หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลือกและเตรียมพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-OSJV-920A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลือกและเตรียมพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนยางพารา


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการเลือกพื้นที่ปลูกและการเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน ลักษณะพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ และลักษณะเนื้อดิน สมบัติทางเคมีของดินที่เหมาะสมกับการปลูกยางพาราอธิบายปลูกสร้างในพื้นที่แห้งแล้งได้และลักษณะการปลูกสร้างสวนยางพาราที่ไม่ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำได้ ตลอดจนวิธีการใช้เครื่องจักรในการตัดโค่นสวนยางพาราและไถปรับพื้นที่ปลูกยางพาราได้ สามารถอธิบายวิธีการโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นแบบขุดรากและแบบเหลือตอได้ และมีทักษะได้แก่ สามารถประเมินสภาพพื้นที่ที่ปลูกยางพารา สามารถตัดสินใจเลือกสภาพพื้นที่โดยพิจารณาตามลักษณะพื้นที่ ระดับความลึกของดิน ระดับน้ำใต้ดิน และตามลักษณะภูมิประเทศในการปลูกสร้างสวนยางพาราได้อย่างเหมาะสม สามารถระบุข้อมูลสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ที่จะปลูกยางพาราได้ สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนการวิเคราะห์ดินที่เหมาะสมกับการปลูกสร้างสวนยางได้อย่างถูกต้อง ได้แก่ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างดิน รวบรวมข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราและตรวจสอบสมบัติทางเคมีของดินเบื้องต้น และสามารถจัดการแหล่งน้ำสำหรับการปลูกสร้างสวนยางพาราได้รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาที่พบเป็นประจำในการปฏิบัติงานได้ ตลอดจนสามารถเลือกและเตรียมเครื่องจักรกล เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการโค่นต้นยางพาราได้อย่างเหมาะสม สามารถเช็คสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ สามารถระบุข้อควรระวังในการใช้เครื่องจักรกลในการตัดโค่นสวนยางพาราได้ สามารถไถปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง และสามารถตรวจสภาพพื้นที่และจัดการเศษซากได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2560 พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B131

พิจารณาลักษณะพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราตามลักษณะภูมิประเทศ

1. อธิบายลักษณะพื้นที่ที่เหมะสมกับการปลูกยางพาราได้

B131.01 196166
B131

พิจารณาลักษณะพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราตามลักษณะภูมิประเทศ

2. อธิบายวิธีการปลูกสร้างในพื้นที่แห้งแล้งได้

B131.02 196167
B131

พิจารณาลักษณะพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราตามลักษณะภูมิประเทศ

3. ประเมินสภาพพื้นที่ที่จะปลูกยางพาราได้อย่างถูกต้อง

B131.03 196168
B131

พิจารณาลักษณะพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราตามลักษณะภูมิประเทศ

4. ตัดสินใจเลือกพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราโดยพิจารณาตามระดับความลึกของดินและระดับน้ำใต้ดิน

B131.04 196169
B131

พิจารณาลักษณะพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราตามลักษณะภูมิประเทศ

5. ตัดสินใจเลือกพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราตามลักษณะภูมิประเทศได้อย่างเหมาะสม

B131.05 196170
B132

พิจารณาสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราตามลักษณะภูมิอากาศ

1. อธิบายสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการปลูกยางพาราได้

B132.01 196171
B132

พิจารณาสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราตามลักษณะภูมิอากาศ

2. ระบุข้อมูลสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ที่จะปลูกยางพาราได้

B132.02 196172
B132

พิจารณาสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราตามลักษณะภูมิอากาศ

3. ตัดสินใจเลือกพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราตามลักษณะภูมิอากาศได้อย่างเหมาะสม

B132.03 196173
B133

พิจารณาลักษณะดินที่จะปลูกสร้างสวนยางพารา

1. อธิบายลักษณะเนื้อดินที่เหมาะสมแก่การปลูกยางพาราได้

B133.01 196174
B133

พิจารณาลักษณะดินที่จะปลูกสร้างสวนยางพารา

2. อธิบายคุณสมบัติทางเคมีของดินที่เหมาะสมกับการปลูกยางพาราได้

B133.02 196175
B133

พิจารณาลักษณะดินที่จะปลูกสร้างสวนยางพารา

3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีที่สำคัญของดินได้อย่างถูกต้อง

