หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ป้องกันกำจัดศัตรูยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-DGDJ-923A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ป้องกันกำจัดศัตรูยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนยางพารา


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการป้องกันกำจัดศัตรูยางพารา โดยผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน วิธีการ ผลกระทบและหลักความปลอดภัยและป้องกันอันตรายในวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูยางพารา สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค อาการของโรค การแพร่ระบาดของโรคที่เกิดในใบและฝักของยางพารา และวิธีการป้องกันกำจัดโรคที่เกิดในใบและฝักของยางพารา ในลำต้นและกิ่งก้านของยางพาราและในราก สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในสวนยางพาราอันก่อให้เกิดอาการผิดปกติของยางพารา อาการผิดปกติและวิธีการป้องกันรักษาอาการผิดปกติของยางพาราแต่ละอาการที่เกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ชนิด วงจร ลักษณะอาการ การแพร่ระบาดและวิธีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูยางพารา และมีทักษะได้แก่ สามารถเตรียมและเลือกวัสดุอุปกรณ์เพื่อป้องกันกำจัดโรคแต่ละโรคในใบและฝักของยางพารา โรคที่เกิดขึ้นในลำต้น กิ่งก้าน และโรคที่เกิดในรากของยางพาราได้อย่างถูกต้อง สามารถเตรียมอุปกรณ์ในการป้องกันรักษาอาการผิดปกติของยางพาราแต่ละอาการที่เกิดจากสภาพแวดล้อมได้อย่างถูกต้อง และสามารถเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูยางพาราได้อย่างถูกต้อง สามารถป้องกันกำจัดโรคแต่ละโรคที่เกิดในใบและฝัก ในลำต้น กิ่งก้าน และรากยางพาราได้อย่างถูกวิธี สามารถป้องกันรักษาอาการผิดปกติของยางพาราแต่ละอาการที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง และสามารถป้องกันกำจัดแมลงศัตรูยางพาราได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2560 พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B161

ป้องกันกำจัดศัตรูยางพาราและผลกระทบจากศัตรูยางพารา

1. อธิบายวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูยางพาราได้

B161.01 196332
B161

ป้องกันกำจัดศัตรูยางพาราและผลกระทบจากศัตรูยางพารา

2. อธิบายผลกระทบวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูยางพาราได้

B161.02 196333
B161

ป้องกันกำจัดศัตรูยางพาราและผลกระทบจากศัตรูยางพารา

3. อธิบายหลักความปลอดภัยและป้องกันอันตรายได้

B161.03 196334
B161

ป้องกันกำจัดศัตรูยางพาราและผลกระทบจากศัตรูยางพารา

4. ดำเนินการกำจัดศัตรูยางพาราและผลกระทบได้อย่างถูกวิธี

B161.04 196335
B162

ป้องกันกำจัดโรคใบและฝักยางพารา

1. อธิบายโรคที่เกิดในใบและฝักของยางพาราได้ 

B162.01 196336
B162

ป้องกันกำจัดโรคใบและฝักยางพารา

2. อธิบายเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแต่ละโรคในใบและฝักของยางพาราได้

B162.02 196337
B162

ป้องกันกำจัดโรคใบและฝักยางพารา

3. อธิบายอาการของโรคแต่ละโรคที่เกิดในใบและฝักของยางพาราได้

B162.03 196338
B162

ป้องกันกำจัดโรคใบและฝักยางพารา

4. อธิบายการแพร่ระบาดของโรคแต่ละโรคที่เกิดในใบและฝักของยางพาราได้ 

B162.04 196339
B162

ป้องกันกำจัดโรคใบและฝักยางพารา

5. อธิบายวิธีป้องกันกำจัดโรคแต่ละโรคที่เกิดในใบและฝักของยางพาราได้

B162.05 196340
B162

ป้องกันกำจัดโรคใบและฝักยางพารา

6. เลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคแต่ละโรคที่เกิดในใบและฝักของยางพาราได้อย่างถูกต้อง

B162.06 196341
B162

ป้องกันกำจัดโรคใบและฝักยางพารา

7. ดำเนินการป้องกันกำจัดโรคแต่ละโรคที่เกิดในใบและฝักของยางพาราได้อย่างถูกวิธี

B162.07 196342
B163

ป้องกันกำจัดโรคลำต้นและกิ่งก้านยางพารา

1. อธิบายโรคที่เกิดในลำต้นและกิ่งก้านของยางพาราได้

B163.01 196346
B163

ป้องกันกำจัดโรคลำต้นและกิ่งก้านยางพารา

2. อธิบายเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแต่ละโรคในลำต้นและกิ่งก้านของยางพาราได้

