หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมพื้นที่ก่อนใส่ปุ๋ยในสวนยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-QEQL-905A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมพื้นที่ก่อนใส่ปุ๋ยในสวนยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการปุ๋ยยางพารา


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมพื้นที่ก่อนใส่ปุ๋ยในสวนยาง ประกอบด้วย การกำจัดวัชพืชในสวนยาง และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเลือกใช้สารเคมี สารชีวภาพ หรือการเขตกรรมในการกำจัดวัชพืชในสวนยางให้เหมาะสมกับช่วงอายุของต้นยางพารา รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานด้านการใช้สารปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในสวนยางได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A231

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการเขตกรรม

1. ระบุวิธีการกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยการเขตกรรม

A231.01 196008
A231

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการเขตกรรม

2. เตรียมอุปกรณ์ในการกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการเขตกรรม 

A231.02 196009
A231

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการเขตกรรม

3. กำจัดวัชพืชในสวนยางพาราโดยวิธีการเขตกรรมอย่างถูกวิธี

A231.03 196010
A232

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารเคมี

1. ระบุประเภทของสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชในสวนยาง

A232.01 196011
A232

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารเคมี

2. เลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสมกับชนิดและช่วงอายุของวัชพืชเพื่อการกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพ

A232.02 196012
A232

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารเคมี

3. อธิบายวิธีการกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยใช้สารเคมี

A232.03 196013
A232

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารเคมี

4. เตรียมอุปกรณ์ในการกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยใช้สารเคมี

A232.04 196014
A232

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารเคมี

5. กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยใช้สารเคมีอย่างถูกวิธี

A232.05 196015
A233

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารชีวภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

1. ระบุวิธีการผลิตสารชีวภาพกำจัดวัชพืชเพื่อใช้เองในสวนยาง

A233.01 196016
A233

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารชีวภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

2. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสารชีวภาพเพื่อใช้กำจัดวัชพืชในสวนยาง

A233.02 196017
A233

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารชีวภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

3. ทำสารชีวภาพเพื่อใช้กำจัดวัชพืชในสวนยางอย่างถูกวิธี

A233.03 196018
A233

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารชีวภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

4. อธิบายวิธีกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยใช้สารชีวภาพ

A233.04 196019
A233

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารชีวภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

5. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยใช้สารชีวภาพ

A233.05 196020
A233

กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารชีวภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

6. กำจัดวัชพืชในสวนยางโดยใช้สารชีวภาพอย่างถูกวิธี

A233.06 196021
A234

ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในสวนยาง

1. อธิบายความสำคัญและวิธีการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในสวนยาง

A234.01 196022
A234

ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในสวนยาง

2. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง(pH)ของดินในสวนยาง

A234.02 196023
A234

ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในสวนยาง

3. ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในสวนยางอย่างถูกวิธี

A234.03 196024

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) สภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน

2) วัชพืชในสวนยางพารา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยการเขตกรรมช่วงยางอายุ 0-1 ปี และช่วงยางอายุ 5 ปีขึ้นไป

2) มีทักษะในการกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการใช้สารเคมีช่วงยางอายุมากกว่า 1 ปี ถึง 5 ปี

3) มีทักษะในการผลิตสารชีวภาพกำจัดวัชพืชและใช้สารชีวภาพกำจัดวัชพืชในสวนยางเมื่อยางมีอายุ 1 ปี ขึ้นไป

4) มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในสวนยาง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำจัดวัชพืชในสวนยางด้วยวิธีการที่หลากหลาย

2) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2) แฟ้มสะสมงาน

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3) ผลการสอบข้อเขียน

              4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำจัดวัชพืชในสวนยาง และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง) วิธีการประเมิน

              1) การสอบข้อเขียน

              2) การสอบสัมภาษณ์

              3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการสวนยาง ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ก) คำแนะนำ

              N/A

       (ข) คำอธิบายรายละเอียด

              1) วิธีการกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยการเขตกรรม หมายถึง การถอนด้วยมือ การขุดโดยใช้มีด จอบ เสียม การใช้เครื่องตัดหญ้าและรถแทรกเตอร์ เป็นต้น เพื่อกำจัดวัชพืช ช่วงยางอายุ 0-1 ปี โดยกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นยางรัศมีประมาณ 1 เมตร และ ใช้วิธีการเขตกรรมอีกครั้งช่วงยางอายุ 5 ปี ขึ้นไป เช่น แผ้วถางด้วยวิธีกล เช่น มีด พร้า จอบ เสียม ใช้เครื่องตัดหญ้าและรถแท็กเตอร์ เป็นต้น ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในช่วงนี้ เนื่องจากในสวนยางเริ่มมีร่มเงาทำให้วัชพืชมีน้อย นอกจากนี้การใช้สารเคมีอาจส่งผลกระทบต่อรากฝอยที่อยู่บริเวณผิวดิน ส่งผลให้ปริมาณน้ำยางลดลง จุลินทรีย์ในดินที่มีประโยชน์ตาย และส่งผลต่อการเกิดโรคของต้นยางและสุขภาวะของเกษตรกร 