B133.03 196176
B133

พิจารณาลักษณะดินที่จะปลูกสร้างสวนยางพารา

4. ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีของดินได้อย่างถูกวิธี

B133.04 196177
B133

พิจารณาลักษณะดินที่จะปลูกสร้างสวนยางพารา

5. ตรวจสอบสมบัติทางเคมีของดินเบื้องต้น เช่น ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารของพืชในดินได้อย่างถูกต้อง

B133.05 196178
B133

พิจารณาลักษณะดินที่จะปลูกสร้างสวนยางพารา

6. ตัดสินใจเลือกพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราโดยพิจารณาตามลักษณะพื้นที่และดิน

B133.06 196179
B134

พิจารณาสภาพแหล่งน้ำที่จะปลูกสร้างสวนยางพารา

1. อธิบายลักษณะการปลูกสร้างสวนยางพาราที่ไม่ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำได้

B134.01 196180
B134

พิจารณาสภาพแหล่งน้ำที่จะปลูกสร้างสวนยางพารา

2. สามารถจัดการแหล่งน้ำสำหรับการปลูกสร้างสวนยางพาราได้

B134.02 196181
B134

พิจารณาสภาพแหล่งน้ำที่จะปลูกสร้างสวนยางพารา

3. ตัดสินใจเลือกพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแหล่งน้ำได้อย่างเหมาะสม

B134.03 196182
B135

จัดเตรียมเครื่องจักรกลในการโค่นและปรับพื้นที่

1. อธิบายวิธีการใช้เครื่องจักรในการตัดโค่นสวนยางพารา

B135.01 196183
B135

จัดเตรียมเครื่องจักรกลในการโค่นและปรับพื้นที่

2. ระบุข้อควรระวังในการใช้เครื่องจักรในการตัดโค่นสวนยางพารา

B135.02 196184
B135

จัดเตรียมเครื่องจักรกลในการโค่นและปรับพื้นที่

3. ดำเนินการเช็คสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนการใช้งาน

B135.03 196185
B136

ตัดโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้น/เพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

1. อธิบายวิธีการโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นแบบขุดรากได้

B136.01 196186
B136

ตัดโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้น/เพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

2. อธิบายวิธีการโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นแบบเหลือตอได้

B136.02 196187
B136

ตัดโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้น/เพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

3. เตรียมเครื่องจักรกลที่ใช้ในการโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นด้วยวิธีการโค่นแบบขุดรากได้อย่างถูกต้อง

B136.03 196188
B136

ตัดโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้น/เพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

4. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นด้วยวิธีการโค่นแบบเหลือตอได้อย่างถูกต้อง

B136.04 196189
B136

ตัดโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้น/เพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

5. โค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นด้วยวิธีการโค่นแบบเหลือตอและแบบขุดรากได้อย่างถูกต้อง

B136.05 196190
B137

ปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา

1. อธิบายวิธีการใช้เครื่องจักรกลที่ใช้ในการไถปรับพื้นที่ปลูกยางพาราได้

B137.01 196191
B137

ปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา

2. อธิบายเครื่องจักรกลที่ใช้ในการไถปรับพื้นที่ปลูกยางพาราได้อย่างถูกต้อง

B137.02 196192
B137

ปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา

3. ดำเนินการไถปรับหน้าดินเพื่อปลูกสร้างสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง

B137.03 196193
B137

ปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา

4. ตรวจสภาพพื้นที่และจัดการเศษ ซากได้อย่างถูกต้อง

B137.04 196194

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) การวิเคราะห์สภาพพื้นที่ สภาพดินและแหล่งน้ำ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ ประเมินผลและการสรุปผล การเลือกพื้นที่ปลูกยางพารา การเตรียม และสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา

2) มีทักษะในการสังเกตการตัดสินใจ การตรวจสอบ และพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกพื้นที่ปลูกยางพาราได้แก่ปัจจัยภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ดิน แหล่งน้ำ