B163.02 196347
B163

ป้องกันกำจัดโรคลำต้นและกิ่งก้านยางพารา

3. อธิบายอาการของโรคแต่ละโรคที่เกิดในลำต้นและกิ่งก้านของยางพาราได้

B163.03 196348
B163

ป้องกันกำจัดโรคลำต้นและกิ่งก้านยางพารา

4. อธิบายการแพร่ระบาดของโรคแต่ละโรคที่เกิดในลำต้นและกิ่งก้านของยางพาราได้ 

B163.04 196349
B163

ป้องกันกำจัดโรคลำต้นและกิ่งก้านยางพารา

5. อธิบายวิธีป้องกันกำจัดโรคแต่ละโรคที่เกิดในลำต้นและกิ่งก้านของยางพาราได้

B163.05 196350
B163

ป้องกันกำจัดโรคลำต้นและกิ่งก้านยางพารา

6. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคแต่ละโรคที่เกิดในลำต้นและกิ่งก้านของยางพาราได้อย่างถูกต้อง

B163.06 196351
B163

ป้องกันกำจัดโรคลำต้นและกิ่งก้านยางพารา

7. ดำเนินการป้องกันกำจัดโรคแต่ละโรคที่เกิดในลำต้นและกิ่งก้านของยางพาราได้อย่างถูกวิธี

B163.07 196352
B164

ป้องกันกำจัดโรครากยางพารา

1. อธิบายโรคที่เกิดในรากของยางพาราได้

B164.01 196353
B164

ป้องกันกำจัดโรครากยางพารา

2. อธิบายเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแต่ละโรคในรากของยางพาราได้ 

B164.02 196354
B164

ป้องกันกำจัดโรครากยางพารา

3. อธิบายอาการของโรคแต่ละโรคที่เกิดในรากของยางพาราได้

B164.03 196355
B164

ป้องกันกำจัดโรครากยางพารา

4. อธิบายการแพร่ระบาดของโรคแต่ละโรคที่เกิดในรากของยางพาราได้

B164.04 196356
B164

ป้องกันกำจัดโรครากยางพารา

5. อธิบายวิธีป้องกันกำจัดโรคแต่ละโรคที่เกิดในรากของยางพาราได้

B164.05 196357
B164

ป้องกันกำจัดโรครากยางพารา

6. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคแต่ละโรคที่เกิดในรากของยางพาราได้อย่างถูกต้อง

B164.06 196358
B164

ป้องกันกำจัดโรครากยางพารา

7. ดำเนินการป้องกันกำจัดโรคแต่ละโรคที่เกิดในรากของยางพาราได้อย่างถูกวิธี

B164.07 196359
B165

ป้องกันกำจัดอาการผิดปกติของยางพาราที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสม

1. อธิบายสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในสวนยางพาราอันก่อให้เกิดอาการผิดปกติของยางพาราได้

B165.01 196364
B165

ป้องกันกำจัดอาการผิดปกติของยางพาราที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสม

2. อธิบายอาการผิดปกติของยางพาราแต่ละอาการที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสมได้ 

B165.02 196365
B165

ป้องกันกำจัดอาการผิดปกติของยางพาราที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสม

3. อธิบายวิธีป้องกันอาการผิดปกติของยางพาราแต่ละอาการที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสมได้

B165.03 196366
B165

ป้องกันกำจัดอาการผิดปกติของยางพาราที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสม

4. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันรักษาอาการผิดปกติของยางพาราแต่ละอาการที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง

B165.04 196367
B165

ป้องกันกำจัดอาการผิดปกติของยางพาราที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสม

5. ดำเนินการป้องกันรักษาอาการผิดปกติของยางพาราแต่ละอาการที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสมได้อย่างถูกวิธี

B165.05 196368
B166

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูยางพารา

1. อธิบายชนิดของแมลงศัตรูยางพาราได้

B166.01 196373
B166

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูยางพารา

2. อธิบายวงจรชีวิตของแมลงศัตรูยางพาราได้

B166.02 196374
B166

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูยางพารา

3. อธิบายลักษณะอาการที่เกิดจากการเข้าทำลายของแมลงศัตรูยางพาราได้ 

B166.03 196375
B166

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูยางพารา

4. อธิบายการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูยางพาราได้ 

B166.04 196376
B166

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูยางพารา

5. อธิบายวิธีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูยางพาราได้

B166.05 196377
B166

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูยางพารา

6. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูยางพาราได้อย่างถูกต้อง

B166.06 196378
B166

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูยางพารา

7. ดำเนินการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูยางพาราโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกวิธี

