หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินลักษณะเนื้อดินที่เหมาะในการปลูกยางพาราและวินิจฉัยสถานะธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-XTXE-903A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินลักษณะเนื้อดินที่เหมาะในการปลูกยางพาราและวินิจฉัยสถานะธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการปุ๋ยยางพารา


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการประเมินลักษณะเนื้อดินที่เหมาะในการปลูกยางและสถานะธาตุอาหารที่ยางต้องการ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเนื้อดินที่เหมาะในการปลูกยาง ได้แก่ กลุ่มดินร่วนเหนียว กลุ่มดินร่วนทราย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมหรือจุลธาตุที่ยางต้องการ สามารถกำหนดและเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพาราจากลักษณะสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางได้อย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A211

ประเมินลักษณะเนื้อดินที่เหมาะในการทำสวนยางและระบุประเภทของธาตุอาหารที่ยางต้องการ

1. อธิบายลักษณะเนื้อดินที่เหมาะสำหรับปลูกยางพารา

A211.01 195985
A211

ประเมินลักษณะเนื้อดินที่เหมาะในการทำสวนยางและระบุประเภทของธาตุอาหารที่ยางต้องการ

2. ประเมินเลือกพื้นที่ที่มีเนื้อดินที่เหมาะสมในการปลูกยางได้เป็นอย่างดี

A211.02 195986
A211

ประเมินลักษณะเนื้อดินที่เหมาะในการทำสวนยางและระบุประเภทของธาตุอาหารที่ยางต้องการ

3. ระบุประเภทของธาตุอาหารที่ยางพาราต้องการ

A211.03 195987
A212

สังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพาราเพื่อวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา

1. อธิบายลักษณะอาการขาดธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา

A212.01 195988
A212

สังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพาราเพื่อวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา

2. อธิบายลักษณะอาการความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา

A212.02 195989
A212

สังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพาราเพื่อวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา

3. สังเกตและวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารที่สำคัญจากลักษณะสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพารา

A212.03 195990
A212

สังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพาราเพื่อวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา

4. สังเกตและวินิจฉัยความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญจากลักษณะสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพารา

A212.04 195991
A212

สังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพาราเพื่อวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา

5. เลือกวิธีการแก้ไขปัญหาอาการขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหารจากลักษณะสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพารา

A212.05 195992

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) ลักษณะดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกยางพารา

2) โรค แมลง ที่เป็นศัตรูของยางพารา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการประเมินและเลือกพื้นที่ที่มีเนื้อดินที่เหมาะสมในการปลูกยาง

2) มีทักษะในการสังเกตและวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารที่สำคัญจากลักษณะสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพารา

3) มีทักษะในการสังเกตและวินิจฉัยความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญจากลักษณะสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางพารา

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเนื้อดินที่เหมาะสมกับการปลูกยาง

2) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุอาหารที่ยางต้องการ

3) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2) แฟ้มสะสมงาน

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3) ผลการสอบข้อเขียน

              4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะเนื้อดินที่เหมาะสมกับการปลูกยาง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุอาหารที่ยางต้องการและการสังเกตสรีระวิทยาทางกายภาพของต้นยางเพื่อวิเคราะห์การขาดธาตุอาหารและความเป็นพิษของธาตุอาหาร โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง) วิธีการประเมิน

              1) การสอบข้อเขียน

              2) การสอบสัมภาษณ์

              3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการสวนยาง ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ก) คำแนะนำ

              N/A

       (ข) คำอธิบายรายละเอียด

              1) ลักษณะเนื้อดินที่เหมาะสำหรับปลูกยางพารา ประกอบด้วย (1) กลุ่มดินร่วนเหนียว หมายถึง กลุ่มดินที่มีเนื้อดินละเอียดซึ่งเป็นดินที่อุ้มน้ำ มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศพอเหมาะ สามารถดูดซับธาตุอาหารไว้ได้มากพอควร และมีธาตุโพแทสเซียมปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ตัวอย่างของดินในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินกบินทร์บุรี ในพื้นที่ปลูกยางใหม่ หรือชุดดินชุมพรในแหล่งปลูกยางเดิม เป็นต้น (2) กลุ่มดินร่วนทราย เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินหยาบ เป็นดินที่อุ้มน้ำไม่ดี ดินแห้งง่าย มีการชะล้างสูง ดูดซับอาหารไว้ได้น้อย และมีธาตุอาหารต่ำโดยเฉพาะธาตุโพแทสเซียม ตัวอย่างดินในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินโคราช และชุดดินยโสธรในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ชุดดินคลองท่อม คอหงส์ น้ำกระจาย และชุดดินสะเดาในแหล่งปลูกยางเดิม เป็นต้น