3) มีทักษะในการดำเนินการ ตรวจสอบ แยกความแตกต่าง เพื่อประเมินในการเตรียมพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราได้แก่ การใช้เครื่องจักรเพื่อปรับพื้นที่ การตัดโค่นต้นยางพาราเก่า และการปรับพื้นที่ เป็นต้น

4) มีทักษะในการสื่อสาร การติดต่อประสานงาน อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงาน หรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานในการเลือกพื้นที่ปลูกยางพารา การเตรียม พื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ในการพิจารณาพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

2) มีความรู้ในการพิจารณาสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

3) มีความรู้ในการพิจารณาลักษณะโครงสร้างเนื้อดินในพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

4) มีความรู้ในการเก็บตัวอย่างดินและตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีของดินเบื้องต้น เช่น ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารของพืชในดิน

5) มีความรู้ในการพิจารณาสภาพแหล่งน้ำในการเลือกพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

6) มีความรู้ในการโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นเพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา

7) มีความรู้ในการเตรียมเครื่องจักรกลที่ใช้ในการโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้น

8) มีความรู้ในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้น

9) มีความรู้ในการไถปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา

10) มีความรู้ในการใช้เครื่องจักรกลเพื่อไถปรับพื้นที่ปลูกยางพารา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3) ผลการสอบข้อเขียน

              4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน

              2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้นที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน

              3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด

       (ง) วิธีการประเมิน

              1) การสอบข้อเขียน

              2) การสอบสัมภาษณ์

              3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสมโดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงานและนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการการเลือกพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ก) คำแนะนำ

              N/A

       (ข) คำอธิบายรายละเอียด

              1) พื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกยางพารา / สภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูกยางพารา และลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยางพารา ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ และมีอิทธิพลต่อการให้ผลผลิต แต่เป็นสิ่งที่สามารถบังคับ ควบคุม เลือก แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงได้ยาก ดังนั้นในการปลูกสร้างสวนยางพาราต้องนำปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้มาพิจารณาเลือกพื้นที่ปลูก ได้แก่ ชนิดและสมบัติของดิน ความลึกของหน้าดิน ระดับน้ำใต้ดิน ความลาดชันของพื้นที่ โรคยางพารา ความรุนแรงของลม ส่วนลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยางพารา เป็นพื้นที่ราบ มีความลาดชันไม่เกิน 35 องศา หากปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชันเกินกว่า 15 องศา ต้องทำขั้นบันได หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร เป็นดินร่วนเหนียวหรือร่วนทราย ไม่มีชั้นหิน ชั้นดินดาน หรือชั้นกรวดอัดแน่นในระดับสูงกว่า 1 เมตร จากพื้นดิน การระบายน้ำดี ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร ไม่เป็นที่ลุ่มน้ำขังหรือพื้นที่นา พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 200 เมตร หากปลูกยางพาราในพื้นที่ที่มีความสูงเกินกว่านี้ จะทำให้การเจริญเติบโตช้า ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 ไม่ควรเป็นดินด่าง ดินเค็ม หรือดินเกลือ

              2) สภาพภูมิอากาศในพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา สภาพภูมิอากาศในพื้นที่ที่เหมาะต่อการปลูกยางพาราโดยพิจารณาจาก ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตก 120 - 150 วันต่อปี บางพื้นที่ซึ่งมีลักษณะดินและภูมิอากาศไม่เหมาะสมจำเป็นต้องมีการจัดการสวนยางอย่างถูกต้องจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่เกษตรต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอันเป็นการเพิ่มต้นทุน ซึ่งมีหลายวิธีดังนี้ 1) ปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อช่วยให้โครงสร้างของดินดีขึ้น มีความร่วนซุย สามารถอุ้มน้ำและรักษาความชื้นในดินได้ดี 2) ดูแลรักษาสวนยางก่อนเข้าฤดูแล้ง โดยการใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นยางในช่วงอายุ 2 ปีแรก หลังจากปลูก จะช่วยให้ดินเก็บรักษาความชื้นไว้ได้ในช่วงฤดูแล้งและทาปูนขาวบริเวณลำต้น เพื่อป้องกันลำต้นไหม้จากแสงแดด 3) ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางด้วยปุยเคมีร่วมปุ๋ยอินทรีย์ ตามคำแนะนำเพื่อให้ต้นยางสมบูรณ์แข็งแรง 4) สวนยางที่เปิดกรีดแล้ว ไม่ควรไถพรวนในระหว่างแถวยาง 5) กรณีที่ปลูกยางในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดีหรือเกิดน้ำท่วมขัง ควรขุดคูระบายน้ำ โดยขุดคูระบายน้ำให้ระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกจากระดับผิวดินมากกว่า 2 เมตร