B166.07 196379

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) ศัตรูยางพาราและผลกระทบศัตรูยางพารา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการป้องกันกำจัดศัตรูยางพารา

2)  มีทักษะในการสังเกต การเตรียม แยกความแตกต่าง การดำเนินการ และประเมินแนวทางการปฏิบัติงานการป้องกันกำจัดศัตรูยางพาราได้แก่ ป้องกันและกำจัดโรคใบ ฝัก ลำต้น กิ่งก้าน และรากยางพารา อาการผิดปกติของยางพาราที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสมและ และแมลงศัตรูยางพารา

3)  มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการป้องกันกำจัดศัตรูยางพาราอย่างถูกต้อง

4)  มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ในการป้องกันกำจัดโรคใบและฝักยางพารา

2) มีความรู้ในการป้องกันกำจัดโรคลำต้นและกิ่งก้านยางพารา

3) มีความรู้ในการป้องกันกำจัดโรครากยางพารา

4) มีความรู้ในการป้องกันกำจัดอาการผิดปกติของยางพาราที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในสวนยางพาราไม่เหมาะสม

5) มีความรู้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูยางพารา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3) ผลการสอบข้อเขียน

              4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน

              2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้นที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน

              3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด

       (ง)  วิธีการประเมิน

              1) การสอบข้อเขียน

              2) การสอบสัมภาษณ์

              3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการการป้องกันกำจัดศัตรูยางพารา ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ก) คำแนะนำ

              N/A

       (ข) คำอธิบายรายละเอียด

              1) เชื้อสาเหตุ หมายถึง เชื้อที่เป็นต้นเหตุในการก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ในยางพารา

              2) อาการของโรค หมายถึง ลักษณะอาการของต้นยางพาราที่แสดงออกมา เนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนั้น ๆ

              3) การแพร่ระบาดของโรค หมายถึง ลักษณะการแพระกระจากของเชื้อพาหะในต้นยางที่เป็นโรค ที่สารมารถแพร่กระจายไปยังยางพาราต้นอื่นได้ เช่น การแพร่ระบาดโดยลม ฝน น้ำค้าง การเสียดสีระหว่างต้นยาง และการสัมผัสขณะทำงานในแปลง เป็นต้น

              4) การป้องกันกำจัดโรค หมายถึง วิธีการหรือหนทางที่พยายามป้องกันและรับมือกับโรคที่เกิดในยางพารา เพื่อให้ต้นยางพาราที่ปลูกได้รับผลกระทบอันจะเกิดจากโรคนั้น ๆ น้อยที่สุด

              5) โรคใบและฝัก ได้แก่ โรคราแป้ง โรคใบจุดนูน โรคใบจุดก้างปลา

                     5.1 โรคราแป้ง (Powdery mildew) ระบาดบนใบยางอ่อนที่แตกออกมาใหม่ภายหลังจากการผลัดใบประจำปี จึงเป็นสาเหตุให้ใบยางร่วงอีกครั้งหนึ่งและกิ่งแขนงบางส่วนอาจแห้งตาย ความรุนแรงของโรคจะเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการผลัดใบของต้นยาง อายุใบ ความต้านทานโรคของพันธุ์ยาง สภาพพื้นที่ของแปลงปลูก และสภาพอากาศในช่วงที่ต้นยางผลิใบใหม่ โรคนี้นอกจากทำให้เกิดอาการทางใบแล้วยังทำให้ดอกร่วง สูญเสียเมล็ดในการขยายพันธุ์ โดยมีเชื้อรา Oidium heveae เป็นเชื้อสาเหตุของโรค เชื้อราเข้าทำลายใบอ่อน ทำให้ใบยางบิดงอ เน่าดำและร่วง ในระยะใบเพสลาดจะเกิดเป็นแผลขนาดค่อนข้างใหญ่และมีขอบเขตไม่แน่นอน บริเวณแผลพบกลุ่มเส้นใยและสปอร์เชื้อราสีขาวเทาคล้ายผงแป้ง เนื้อเยื่อบริเวณที่เชื้อเจริญจะค่อยๆเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลอ่อน ถ้าเชื้อราเข้าทำลายดอกยางจะทำให้ดอกร่วง จะระบาดรุนแรงในช่วงยางผลิใบใหม่ ในสภาพอากาศเย็น ความชื้นสูง มีหมอกในตอนเช้า หรือมีฝนตกปรอย ๆ สลับกับแสงแดด เชื้อแพร่ระบาดได้ดีโดยลม

