หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใส่ปุ๋ยในสวนยางพาราอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อการอนุรักษ์ดิน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-DPAN-907A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใส่ปุ๋ยในสวนยางพาราอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อการอนุรักษ์ดิน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการปุ๋ยยางพารา


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการใส่ปุ๋ยในสวนยางอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อการอนุรักษ์ดิน ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเลือกใช้ปุ๋ยตามประเภทของปุ๋ยตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550 การมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยยางประเภทต่างๆตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง สามารถเตรียมและเลือกใช้ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าและวิธีการใช้ในสวนยางตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร สามารถเลือกวิธีการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุของต้นยางพารา และสามารถวางแผนการใส่ปุ๋ยในสวนยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A251

มีความรู้เกี่ยวกับความหมายและประเภทของปุ๋ยตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550

1. ระบุความหมายและประเภทของปุ๋ยเคมีได้อย่างถูกต้อง

A251.01 196032
A251

มีความรู้เกี่ยวกับความหมายและประเภทของปุ๋ยตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550

2. ระบุความหมายและประเภทของปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างถูกต้อง

A251.02 196033
A251

มีความรู้เกี่ยวกับความหมายและประเภทของปุ๋ยตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550

3. ระบุความหมายและประเภทของปุ๋ยชีวภาพได้อย่างถูกต้อง

A251.03 196034
A252

มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

1. ระบุสูตรและอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีในสวนยางก่อนเปิดกรีดตามเขตพื้นที่ปลูกยางและกลุ่มเนื้อดิน ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

A252.01 196035
A252

มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

2. ระบุสูตรและอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีในสวนยางหลังเปิดกรีด ทุกเขตปลูกยางและดินทุกชนิด ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

A252.02 196036
A252

มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

3. ระบุการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางในเขตปลูกยางใหม่ ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

A252.03 196037
A252

มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

4. ระบุการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางในเขตปลูกยางเดิม ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

A252.04 196038
A253

มีความรู้ในการผลิตและใช้ปุ๋ยชีวภาพในสวนยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

1. ระบุความหมายของปุ๋ยชีวภาพได้อย่างถูกต้อง

A253.01 196039
A253

มีความรู้ในการผลิตและใช้ปุ๋ยชีวภาพในสวนยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

2. ระบุประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพที่ใส่ในสวนยางได้อย่างถูกต้อง

A253.02 196040
A253

มีความรู้ในการผลิตและใช้ปุ๋ยชีวภาพในสวนยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

3. ระบุวิธีการใช้ปุ๋ยชีวภาพในสวนยางและการเก็บรักษาปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง

A253.03 196041
A254

อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยตามลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุของต้นยางพารา

1. อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยแบบหว่านตามลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุยาง

A254.01 196042
A254

อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยตามลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุของต้นยางพารา

2. อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยแบบแถบตามลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุยาง

A254.02 196043
A254

อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยตามลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุของต้นยางพารา

3. อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยแบบหลุมตามลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุยาง

A254.03 196044
A255

วางแผนการใส่ปุ๋ยในสวนยางอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่ออนุรักษ์ดิน

1. จัดหาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณภาพจากแหล่งผลิตหรือแหล่งจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ

A255.01 196045
A255

วางแผนการใส่ปุ๋ยในสวนยางอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่ออนุรักษ์ดิน

2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ยและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้พร้อม

A255.02 196046
A255

วางแผนการใส่ปุ๋ยในสวนยางอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่ออนุรักษ์ดิน

3. ใส่ปุ๋ยในสวนยางอย่างถูกวิธีและในเวลาที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยและเพื่อการอนุรักษ์ดิน

A255.03 196047

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ธาตุอาหารในดินของสวนยาง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการจัดหาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณภาพจากแหล่งผลิตหรือแหล่งจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ

2) มีทักษะในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ยและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้พร้อม

3) มีทักษะในการใส่ปุ๋ยในสวนยางอย่างถูกวิธีและในเวลาที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยและเพื่อการอนุรักษ์ดิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและการจำแนกประเภทของปุ๋ยตาม พรบ. ปุ๋ย 2550

2) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยประเภทต่างๆ ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

3) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าและวิธีการใช้ในสวนยางตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

4) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใส่ปุ๋ยยางตามสภาพพื้นที่และอายุของต้นยางพารา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2) แฟ้มสะสมงาน

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3) ผลการสอบข้อเขียน

              4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประเภทของปุ๋ยตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550 ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยยางประเภทต่างๆ และความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าและวิธีการใช้ในสวนยางตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร วิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุยางพารา และวางแผนการใส่ปุ๋ยในสวนยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง) วิธีการประเมิน