              3) ลักษณะดิน สภาพพื้นที่และลักษณะดินที่เหมาะต่อการปลูกยางพารามีดังนี้ 1) เป็นพื้นที่ที่ความลาดชันไม่เกิน 35 องศา ถ้าความลาดชันเกิน 15 องศา การปลูกต้องทำแบบขั้นบันได 2) หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดีไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดาน 3 )ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร 4) เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงร่วนทราย ไม่เป็นดินเกลือหรือดินเค็ม 5) ไม่เป็นพื้นที่นาหรือที่ลุ่มน้ำขัง สีของดินควรมีสีสม่ำเสมอตลอดหน้าตัดดิน 6) ดินไม่มีชั้นกรวดอัดแน่นหรือแผ่นหินแข็งในระดับต่ำกว่าหน้าดินไม่ถึง 1 เมตร เพราะจะทำให้ต้นยางไม่สามารถใช้น้ำในระดับราดแขนงในฤดูแล้งได้ และหากช่วงแล้งยาวนานจะทำให้ต้นยางตายจากยอดลงไป 7) ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร ถ้าสูงกว่านี้อัตราการเจริญเติบโตของต้นยางจะลดลงและ 8) มีค่า pH ระหว่าง 4.5 - 5.5 ไม่เป็นดินด่าง

              4) สภาพแหล่งน้ำ

                     1) แหล่งน้ำ หมายถึง สระน้ำ บ่อน้ำตื้น น้ำบาดาล น้ำประปา น้ำภูเขา เป็นต้น ซึ่งต้องได้รับการประเมินคุณภาพน้ำตามเกณฑ์คุณภาพน้ำเพื่อการเกษตร แหล่งน้ำต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอกับความต้องการในแปลง อาจพิจารณาจากการรดน้ำต้นตอยางด้วยระบบสปริงเกอร์วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 1 ชั่วโมง และการใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     2) อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดทำระบบส่งน้ำ หมายถึง ปั๊มน้ำ ท่อส่งน้ำ ข้อต่อ หัวจ่ายน้ำ อุปกรณ์ตั้งเวลาการให้น้ำ เป็นต้น

                     3) ผังระบบส่งน้ำ หมายถึง ผังระบบส่งน้ำในแปลงประกอบด้วยที่ตั้งแหล่งน้ำเชื่อมโยงกับระบบสูบน้ำระบบจ่ายน้ำ และมีแรงดันน้ำที่เพียงพอ

                     4) บำรุงรักษาระบบส่งน้ำ หมายถึง การกำหนดตารางเวลาในการบำรุงรักษาระบบส่งน้ำและมีอุปกรณ์อะไหล่สำรองเตรียมพร้อมไว้ เช่น การตรวจสอบการรั่วไหลและติดขัดของระบบจ่ายน้ำควรทำอย่างทั่วถึงและทุกวัน การบำรุงรักษาปั้นน้ำตามคู่มือการใช้งาน เป็นต้น 

              5) การปรับพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับการปลูกสร้างสวนยางพารา เป็นการโค่นต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นบางชนิด โดยต้องทำการเผาปรน (ถางป่าแล้วเผา) เก็บเศษไม้และวัชพืชที่เหลือในพื้นที่ออกให้มากที่สุด เพื่อเป็นการกำจัดแหล่งแพร่เชื้อโรค โดยเฉพาะโรครากยาง และทำการไถพลิกหน้าดินและไถพรวนดินอย่างน้อย 2 ครั้ง ก่อนทำการปลูก

              6) วิธีการโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้น มีวิธีการโค่นล้ม 2 วิธี คือ การโค่นแบบขุดราก 