              2) ธาตุอาหารที่ยางพาราต้องการ ได้แก่ (1) ธาตุอาหารหลักของยางพารา ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ทำให้พืชมีสีเขียวและแข็งแรง เป็นธาตุที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นยางและผลผลิตยาง การขาดธาตุไนโตรเจนจะพบในสวนยางที่เป็นดินทรายและไม่ได้ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว  ฟอสฟอรัส (P) มีความสำคัญต่อการแบ่งเซลล์และการสร้างเซลล์ในพืช ช่วยในการเจริญเติบโตของราก จำเป็นสำหรับการออกดอก ติดเมล็ด และการพัฒนาของเมล็ดหรือผล ฟอสฟอรัสในดินส่วนใหญ่จะได้จากแร่หินฟอสเฟต  โพแทสเซียม (K) ช่วยให้ทุกส่วนของต้นพืชและระบบรากแข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง ดังนั้นธาตุโพแทสเซียมจึงช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลผลิต โดยทั่วไปโพแทสเซียมมักจะมีเพียงพอในดินที่มีปริมาณดินเหนียวสูง แต่จะพบการขาดธาตุโพแทสเซียมในดินทราย (2) ธาตุอาหารรองของยางพารา ได้แก่ แคลเซียม (Ca) ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากและการงอกของเมล็ด ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ดินที่มีแคลเซียมต่ำต้องเพิ่มแคลเซียมให้แก่ดินในรูปของปูนโดโลไมท์  แมกนีเซียม (Mg) เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ ซึ่งสำคัญต่อการสังเคราะห์แสง มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตของยางพารา ดินที่ขาดแมกนีเซียมจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตหรือปูนโลไมท์ (3) ธาตุอาหารเสริมหรือจุลธาตุของยางพารา ได้แก่ แมงกานีส (Mn) กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของไนโตรเจนและการสร้างคลอโรฟิลล์ สังกะสี (Zn) ช่วยสร้างเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช เหล็ก (Fe) จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ทองแดง (Cu) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างลิกนิน เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ascorbic acid oxidase ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช โบรอน (B) มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเซลล์ การแบ่งเซลล์ การขยายตัวของเซลล์ของต้นยาง โมลิบดินัม (Mo) มีหน้าที่ในการสร้างโปรตีน ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศของพืชตระกูลถั่ว จึงมีความสำคัญทางอ้อมในสวนยาง โดยผ่านทางพืชคลุมดินตระกูลถั่วที่ปลูกในระหว่างแถวยาง 

              3) ลักษณะอาการขาดธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา (1) ไนโตรเจน อาการคือขนาดใบเล็กกว่าปกติ จำนวนใบน้อย ลำต้นเล็ก แคระแกร็น สีผิวของเปลือกกร้านและแข็งกว่าต้นที่ปกติ ใบซีดเหลือง ในกรณีที่รุนแรงใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและร่วง (2) ฟอสฟอรัส อาการคือใต้ท้องใบเป็นสีบรอนซ์และสีม่วงก่อน หลังใบมีสีเหลืองน้ำตาล หลังจากนั้นยอดใบจะแห้งลงมาเป็นสีน้ำตาลแดงลุกลามลงมาจากส่วนปลาย ส่วนที่เป็นสีน้ำตาลจะหดตัวม้วนขึ้น (3) โพแทสเซียม อาการคือใบจะเหลืองซีดทั่วทั้งใบ โดยจะเริ่มจากยอดและขอบใบ (tip and margin) เข้ามา (4) แคลเซียม อาการคือใบอ่อนจะไม่คลี่ออกจากกัน บิดเบี้ยว เล็ก ใบมีลักษณะย่นและมีสีเขียวเข้มผิดปกติ ถ้าขาดรุนแรงจะทำให้ตายจากยอด (5) แมกนีเซียม อาการจะเกิดที่ใบแก่ก่อน ขอบใบและพื้นที่ระหว่างเส้นใบมีสีเหลืองเห็นได้ชัด แต่เส้นใบยังเขียวอยู่ การขาดที่รุนแรงใบจะเป็นสีเหลือง อาจทำให้ใบร่วง (6) แมงกานีส อาการคือใบจะซีดและกลายเป็นสีเหลืองทั้งใบ ยกเว้นที่เส้นกลางใบและเส้นใบจะมีสีเขียวเหลืออยู่ แตกต่างกับอาการขาดธาตุแมกนีเซียมอย่างเห็นได้ชัด (7) เหล็ก อาการคือใบเหลืองทั่วทั้งใบ แสดงอาการที่ใบอ่อน หากขาดรุนแรงและเมื่ออากาศร้อน แดดจัดและฝนทิ้งช่วงจะทำให้ต้นยางที่ปลูกใหม่แสดงอาการและตายจากยอด มักพบในดินปลูกยางที่เป็นด่าง (8) สังกะสี อาการคือต้นยางอ่อนบริเวณกลางใบเป็นสีเหลืองแต่เส้นใบยังเขียว หากขาดรุนแรงใบยางจะมีขนาดเล็ก ยาวเรียว ใบบิด ขอบใบเป็นคลื่น ข้อสั้น ใบรวมตัวเป็นกระจุก และจะทำให้ต้นยางตายจากยอด ในต้นยางแก่ที่แตกกิ่งต้องวิเคราะห์ใบที่ถูกแสงแดดเต็มที่

              4) ลักษณะอาการความเป็นพิษของธาตุอาหารที่สำคัญของยางพารา (1) ไนโตรเจน หากได้รับมากเกินไปจะทำให้มีการเจริญทางลำต้นและใบมาก ลำต้นสูง ล้มง่าย (2) โพแทสเซียม ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้ใบอ่อนเขียวเร็ว (3) โบรอน อาการเป็นพิษคือขอบใบและปลายใบมีสีเหลืองแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตาย โบรอนเป็นธาตุที่เป็นปฏิปักษ์กับโพแทสเซียม แคลเซียม และโมลิบดินัม อาการเป็นพิษของโบรอนจะทำให้พืชขาดธาตุเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ความเป็นพิษของโบรอนยังมีผลทำให้ต้นยางเกิดอาการเปลือกแห้งได้ด้วย 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ 

4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