              2) ประเภทของสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืช ได้แก่ (1) สารเคมีประเภทเผาไหม้ หมายถึง สารเคมีหลังจากฉีดพ่นบนต้นวัชพืชแล้ว สารจะไม่เคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนอื่นของวัชพืชแต่จะไปทำลายส่วนที่เป็นสีเขียว ต้นวัชพืชจะค่อยๆ เหลืองและแห้งตายในที่สุด เช่น พาราควอต (Paraquat) หรือชื่อการค้า “กรัมมอกโซน” (2) สารเคมีประเภทดูดซึม หมายถึง สารเคมีหลังจากฉีดพ่นแล้ว สารจะซึมไปตามท่อน้ำท่ออาหารของต้นพืช ทำให้วัชพืชตายแบบถอนรากถอนโค่น เช่น ไกลโฟเสต (Glyphosate) หรือชื่อการค้า “ราวด์อัพ เรดดี้” 

              3) เลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสมกับชนิดและช่วงอายุของวัชพืช (1) สารเคมีประเภทเผาไหม้(ถูกต้นตาย) ควรใช้กับวัชพืชที่งอกเป็นต้นโตหนาแน่นแล้วอายุไม่เกิน 1 ปี และ (2) สารเคมีประเภทดูดซึม ควรใช้กับวัชพืชจำพวกต้นไม้ ไม้พุ่ม หรือพืชข้ามปี 

              4) วิธีการกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยใช้สารเคมี หมายถึง การใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อกำจัดวัชพืช ช่วงยางอายุมากกว่า 1 ปี ถึง 5 ปี โดยมีข้อพิจารณาดังนี้ (1) ต้นยางในช่วงอายุนี้ ลักษณะของรากฝอยยังไม่ลอยอยู่บริเวณผิวดิน จึงสะดวกต่อการกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมี (2) ควรใช้สารเคมีอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของฉลากยาและสวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างมิดชิด (3) ควรพ่นสารเคมีช่วงเช้าหรือเย็นเวลาลมสงบ ไม่พ่นขณะฝนตกหรือมีแนวโน้มฝนตก ไม่พ่นเมื่ออุณหภูมิสูงมาก และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ(<50%) ไม่พ่นเมื่อลมพัดแรงตลอดเวลา และ (4) เมื่อปฏิบัติงานเสร็จ ควรรีบอาบน้ำฟอกสบู่และเปลี่ยนเสื้อผ้าที่สะอาดทันที 

              5) อุปกรณ์ในการกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยใช้สารเคมี หมายถึง (1) เครื่องฉีดพ่นสารเคมี (2) สารเคมีกำจัดวัชพืช (3) อุปกรณ์ป้องกันตัวอย่างมิดชิด ได้แก่ กระบังหน้า หน้ากาก ถุงมือ รองเท้าบู๊ทยาง ชุดกันสารเคมี และต้องสวมใส่อย่างถูกต้อง

              6) วิธีการผลิตสารชีวภาพกำจัดวัชพืชเพื่อใช้เอง ส่วนประกอบ (1) สารเร่ง พด. 5 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม)(2) เศษปลาหรือหอยเชอรี่ 40 กิโลกรัม ( 3) กากน้ำตาล 10 ลิตร (4) น้ำ 10 ลิตร สำหรับวิธีทำคือ (1) ละลายสารเร่ง พด. 5 ในน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน  นาน 5 นาที (2) นำเศษปลาหรือหอยเชอรี่และกากน้ำตาลผสมและคลุกเคล้ากันในถังหมัก (3) ใส่สารเร่ง พด.5 ที่ละลายน้ำลงในถังหมักคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝาไม่ต้องสนิท (4) คลุกเคล้าทุก 7 วัน หมักไว้นาน 40 วันจึงนำไปใช้ได้   

              7) วิธีกำจัดวัชพืชในสวนยางโดยใช้สารชีวภาพ หมายถึง ใช้สารชีวภาพฉีดพ่นเพื่อกำจัดวัชพืชเมื่อต้นยางพารามีอายุ 1 ปีขึ้นไป โดยมีข้อพิจารณาดังนี้ (1) เตรียมวัสดุสารชีวภาพที่ผลิตใช้เอง (2) ตรวจเช็คเครื่องฉีดพ่นสารชีวภาพ ไม่รั่วซึมและพร้อมใช้งาน (3) ควรพ่นสารชีวภาพช่วงเช้าหรือเย็นก่อนพลบค่ำ ไม่พ่นขณะฝนตกหรือมีแนวโน้มฝนตก ไม่พ่นเมื่อลมพัดแรงตลอดเวลา (4) สารชีวภาพนอกจากใช้กำจัดวัชพืชแล้ว ยังช่วยปรับปรุงบำรุงดินและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

              8) ความสำคัญและวิธีการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง(pH)ของดิน ความสำคัญการปรับสภาพดิน หมายถึง ดินปลูกยางที่มี pH ตํ่ากว่า 4.0 ควรปรับปรุงดินให้มี pH สูงขึ้นอยู่ระหว่าง 4.0-5.5 เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดินและประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่ ลดความเป็นพิษของอะลูมินัม เหล็ก แมงกานีส และลดการตรึงฟอสฟอรัส ส่วนวิธีการปรับ pH ให้สูงขึ้น ควรใส่วัสดุปูน อาจใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับสภาพดินให้ดียิ่งขึ้น

              9) วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ได้แก่ ชุดตรวจสอบตัวอย่างดินอย่างง่าย วัสดุปูน เช่น ปูนขาว ปูนโดโลไมท์ หินฝุ่น และปุ๋ยอินทรีย์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20 ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