                     5.2 โรคใบจุดนูน (Colletotrichum leaf spot) ระบาดกับต้นยางได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนกระทั่งเจริญเติบโตเต็มที่สามารถเข้าทำลายใบและกิ่งก้านที่มีสีเขียว บางครั้งกิ่งก้านเป็นโรครุนแรงมากจนทำให้ยอดแห้งตายไปด้วย โดยมีเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เป็นเชื้อสาเหตุของโรค เชื้อจะเริ่มทำลายที่ปลายใบเข้ามายังโคนใบ เกิดเป็นแผลสีน้ำตาลเข้ม ทำให้ใบผิดรูปผิดร่าง เหี่ยวแห้งและร่วงหล่นเหลือแต่ก้านใบ ใบที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีความต้านทานต่อการเข้าทำลายตามธรรมชาติ จึงพบอาการจุดแผลบนใบจำนวนมาก จุดแผลมีลักษณะกลมสีน้ำตาลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร ขอบแผลมีสีเหลือง เมื่อใบมีอายุมากขึ้นจุดเหล่านี้จะนูนจนสังเกตเห็นได้ชัด ถ้าโรคระบาดรุนแรงในแปลงกล้ายางจะทำให้ใบร่วงโกร๋นเหลือแต่ลำต้น ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดตายาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือก การระบาดบนต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วอาจมีผลต่อผลผลิต เนื่องจากเชื้อราทำให้เกิดใบร่วงซ้ำ ๆ กันจนเป็นผลทำให้เกิดการตายของยอดอ่อน เชื้อจะเจริญลงมาเข้าทำลายส่วนตาและเจริญเข้าไปในลำต้น ทำให้กิ่งแขนงแห้งตาย หากเป็นรุนแรง ทำให้ลำต้นแห้งตายได้ ในช่วงที่มีความชื้นสูงอาจพบกลุ่มสปอร์ของเชื้อสีส้มอ่อนหรือสีชมพูบนแผล เชื้อจะแพร่ระบาดโดยสปอร์ที่แพร่กระจายโดยลมและน้ำฝนกระเด็นไป

                     5.3 โรคใบจุดก้างปลา (Corynespora leaf disease) มีเชื้อรา Corynespora cassiicola เป็นเชื้อสาเหตุของโรค โดยเชื้อราเข้าทำลายใบได้ทุกระยะ ช่วงใบอ่อนจะอ่อนแอต่อเชื้อมาก อาการบนใบมีตั้งแต่จุดแผลลักษณะกลม หรือรูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1-8 มิลลิเมตร จนถึงแผลขนาดใหญ่ กลางแผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม และมีวงสีเหลืองล้อมรอบรอยแผล เส้นใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ มีลักษณะคล้ายก้างปลา ทำให้ใบร่วง ถ้าเชื้อเข้าทำลายที่เส้นใบย่อย ใบจะไม่หลุดร่วง จึงพบเห็นลักษณะคล้ายก้างปลาอย่างชัดเจนบนใบ ถ้าโรคระบาดในระดับไม่รุนแรงจะแสดงแค่อาการใบจุด แต่ในกรณีที่ระบาดรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนไหม้ แห้งเหี่ยว ใบร่วง เมื่อแตกยอดใหม่ก็จะถูกเชื้อเข้าทำลายและใบร่วงซ้ำอีก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโตและเกิดอาการตายจากยอด เชื้อสามารถทำให้เกิดรอยแผลสีดำบนก้านใบ เป็นสาเหตุให้เกิดใบร่วง แปลงกล้ายางที่เกิดโรคระบาดจะไม่สามารถติดตาได้ตามกำหนดเวลา ในระยะใบยางแก่อาจพบแผลมีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด สปอร์ของเชื้อราแพร่ระบาดโดยลม หรือน้ำฝนกระเด็น พบสปอร์ได้ตลอดทั้งปี สภาพอากาศที่ร้อนชื้นจะเหมาะสมต่อการแพร่ระบาด