              1) การสอบข้อเขียน

              2) การสอบสัมภาษณ์

              3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการสวนยาง ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

     (ก) คำแนะนำ

          N/A

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1) ความหมายและประเภทของปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ ประเภทของปุ๋ยเคมี ได้แก่ ปุ๋ยเคมีเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเคมีเชิงผสม ปุ๋ยเคมีเชิงประกอบ ปุ๋ยเคมีอินทรีย์ แต่ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนปลาสเตอร์ ยิปซัม โดโลไมต์ หรือสารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

          2) ความหมายและประเภทของปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้หรือทำมาจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ ประเภทของปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ

          3) ความหมายและประเภทของปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช มาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ หรือทางชีวเคมี และให้ความหมายรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์ ประเภทของปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ปุ๋ยชีวภาพพีจีอาร์ ปุ๋ยชีวภาพสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ปุ๋ยชีวภาพเชื้อราไมโคไรซ่า ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ปุ๋ยชีวภาพละลายโพแทสเซียม

          4) สูตรและอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีในสวนยางก่อนเปิดกรีดตามเขตพื้นที่ปลูกยางและกลุ่มเนื้อดิน เขตปลูกยางเดิม (14 จังหวัดภาคใต้ และ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง จันทบุรี และตราด) ดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนทราย ใช้สูตร 20-8-20 

                                                            อัตราปุ๋ย  ดินร่วนเหนียว  ดินร่วนทราย

                                                            ปีที่ 1           23                31  (กก./ไร่/ปี)

                                                            ปีที่ 2           34                47

                                                            ปีที่ 3           35                49

                                                            ปีที่ 4           37                50

                                                            ปีที่ 5           40                55

                                                            ปีที่ 6           41                56

                                                            * หมายเหตุ: ต้นยาง 76 ต้น/ไร่

เขตปลูกยางใหม่ (จังหวัดอื่นๆ นอกเหนือจากจังหวัดในพื้นที่ปลูกยางเดิม) ดินร่วนเหนียวใช้สูตร 20-10-12 ดินร่วนทรายใช้สูตร

20-10-17

                                                            อัตราปุ๋ย  ดินร่วนเหนียว  ดินร่วนทราย

                                                            ปีที่ 1           18                23  (กก./ไร่/ปี)

                                                            ปีที่ 2           26                31

                                                            ปีที่ 3           27                32

                                                            ปีที่ 4           27                37

                                                            ปีที่ 5           31                43

                                                            ปีที่ 6           31                50

                                                            * หมายเหตุ: ต้นยาง 76 ต้น/ไร่

          5) สูตรและอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีในสวนยางหลังเปิดกรีด ทุกเขตปลูกยางและดินทุกชนิด ปริมาณธาตุอาหารหลักที่ยางพาราต้องการ ไนโตรเจน 22.8 ฟอสฟอรัส 3.8 และโพแทสเซียม 13.7 (กก./ไร่/ปี) ใช้สูตรปุ๋ย 29-5-18 ในปริมาณ 76 กก./ไร่/ปี * หมายเหตุ: ต้นยาง 76 ต้น/ไร่

          6) การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางในเขตปลูกยางใหม่ แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพราะปริมาณธาตุอาหารหลัก(NPK) ในปุ๋ยอินทรีย์มีไม่เกิน 5 %  สวนยางก่อนเปิดกรีด ในปีที่ 1 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ในปีที่ 2-6 ใส่อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควรคลุกเคล้ากับดินก่อนใส่ปุ๋ยเคมี 15-20 วัน เพื่อปรับสภาพดิน สวนยางหลังเปิดกรีด แนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปีร่วมกับปุ๋ยเคมีตามอัตราแนะนำ หรือใส่ได้มากกว่านี้ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จำนวนมากจะสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ แต่ต้องคำนึงถึงผลตอบแทนความคุ้มทุนด้วย

          7) การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางในเขตปลูกยางเดิม สวนยางก่อนเปิดกรีดและหลังเปิดกรีดในเขตปลูกยางเดิม หากดินมีอินทรียวัตถุต่ำ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตราที่แนะนำตามข้อ 6 เช่นเดียวกัน

          8) ความหมายของปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยราอาบัสคูลาไมโคไรซ่าที่สามารถดูดซึมธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ไมโคไรซ่าเป็นเชื้อราในดินกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณรากพืช และเจริญเข้าไปภายในรากโดยอยู่ร่วมกับรากพืชในรูปแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน คือ พืชให้อาหารจำพวกน้ำตาลที่ได้จากการสังเคราะห์แสงแก่ไมโคไรซ่า ส่วนไมโคไรซ่าช่วยดูดธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตส่งต่อให้แก่พืช

