หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตามแนวการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-OSBU-927A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตามแนวการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านระบบการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน หลักการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน และการประยุกต์แนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน และมีทักษะได้แก่ สามารถระบุหลักการและการประยุกต์ใช้หลักปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนได้อย่างถูกต้อง และ สามารถนำหลักการและแนวปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B241

หลักปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

1. อธิบายหลักการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนได้

B241.01 196486
B241

หลักปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

2. ระบุหลักปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนได้อย่างถูกต้อง

B241.02 196487
B241

หลักปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

3. ดำเนินการประยุกต์ใช้หลักปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนได้อย่างถูกต้อง

B241.03 196488
B242

ประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

1. อธิบายการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนได้

B242.01 196502
B242

ประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

2. ระบุแนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนได้อย่างถูกต้อง

B242.02 196503
B242

ประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

3. ระบุประโยชน์การจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนได้

B242.03 196504

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) วิเคราะห์ต้นทุนการทำสวนยางพารา

2) หลักการวางแผน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลแนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

2)  มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น แยกความแตกต่าง ระบุ ประยุกต์ ประเมินแนวทางการปฏิบัติงานแนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน ได้แก่ ปฏิบัติการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน

3)  มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานแนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนให้ถูกต้อง

4)  มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในหลักปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

2)  มีความรู้ประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

       (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2)  ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)

       (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3)  ผลการสอบข้อเขียน

              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน

              2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน

              3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด

       (ง)  วิธีการประเมิน

              1)  การสอบข้อเขียน

              2)  การสอบสัมภาษณ์

              3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

       (ก)  คำแนะนำ

       ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการแนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

       หลักปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

       การจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนยึดหลักเกษตรกรรมยั่งยืนพื้นฐาน 3 ประการคือ:

              1. ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาการจัดการดินและการหมุนเวียนการปลูกพืชที่ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดการพึ่งพาเครื่องจักรและสารเคมีเพื่อการเกษตร ทั้งปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช

              2. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และหาสิ่งทดแทนตบอดจนนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาเวียนใช้ใหม่ เช่น ที่ดิน (ดิน) น้ำ และสิ่งมีชีวิตในป่า หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โครงสร้างของดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ

              3. ความยั่งยืนด้านสังคม ด้วยการใช้แรงงานที่มีอยู่ให้มากขึ้น อย่างน้อยสำหรับเทคนิคการเกษตรบางประเภท เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นปึกแผ่นในสังคม สำหรับการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน ในโครงการนำร่องการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่าง สกย. สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และ Scandiaconsult Natura, Sweden โดยใช้ระบบ FSC ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ระหว่างปี 2543 – 2544 

              FSC เป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศ ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้การรับรองการจัดการสวนป่าหรือป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยก่อตั้งขึ้นที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เมื่อปี 2536 เป็นองค์กรที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ มีสมาชิกจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆทั่วโลก 200 รายซึ่งประกอบด้วยองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มชนพื้นเมืองจากทั่วโลก บริษัทธุรกิจด้านป่าไม้ ผู้ซื้อไม้ และองค์อิสระทั่วไป สำนักงานใหญ่ของ FSC อยู่ที่ประเทศเม็กซิโก 

เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดองค์กรหนึ่งของโลกในด้านการรับรองป่าไม้ การรับรองการจัดการสวนป่าหรือป่าไม้อย่างยั่งยืนของ FSCจะประกอบด้วยความยั่งยืนใน 3 องค์ประกอบได้แก่ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

              ความยั่งยืนด้านสังคม และ ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ

              ซึ่งหลักการบริหารตามแนวทาง FSC ในการจัดการสวนยางพารายึดหลักการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบโดยมีหลัก 10 ประการ ได้แก่

                     1. ความสอดคล้องระหว่างกฎหมายกับหลักการของ FSC สวนยางที่เข้าโครงการได้จะต้องไม่ละเมิดกฎหมายป่าไม้ กฎหมายสิ่งแวดล้อม เสียภาษีที่ดินให้ อบต. และได้รับความคุ้มครองจากทางบ้านเมืองไม่ให้มีใครลักลอบตัดไม้

                     2. สิทธิในการถือครองการใช้ประโยชน์และความรับผิดชอบ สวนยางที่เข้าโครงการได้จะต้องมีหลักฐานที่ดินถูกต้องตามกฎหมาย ไม่อยู่ในเขตป่าสงวนหรือที่ดินสาธารณะ อื่น ๆ