              6) โรคกิ่งก้านและลำต้น ได้แก่ โรคเส้นดำ โรคราสีชมพู

                     6.1 โรคราสีชมพู (Pink disease) เข้าทำลายส่วนเปลือกของลำต้นและกิ่งแขนงต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป หรือเมื่อต้นยางเริ่มสร้างทรงพุ่ม โดยเฉพาะตรงบริเวณคาคบในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง ทำให้ต้นยางแคระแกร็น ไม่สามารถเปิดกรีดได้เมื่อถึงกำหนด ถ้าโรคเข้าทำลายคาคบอย่างรุนแรง อาจทำให้ต้นยางยืนต้นตาย โดยมีเชื้อรา Corticium salmonicolor เป็นเชื้อสาเหตุของโรค อาการเริ่มแรกเปลือกบริเวณคาคบหรือกิ่งก้านจะมีรอยปริ มีน้ำยางไหลติดอยู่ตามเปลือก เมื่ออากาศชื้นจะเห็นเส้นใยสีขาวที่ผิวเปลือกยาง แผลจะขยายเป็นบริเวณกว้างออกไป เมื่อเชื้อเจริญเต็มที่จะเป็นแผ่นสีชมพู บางกรณีมีตุ่มเล็ก ๆสีแดงส้มปรากฏอยู่ประปราย เมื่อกิ่งก้านถูกทำลายอย่างรุนแรง ส่วนปลายกิ่งจะแห้งตาย และมีกิ่งอ่อนแตกออกมาใต้รอยแผลเพื่อเจริญเติบโตขึ้นใหม่ หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมแก่การเจริญลุกลาม เชื้อราจะพักตัว และสีชมพูที่เคยปรากฏจะซีดจนเป็นสีขาว เมื่อถึงฤดูฝนปีถัดไปเชื้อราจะเริ่มเจริญลุกลามขึ้นใหม่อีก โรคจะระบาดรุนแรงในสภาพอากาศชุ่มชื้น มีปริมาณน้ำฝน เมื่ออากาศแห้งเชื้อราจะพักตัวและเจริญลุกลามต่อในฤดูฝนปีถัดไป เชื้อระบาดโดยลมและฝน

                     6.2 โรคเส้นดำ (Black stripe) เป็นโรคทางลำต้นที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากทำลายหน้ากรีดซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บเกี่ยวผลผลิต จึงไม่สามารถกรีดยางซ้ำบนหน้าที่เป็นเปลือกงอกใหม่ได้ ทำให้ระยะเวลาการให้ผลผลิตสั้นลง โรคนี้แพร่ระบาดในพื้นที่ที่เกิดโรคใบร่วงและฝักเน่าที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราเป็นประจำ โดยมีเชื้อรา Phytophthora botryosa และ P. palmivora เป็นเชื้อสาเหตุ มีลักษณะอาการคือ เหนือรอยกรีดจะมีลักษณะช้ำ ต่อมาบริเวณรอยช้ำจะเป็นรอยบุ๋มสีดำ และขยายตัวตามยาวบริเวณที่ไม่เป็นโรคจะมีเปลือกงอกใหม่หนาเพิ่มขึ้น จึงมองเห็นรอยบุ๋มของส่วนที่เป็นโรคชัดเจนเมื่อเฉือนเปลือกออกดู จะพบรอยบุ๋มนั้นมีลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้เป็นรอยยาวตามแนวยืนของลำต้น หากหน้ากรีดยางเป็นโรครุนแรง ทำให้เปลือกบริเวณที่เป็นโรคปริ มีน้ำยางไหลตลอดเวลา เปลือกที่เป็นโรคเน่าหลุดออก แพร่ระบาดโดยเชื้อบนฝักและใบที่เป็นโรคถูกชะล้างโดยน้ำฝนลงมาที่หน้ากรีด พบระบาดรุนแรงเมื่อกรีดยางติดต่อกันในฤดูฝนโดยไม่มีการป้องกันรักษาหน้ากรีด หน้ากรีดจะเปียกอยู่ตลอดเวลา เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของเชื้อ

