หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บรักษาปุ๋ย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-GCKM-908A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บรักษาปุ๋ย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการปุ๋ยยางพารา


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาปุ๋ย ประกอบด้วย การมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาปุ๋ย และการดำเนินการเก็บรักษาปุ๋ยอย่างถูกต้อง ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเลือกวิธีการและรูปแบบการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เองปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ การจัดเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเก็บรักษาปุ๋ยอย่างเหมาะสม และมีความรู้เกี่ยวกับข้อพึงระวังในการเก็บรักษาปุ๋ยอย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A261

มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ

1. อธิบายวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมีได้อย่างถูกต้อง

A261.01 196048
A261

มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ

2. อธิบายวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เองได้อย่างถูกต้อง

A261.02 196049
A261

มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ

3. อธิบายวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างถูกต้อง

A261.03 196050
A261

มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ

4. อธิบายวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพได้อย่างถูกต้อง

A261.04 196051
A262

ดำเนินการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เองปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพอย่างถูกต้อง

1. เตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ

A262.01 196052
A262

ดำเนินการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เองปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพอย่างถูกต้อง

2. ระบุข้อพึงระวังในการเก็บรักษาปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง

A262.02 196053
A262

ดำเนินการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เองปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพอย่างถูกต้อง

3. เก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพได้อย่างถูกวิธีและปฏิบัติตามข้อพึงระวังได้อย่างถูกต้อง

A262.03 196054

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

คุณลักษณะทางกายภาพของปุ๋ย (การละลายน้ำ แสงแดด)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพได้อย่างเหมาะสม

2)  มีทักษะในการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพได้อย่างถูกวิธีและปฏิบัติตามข้อพึงระวังได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาปุ๋ยประเภทต่างๆ

2) มีความรู้ความสามารถในการจัดเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเก็บรักษาปุ๋ย

3) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อพึงระวังในการเก็บรักษาปุ๋ย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2) แฟ้มสะสมงาน

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3) ผลการสอบข้อเขียน

              4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการมีความรู้ในการเก็บรักษาปุ๋ย และการดำเนินการเก็บรักษาปุ๋ยอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง) วิธีการประเมิน

              1) การสอบข้อเขียน

              2) การสอบสัมภาษณ์

              3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการสวนยาง ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ก) คำแนะนำ

              N/A

       (ข) คำอธิบายรายละเอียด

              1) วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ควรเก็บในกระสอบที่มีถุงพลาสติกรองในและผูกรัดปากถุงให้แน่นเพื่อป้องกันความชื้นและการระเหิด วางในโรงเรือนมีหลังคาเพื่อป้องกันแดดและฝน 

              2) วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เอง ควรเก็บในกระสอบที่มีถุงพลาสติกรองในและผูกรัดปากถุงให้แน่นเพื่อป้องกันความชื้นและการระเหิด วางในโรงเรือนมีหลังคาเพื่อป้องกันแดดและฝน หลังผสมปุ๋ยเก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน 1 เดือน

              3) วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ (1) ปุ๋ยคอก อย่านำปุ๋ยคอกไปผึ่งแดดเพราะจะสูญเสียธาตุไนโตรเจนจากการระเหิด ส่วนโพแตสเซียมมักสูญเสียไปโดยการชะล้างไปกับน้ำฝน ดังนั้นการเก็บรักษาปุ๋ยคอกที่ดีจึงควรเก็บไว้ในโรงเรือนมีหลังคาและคลุมกองปุ๋ยคอกด้วยผ้าใบเพื่อรักษาความชื้น และเติมหินฟอสเฟต (0-3-0) หรือปุ๋ยฟอสเฟตอย่างอื่นลงไปประมาณ 10 กิโลกรัม ต่อปุ๋ยคอก 1 ตัน  (2) ปุ๋ยหมัก ควรเก็บในกระสอบที่มีถุงพลาสติกรองในและผูกรัดปากถุงเพื่อรักษาความชื้นให้จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่ได้นาน อย่าให้ปุ๋ยแห้งเพราะจุลินทรีย์จะค่อยๆตายไป วางในโรงเรือนมีหลังคา ถ้าเป็นกองปุ๋ยหมักควรคลุมกองปุ๋ยด้วยผ้าใบหรือแผ่นพลาสติกเพื่อรักษาความชื้น (3) น้ำหมักชีวภาพ ควรเก็บไว้ในภาชนะพลาสติก ปิดฝาไว้ วางในที่ร่ม สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานหลายปีในอุณหภูมิปกติไม่เกิน 45-50 องศาเซลเซียส

              4) วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพ ศึกษาจากฉลากของแต่ละผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ เช่น ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าชนิดผง สำหรับใส่ต้นยางพารา ที่ผลิตโดยกรมวิชาการเกษตร บรรจุในถุงที่ปิดผลึก ควรเก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส อายุการใช้งาน 1 ปีนับจากวันผลิต หากเปิดใช้แล้วไม่หมด ควรปิดรัดถุงให้สนิท เก็บไว้ใช้ต่อจนกว่าจะครบ 1 ปีนับจากวันผลิต

              5) เตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเก็บรักษา หมายถึง โรงเรือนมีขนาดพอเหมาะกับปริมาณปุ๋ยที่จะเก็บ ป้องกันแสงแดดและฝนได้ดี ไม่อับชื้น น้ำไม่ท่วมขัง กรณีเป็นพื้นปูนหรือพื้นดินต้องรองแผ่นไม้ก่อนวางกระสอบปุ๋ยเคมีเพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นทำให้ปุ๋ยเสื่อมสภาพ หากมีกองปุ๋ยหมักควรเตรียมแผ่นพลาสติกหรือผ้าใบคลุม 

              6) ข้อพึงระวังในการเก็บรักษาปุ๋ย (1) เคลื่อนย้ายปุ๋ยด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรโยนกระสอบปุ๋ยเพราะจะทำให้กระสอบปุ๋ยฉีกขาดและปุ๋ยเสื่อมสภาพเร็วขึ้น (2) ไม่ควรเก็บปุ๋ยไว้นานเกินไปโดยพิจารณาจากอายุการใช้งานของปุ๋ยแต่ละประเภท และ (3) หมั่นตรวจสอบและดูแลปุ๋ยและสถานที่เก็บรักษาปุ๋ยอยู่เสมอ เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