                     3. สิทธิของชนพื้นเมือง ชนพื้นเมืองเช่นเงาะซาไกจะต้องได้รับการยอมรับ และคุ้มครอง

                     4. ความสัมพันธ์ต่าง ๆกับชุมชนและสิทธิต่าง ๆของคนงาน คนงานในพื้นที่จะต้องได้รับการพิจารณาก่อน การเข้าทำงานในสวน มีการอบรมการใช้สารเคมีอย่างถูกวิธีให้กับคนงาน มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้กับคนงาน มีการจ่ายค่าแรงอย่างเป็นธรรม มีสวัสดิการสำหรับคนงาน

                     5. ผลประโยชน์จากป่าไม้ การตัดไม้ออกไปขายจะไม่เกินปริมาณไม้ที่เพิ่มใหม่ในพื้นที่โครงการ จะต้องมีการสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากไม้อย่างสูงสุด ลดการสูญเสียผลผลิต เน้นการอยู่รอดทางเศรษฐกิจ

                     6. ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะต้องตระหนักถึงการรักษาความสมดุลย์ทางนิเวศน์ และความมั่งคั่งของสวนยาง ปล่อยให้มีการเติบโต ของไม้พุ่มพื้นเมืองระหว่างแถวยางและริมลำธาร ปกป้องพืชพื้นเมืองที่หายากปกป้องไม่ให้มีการล่าสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์และหายาก หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่อันตราย กำจัดสารเคมีรวมทั้งน้ำมันหล่อลื่นโดยวิธีที่เหมาะสม

                     7. แผนการจัดการ มีการกำหนดแผนการจัดการเป็นลายลักษณ์อักษร เกี่ยวกับเป้าหมายในการจัดการ การตัดไม้ การลงทุน การป้องกันสภาพแวดล้อม การป้องกันพืชสัตว์หายาก เพราะแผนการติดตามตรวจตราแก้ไขผลกระทบด้านต่าง ๆ

                     8. การตรวจตรากำกับดูแลและการศึกษาวิเคราะห์ การตรวจตราดูแลและจะต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับผลผลิตไม้ อัตราการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของพืช สัตว์ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ขบวนการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ที่ได้รับการรับรองแล้ว

                     9. การฟื้นฟูป่าไม้ที่มีคุณค่าสูงด้านการอนุรักษ์ จะต้องทำนุบำรุงหรือส่งเสริมพื้นที่ป่าไม้ที่มีผลกระทบ และมีคุณค่าด้านการอนุรักษ์ต่อบริเวณใกล้เคียง

                     10. สวนป่า วางแผนและจัดการกับพื้นที่สวนป่าให้สอดคล้อง กับหลักการรายละเอียด 1 - 9 จัดระเบียบที่เป็นประโยชน์ด้านสังคมและเศรษฐกิจ สร้างความพึงพอใจให้กับประชากรโลกด้านการส่งเสริมฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ

              การประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

              ซึ่งในการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติของการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน ที่ยึดหลักการเกษตรกรรมยั่งยืนมี 9 ประการ อันได้แก่ 1) การใช้ประโยชน์และพัฒนาภูมิปัญญาเพื่อใช้ในระบบการผลิตยางพารา 2) ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีบทบาทหลักในการพัฒนาความรู้และการวิจัยทางการผลิตยาง 3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราใช้ทรัพยากรจากภายใน(พื้นที่/ระบบ)และลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก(พื้นที่/ระบบ) 4) หลีกเลี่ยงและปฏิเสธการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตยางพารา 5) ให้ความสำคัญสูงสุดในการปรับปรุงบำรุงดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

              6) เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางพารา สร้างความหลากหลายของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรในไร่นา และผสมผสานกิจกรรมการผลิตให้เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันอย่างสูงสุด 

              7)ควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ และวิธีการซึ่งไม่ใช้สารเคมีรูปแบบต่างๆ ควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ และวิธีการซึ่งไม่ใช้สารเคมีรูปแบบต่างๆ

              8) ปฏิบัติต่อธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตอื่นด้วยความเคารพและ 

              9) เอื้ออำนวยให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราและชุมชนสามารถพัฒนาตนเองได้โดยปราศจากการครอบงำจากภายนอก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A             

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)  ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