              7) โรคราก ได้แก่ โรครากขาว โรครากแดง โรครากน้ำตาล

                     7.1 โรครากขาว (White root disease) มีเชื้อรา Rigidoporus lignosus เป็นเชื้อสาเหตุของโรค ลักษณะอาการของโรคพบว่า เมื่อระบบรากถูกทำลาย พุ่มใบจะแสดงอาการผิดปกติ ใบจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง โดยจะสังเกตเห็นเฉพาะบางกิ่ง แต่ในที่สุดจะเหลืองทั้งทรงพุ่มและร่วง กิ่งแขนงบางส่วนแห้งตาย เมื่อขุดดูรากจะพบรากมีผิวขรุขระ และมีส่วนของเชื้อราติดอยู่ ซึ่งรากยางปกติจะมีผิวเรียบ สีเนื้อ ลักษณะสำคัญที่ใช้ในการวินิจฉัยโรครากขาว คือ (1) ลักษณะเส้นใยซึ่งจับอยู่ที่ผิวเปลือกราก โรครากขาวจะปรากฏเส้นใยสีขาวเจริญแตกสาขาปกคลุมและเกาะติดแน่นกับผิวราก เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูนสีเหลืองซีด (2) ลักษณะเนื้อไม้ของรากที่เป็นโรค เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคในระยะแรกจะแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีด ในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม ต่อมาจะยุ่ยและเบา ถ้าอยู่ในที่ชื้นแฉะจะอ่อนนิ่ม (3) ลักษณะดอกเห็ดที่เกิดตรงโคนต้น หรือตอไม้เหนือพื้นดิน ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียว หรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ ผิวด้านบนเป็นสีเหลืองส้ม โดยมีสีเข้มอ่อนเรียงสลับกันเป็นวง ผิวด้านล่างมีสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล ขอบดอกเห็ดมีสีขาว โดยเชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูง สามารถแพร่กระจายได้ 2 ทาง คือ (1) โดยการสัมผัสกันระหว่างรากที่เป็นโรคกับรากของต้นปกติ ทำให้เชื้อเจริญลุกลามต่อไป (2) โดยสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม เมื่อมีความชื้นพอเพียง จะเจริญลุกลามไปยังระบบรากกลายเป็นแหล่งเชื้อโรคแหล่งใหม่ต่อไป

                     7.2 โรครากแดง (Red root disease) มีเชื้อรา Ganoderma pseudoferreum เป็นเชื้อสาเหตุของโรค ลักษณะอาการของโรคพบว่า เมื่อระบบรากถูกทำลาย พุ่มใบจะแสดงอาการผิดปกติ ใบจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง โดยจะสังเกตเห็นเฉพาะบางกิ่ง แต่ในที่สุดจะเหลืองทั้งทรงพุ่มและร่วง กิ่งแขนงบางส่วนแห้งตาย เมื่อขุดดูรากจะพบรากมีผิวขรุขระ และมีส่วนของเชื้อราติดอยู่ ซึ่งรากยางปกติจะมีผิวเรียบ สีเนื้อ ลักษณะสำคัญที่ใช้ในการวินิจฉัยโรครากแดง คือ (1) ลักษณะเส้นใยซึ่งจับอยู่ที่ผิวเปลือกราก โดยส่วนรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปกคลุมด้วยเส้นใยสีน้ำตาลแดง ซึ่งส่วนปลายของเส้นใยที่กำลังเจริญจะเป็นสีขาวครีม ลักษณะเส้นใยแก่จะจับกันเป็นแผ่นสีน้ำตาลแดงเป็นมันวาวเห็นได้ชัดเจนเมื่อล้างด้วยน้ำ (2) ลักษณะเนื้อไม้ของรากที่เป็นโรค รากมีลักษณะขรุขระ เนื่องจากมีก้อนดินและหินเกาะติดอยู่ เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคจะเป็นสีน้ำตาลซีด และกลายเป็นสีเนื้อในระยะต่อมา วงปีของเนื้อไม้จะหลุดแยกออกจากกันได้ง่าย (3) ลักษณะดอกเห็ดที่เกิดตรงโคนต้น หรือตอไม้เหนือพื้นดิน ดอกเห็ดเป็นแผ่นแข็ง ด้านบนเป็นรอยย่นสีน้ำตาลแดงเข้ม ด้านล่างมีสีขี้เถ้า ขอบดอกเห็ดมีสีขาวครีม โดยเชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูง สามารถแพร่กระจายได้ 2 ทาง คือ (1) โดยการสัมผัสกันระหว่างรากที่เป็นโรคกับรากของต้นปกติ ทำให้เชื้อเจริญลุกลามต่อไป (2) โดยสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม เมื่อมีความชื้นพอเพียง จะเจริญลุกลามไปยังระบบรากกลายเป็นแหล่งเชื้อโรคแหล่งใหม่ต่อไป

