละแผ่น เกลี่ยดินผึ่งไว้ในที่ร่มจนแห้ง ดินที่เป็นก้อนให้ใช้ไม้ทุบให้ละเอียดพอประมาณ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันจนทั่ว (4) ตัวอย่างดินที่เก็บอาจมีปริมาณมาก แบ่งส่งไปวิเคราะห์เพียงครึ่งกิโลกรัมก็พอ วิธีการแบ่งเกลี่ยตัวอย่างดิน แผ่ให้ดินเป็นรูปวงกลม แล้วแบ่งผ่ากลางออกเป็น 4 ส่วน เท่าๆกัน เก็บดินมาเพียง 1 ส่วน หนักประมาณครึ่งกิโลกรัม ใส่ในถุงพลาสติกที่สะอาดพร้อมแบบฟอร์มบันทึกรายละเอียดของตัวอย่างดิน ปิดปากถุงให้แน่น ใส่ในกล่องกระดาษแข็งอีกชั้นหนึ่งเพื่อส่งไปวิเคราะห์ 

              6) อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเก็บตัวอย่างดิน ได้แก่ เครื่องมือสำหรับขุดหรือเจาะเก็บดิน (เช่น พลั่ว จอบ และเสียม) มีดดายหญ้า ภาชนะที่ใส่ดิน (เช่น ถังพลาสติก) แผ่นผ้าพลาสติกหรือผ้ายาง ไม้ท่อนทุบดิน และถุงพลาสติกใส่ตัวอย่างดินส่งไปวิเคราะห์ กล่องกระดาษแข็ง เชือกผูกกล่อง

              7) บันทึกรายละเอียดตัวอย่างดิน ดังนี้ (1) ชื่อ-ที่อยู่ ผู้ส่งตัวอย่างดิน (2) ข้อมูลตัวอย่างดิน ได้แก่ ตัวอย่างดินที่.... รหัสตัวอย่างดิน สถานที่เก็บตัวอย่างดิน (หมู่ ตำบล อำเภอ จังหวัด) เนื้อที่...ไร่ ลักษณะของพื้นที่ (ที่ลุ่ม ที่ราบ ที่ลาดเท ที่สูงๆต่ำๆ ที่ภูเขา) และวันเวลาในการเก็บตัวอย่างดิน (3) ข้อมูลกิจกรรมในพื้นที่เก็บตัวอย่างดิน ได้แก่ พืชที่เคยปลูก ผลผลิตต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร อัตรา ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา ใส่วัสดุอื่น อัตราและพืชที่ต้องการจะปลูก (4) ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ ปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร และปัญหาเฉพาะที่ต้องการคำแนะนำ

              8) ส่งตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์ หมายถึง ส่งตัวอย่างดินไปให้หน่วยงานภาครัฐเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดิน และทางหน่วยงานจะส่งผลการวิเคราะห์พร้อมคำแนะนำการใช้ปุ๋ยกลับมาให้ แต่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 1-2 เดือน โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเกษตรกรสามารถส่งตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์ได้ที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตใกล้บ้าน หรือสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โดยสามารถส่งทางพัสดุไปรษณีย์ นำไปส่งด้วยตนเอง หรือฝากหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านส่ง หรือติดต่อให้หน่วยวิเคราะห์ดินเคลื่อนที่มาให้บริการที่บ้าน

              9) วิธีการใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่าย  โดยใช้ชุดตรวจสอบ N P K และกรด-ด่างดินของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มจาก (1) สกัดธาตุอาหารพืชในดิน (2) ตรวจสอบปริมาณไนโตรเจน (แอมโมเนียม) (3) ตรวจสอบปริมาณไนโตรเจน (ไนเตรต) (4) ตรวจสอบปริมาณฟอสฟอรัส (5) ตรวจสอบปริมาณโพแทสเซียม (6) ตรวจสอบความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดิน (รายละเอียดศึกษาจากคู่มือการใช้งาน) ชุดตรวจสอบนี้สามารถบอกปริมาณค่า N P K เป็น 3 ระดับ คือ มาก ปานกลาง น้อย ซึ่งสามารถนำไปเทียบเคียงสูตรปุ๋ยอย่างง่ายในท้องตลาดได้

              10) อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่าย ประกอบด้วย ชุดตรวจสอบตัวอย่างดินอย่างง่าย เช่น ชุดตรวจสอบ N P K และกรด-ด่างดิน ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ตัวอย่างดิน กระปุกใส่ตัวอย่างดิน ปากกา สมุดบันทึก

11)    แรงงานในการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้ง หมายถึง แรงงานใส่ปุ๋ยแบบหว่าน ใส่ได้ประมาณ 10 ไร่ต่อคนต่อวัน แรงงานใส่ปุ๋ยแบบแถบ ใส่ได้ประมาณ 5 ไร่ต่อคนต่อวัน และแบบหลุม ใส่ได้ประมาณ 5 ไร่ต่อคนต่อวัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