          9) ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าที่ใส่ในสวนยาง ได้แก่ (1) ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวรากพืชในการดูดน้ำและธาตุอาหาร ช่วยให้พืชเจริญเติบโตและทนแล้งได้ดี (2) ช่วยดูดธาตุอาหารที่สลายตัวยากหรืออยู่ในรูปที่ถูกตรึงไว้ในดินโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส ส่งต่อให้กับพืชผ่านผนังเส้นใยของราไมโคไรซ่า สู่ผนังเซลล์ของรากพืช (3) ช่วยให้พืชทนทานต่อโรครากเน่าหรือโคนเน่า ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา (4) หากมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีทางการเกษตรเพื่อกำจัดศัตรูพืช สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าได้ทุกชนิด ยกเว้นสารกำจัดโรคพืชพวก fosetyyl, metalaxyl และ mancozeb+metalaxyl (5) ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี (6) ใส่ครั้งเดียวอยู่ในรากพืชไปตลอดชีวิตของพืช

          10) วิธีการใช้ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าในสวนยางและการเก็บรักษาปุ๋ย คือ ยางพารา อายุมากกว่า 1 ปี ใส่ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า(ชนิดผง) 10 กรัม หรือ 1 ช้อนโต๊ะปาด ต่อยาง 1 ต้น แต่ถ้าให้ได้ผลดี ควรใส่ในระยะต้นกล้าหรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ส่วนยางที่โตแล้ว ให้ขุดเป็นร่องบริเวณทรงพุ่ม หรือเกลี่ยใบไม้ที่คลุมอยู่ออกจนพบรากฝอย แล้วโรยปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า ให้สัมผัสกับรากฝอยจนรอบทั้งต้นแล้วกลบรากดังเดิม รดน้ำตามความเหมาะสม ควรเก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า ไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิห้องปกติ(ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส สามารถอยู่ได้นาน 1 ปี

          11) วิธีการใส่ปุ๋ยแบบหว่าน หมายถึง การหว่านปุ๋ยทั่วบริเวณที่ใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยวิธีนี้ทำให้ความเข้มข้นของปุ๋ยลดลง และปุ๋ยมีโอกาสทำปฏิกิริยากับดินได้มาก วิธีนี้ควรใช้กับพื้นที่ราบที่ปราบวัชพืชด้วยสารเคมี เศษซากพืชที่เหลือในแถวยางจะช่วยป้องกันการชะล้างปุ๋ยในช่วงที่ฝนตกชุก ถ้าปราบวัชพืชด้วยวิธีถากตลอดแนวแถวยางควรคราดกลบหรือคลุกปุ๋ยให้เข้ากับดินเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการชะล้างปุ๋ย

          12) วิธีการใส่ปุ๋ยแบบแถบ หมายถึง การใส่ปุ๋ยโดยโรยเป็นแถบตามแนวแถวยาง วิธีนี้ควรใช้กับพื้นที่ราบหรือลาดชันเล็กน้อย โดยเซาะเป็นร่องลึก 5-10 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยแล้วคราดกลบ การใส่ปุ๋ยวิธีนี้ควรใช้เมื่อต้นยางมีรากดูดอาหารแผ่ขยายออกไปห่างจากลำต้นประมาณ 1 เมตร หรือเมื่อต้นยางมีอายุประมาณ 2-4 ปี

          13) วิธีการใส่ปุ๋ยแบบหลุม หมายถึง การขุดหลุมใส่ปุ๋ยแล้วกลบ เหมาะสำหรับยางที่เปิดกรีดในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ที่มีฝนตกชุกติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขุดหลุมจำนวน 2 หลุมเป็นอย่างน้อยต่อต้น ความลึกหลุม 5-10 เซนติเมตร การใส่ปุ๋ยวิธีนี้จะลดการชะล้างปุ๋ยได้มาก

          14) วัสดุอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ยและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ได้แก่ วัสดุปุ๋ย ถังใส่ปุ๋ย ถ้วยตวงปุ๋ย จอบ ถุงมือยาง รองเท้าบูท

          15) ใส่ปุ๋ยในสวนยางอย่างถูกวิธีและในเวลาที่เหมาะสม หมายถึง (1) มีวิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุของต้นยางพารา (2) ใส่ปุ๋ยในเวลาที่เหมาะสม คือ ช่วงฤดูฝนที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะขุดได้ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยช่วงฝนตกหนักและติดต่อกันหลายวันหรือช่วงแล้ง 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