                     7.3 โรครากน้ำตาล (Brown root disease) มีเชื้อรา Phellinus noxius เป็นเชื้อสาเหตุของโรค ลักษณะอาการของโรคพบว่า เมื่อระบบรากถูกทำลาย พุ่มใบจะแสดงอาการผิดปกติ ใบจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง โดยจะสังเกตเห็นเฉพาะบางกิ่ง แต่ในที่สุดจะเหลืองทั้งทรงพุ่มและร่วง กิ่งแขนงบางส่วนแห้งตาย เมื่อขุดดูรากจะพบรากมีผิวขรุขระ และมีส่วนของเชื้อราติดอยู่ ซึ่งรากยางปกติจะมีผิวเรียบ สีเนื้อ ลักษณะสำคัญที่ใช้ในการวินิจฉัยโรครากน้ำตาล คือ (1) ลักษณะเส้นใยซึ่งจับอยู่ที่ผิวเปลือกราก โรครากน้ำตาลจะปรากฏเส้นใยสีน้ำตาลปนเหลืองเป็นขุยเหมือนกำมะหยี่ปกคลุมผิวรากและเกาะยึดดินทรายไว้ ทำให้รากมีลักษณะขรุขระ เส้นใยเมื่อแก่จะเป็นแผ่นสีน้ำตาลดำ (2) ลักษณะเนื้อไม้ของรากที่เป็นโรค เนื้อไม้ที่เป็นโรคในระยะแรกจะเป็นสีน้ำตาลซีด ต่อมาจะปรากฏเส้นสีน้ำตาลเป็นเส้นเดี่ยวลายสลับฟันปลาอยู่ในเนื้อไม้ รากที่เป็นโรคมานาน เมื่อตัดตามขวางจะเห็นลายเส้นใยที่แทรกในเนื้อไม้มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง เนื้อไม้จะเบาและแห้ง (3) ลักษณะดอกเห็ดที่เกิดตรงโคนต้น หรือตอไม้เหนือพื้นดิน ดอกเห็ดจะเป็นแผ่นหนาและแข็ง ลักษณะครึ่งวงกลม ขนาดค่อนข้างเล็ก ผิวด้านบนเป็นรอยย่นเป็นวงสีน้ำตาลเข้ม ผิวด้านล่างเป็นสีเทา โดยเชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูง สามารถแพร่กระจายได้ 2 ทาง คือ (1) โดยการสัมผัสกันระหว่างรากที่เป็นโรคกับรากของต้นปกติ ทำให้เชื้อเจริญลุกลามต่อไป (2) โดยสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม เมื่อมีความชื้นพอเพียง จะเจริญลุกลามไปยังระบบรากกลายเป็นแหล่งเชื้อโรคแหล่งใหม่ต่อไป

              8) แมลงศัตรูยางพารา ได้แก่ ปลวก หนอนทราย

                     8.1 หนอนทราย (Cockchafers) เป็นตัวหนอนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นศัตรูกัดกินและทำลายรากยาง ทำให้ต้นยางตายเป็นหย่อมๆ พบระบาดที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2541 เป็นตัวหนอนของแมลงนูนหลวงซึ่งเป็นด้วงปีกแข็ง มีลักษณะและวงจรชีวิต คือ ตัวเมียวางไข่ในสวนยาง อาจเป็นฟองเดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่มก้อน และฟักเป็นตัวหนอนในอีก 2-3 สัปดาห์ต่อมา ตัวหนอนมีสีขาว รูปร่างโค้งงอเหมือนตัว C ลำตัวยาว 3-5 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในดิน กินอินทรียวัตถุและรากพืชเป็นอาหาร เมื่อเจริญเต็มที่แล้วจึงขุดดินเป็นโพรงลึกลงไป และสร้างผนังหนาห่อหุ้มตัวเพื่อเข้าดักแด้ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดใหญ่ ตัวอ้วน ป้อมและสั้น ลำตัวยาว 3-5 เซนติเมตร กลางวันหลบซ่อนในดิน ออกบินหากินช่วงพลบค่ำ เข้าทำลายโดยการกัดกินรากยางในระยะต้นเล็กอายุ 6-12 เดือน ทำให้ต้นยางมีอาการใบเหลืองและเหี่ยวแห้งตาย มักพบในสวนยางปลูกแทน ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ที่รากของตอยางเก่า และออกมากัดกินรากยางอ่อนและพืชร่วม พืชแซมชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในแปลงยาง เช่น สับปะรด หวาย ลองกอง ทุเรียน มังคุด เนียงนก มะฮอกกานี รวมทั้งหญ้าคา ยังไม่พบความเสียหายในต้นยางที่มีอายุมาก แต่พบว่าตอยางเก่าที่อยู่ในสวนยางจะเป็นแหล่งอาศัย และเป็นแหล่งอาหารของแมลงชนิดนี้ ระบาดในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พบระบาดในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายในเขตจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช และสงขลา

                     8.2 ปลวก (Termites) ในสวนยางมีปลวกหลายชนิดอาศัยอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยกัดกินรากพืชที่ตายแล้วเป็นอาหาร และให้ประโยชน์ในการสร้างอินทรียวัตถุลงในดิน มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ทำลายรากยางสด คือ Coptotermes curvignathus มีลักษณะและวงจรชีวิต คือ ปลวกเป็นแมลงขนาดเล็ก สร้างรังอยู่ในดิน มีชีวิตรวมกันอยู่แบบสังคม มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปตามวรรณะ ปลวกที่ทำลายต้นยางเป็นวรรณะนักรบ สังเกตได้จากกรามที่มีขนาดใหญ่ เมื่อใช้กรามงับสิ่งของจะขับของเหลวคล้ายน้ำนมออกมาจากส่วนหัวตอนหน้าทันที ปลวกแต่ละรังมีจำนวนนับพันนับหมื่นตัว โดยฟักออกจากไข่ และเจริญเป็นตัวเต็มวัยโดยเปลี่ยนรูปร่างทีละน้อย และไม่ผ่านดักแด้ ต้นยางที่ปลวกทําลาย ส่วนมากจะมีอาการใบเหลืองเหมือนโรคราก ทําลายต้นยางได้ทุกระยะ โดยการกัดกินรากและโคนต้น ต้นยางที่ปลูกใหม่จะถูกทําลายอย่างรวดเร็ว ต้นยางใหญ่ที่ถูกปลวกทําลายจะไม่สามารถมองเห็นลักษณะการทําลายจากภายนอกได้จนกระทั่งต้นยางโค่นล้มเพราะถูกลมพัดแรง หรือต้องขุดรากดูจึงจะเห็นโพรงปลวกที่โคนราก การระบาดพบมากในพื้นที่ที่เป็นดินลูกรัง

              9) อาการที่เกิดจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ อาการเปลือกแห้งของยางพารา (Tapping Panel Dryness) เป็นลักษณะความผิดปกติของการไหลของน้ำยาง เกิดขึ้นบริเวณหน้ากรีดทำให้ผลผลิตลดลง การเกิดอาการเปลือกแห้งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค จึงไม่ถ่ายทอดจากต้นสู่ต้น แต่เกิดจากความผิดปกติทางสรีรวิทยา มีสาเหตุหลักมาจาก พันธุ์ยาง ระบบกรีด การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง สภาพแวดล้อม รวมทั้งดินที่ปลูก ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน โดยมีลักษณะอาการ ดังนี้

                     9.1 ผลผลิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ระยะแรกผลผลิตต่อต้นเพิ่มสูงขึ้นมาก น้ำยางหยุดไหลช้าความเข้มข้นลดลง หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว มีน้ำยางบนรอยกรีดแห้งเป็นช่วง ๆ และหยุดไหลในที่สุด

                     9.2 ต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้ง จะมีขนาดลำต้นใหญ่กว่าต้นปกติมาก เนื่องจากต้นยางไม่มีการสร้างน้ำยาง สารอาหารที่ต้นยางสร้างขึ้นจะถูกนำไปใช้ในการเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียว

                     9.3 เปลือกด้านนอกเป็นปุ่มปมขนาดเล็ก-ใหญ่กระจายบริเวณลำต้น เป็นเปลือกงอกใหม่ หลังจากพักกรีดนาน เนื่องจากต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้ง

                     9.4 เปลือกแตกและล่อน พบกับต้นยางที่พักกรีดนาน เปลือกงอกใหม่จะดันเปลือกเก่า ซึ่งไม่มีน้ำยางออกทางด้านนอก ทำให้เปลือกแตกและล่อนเป็นแผ่น เปลือกงอกใหม่แม้จะมีน้ำยางไหลบ้าง แต่เป็นเพียงระยะเวลาสั้น

                     9.5 ลำต้นบิดเบี้ยว เห็นได้จากส่วนเปลือกลำต้นบิดเบี้ยวไปจากปกติมากหลังจากพักกรีดระยะเวลาหนึ่งแล้ว

                     9.6 รอยแผลบนรอยกรีดลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล เมื่อขูดเปลือกชั้นนอกออก จะเห็นรอยแผลสีน้ำตาลกระจายลงไปถึงรอยเท้าช้าง ขนาดและจำนวนของแผลขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ

                     9.7 อาการผิดปกติระดับเซลล์ ต้องตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยเกิดเซลล์อุดตันภายในท่อน้ำยาง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