และการโค่นแบบเหลือตอ

              7) การโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นแบบขุดราก เป็นวิธีการที่ต้องอาศัยเครื่องจักรกลในการดันต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นให้ล้มไปในทางเดียวกัน โดยถอนรากขึ้นมาด้วย ได้แก่ รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ (Crawler) และรถขุด (Back hoe) ดำเนินการถางป่า ล้มไม้ ถอนตอ และกวาดรวมกอง แล้วจึงเผา เก็บเศษ และเกลี่ยปรับพื้นที่ แล้วจึงใช้รถแทรกเตอร์ล้อยาง (Farm tractor) ติดผานไถ 3 จาน หรือ 4 จาน ทำการไถบุกเบิก ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ติดผานไถ 7 จาน ทำการไถพรวน

              8) การโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นแบบเหลือตอ เป็นวิธีการตัดต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นให้เหลือตอ ซึ่งยังไม่ตาย อาจใช้เลื่อยยนต์ในการตัด และจำเป็นต้องทำลายตอเหล่านี้ให้ตายและผุพังโดยรวดเร็ว ซึ่งกระทำได้โดยใช้สารเคมีทารอบตอสูงจากพื้นดิน 30 เซนติเมตร โดยทาก่อนโค่น 1 วัน สารเคมีที่มีประสิทธิภาพ คือ ไทรคลอเพอ อัตรา 2.21 กรัม และการ์ลอน 5 ซีซี ผสมน้ำ 95 ซีซี เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานของเกษตรกร เก็บกิ่งไม้เล็ก ๆ และวัชพืชออกจากแปลง ทำการเผาปรน ไถพรวนดินอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่เนื่องจากไม้ยางพารามีราคาดี เกษตรกรส่วนใหญ่จึงนิยมโค่นต้นยางชิดพื้นดิน และไม่ทาสารเคมีทำลายตอ ปล่อยให้ต้นยางผุพังตามธรรมชาติ 

              9) ความปลอดภัยทั่วไปในการใช้รถแทรกเตอร์ คำเตือนต่าง ๆที่ตัวรถแทรกเตอร์ ถ้าลบเลือนหรือฉีกขาดควรจะเปลี่ยนใหม่ ควรมียาชุดปฐมพยาบาลไว้ในรถแทรกเตอร์ อย่าพยายามที่จะปรับตั้งแรงดันน้ำมันไฮดรอลิกด้วยตนเอง อย่าใช้รถแทรกเตอร์เมื่อรู้ตัวว่าไม่สบาย หรือร่างกายไม่สมบูรณ์ ควรขึ้นหรือลงทางบันได และจับราวที่ตัวรถแทรกเตอร์ให้แน่น เพื่อป้องกันการพลาดตกจากรถแทรกเตอร์

              10) การสตาร์ทเครื่องยนต์ของรถแทรกเตอร์ ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์รถแทรกเตอร์ ต้องมั่นใจว่าเบรกล็อคล้ออยู่ และเกียร์รวมทั้ง พี.ที.โอ. อยู่ในจังหวะว่าง ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์แน่ใจว่าได้วางเครื่องมือกสิกรรมลงบนพื้นเรียบร้อยแล้ว อย่าพยายามสตาร์ทเครื่องยนต์ขณะที่ยังไม่ได้นั่งบนที่นั่งคนขับ เมื่อต้องการเข็นรถแทรกเตอร์ให้เครื่องยนต์ติด ต้องมั่นใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางทางด้านหน้ารถแทรกเตอร์ อย่าติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ในห้องหรือโรงรถที่ปิดไม่ให้อากาศถ่ายเท เพราะควันจากท่อไอเสียเป็นพิษ อาจมีอันตรายถึงตายได้

              11) การใช้รถแทรกเตอร์ ปรับตั้งความกว้างของล้อให้เหมาะสมกับงาน โดยคำนึงถึงการทรงตัวของรถแทรกเตอร์ด้วย ถ้าใช้รถแทรกเตอร์ลากจูงหรือดึงรถแทรกเตอร์คันอื่นขึ้นจากหล่ม ต้องคอยสังเกตดูว่าล้อหน้าลอยจากพื้นหรือไม่ ถ้าล้อหน้าลอยให้เหยียบคลัซท์ทันที และเปลี่ยนจุดลากใหม่ให้ต่ำกว่าเดิม เมื่อขับรถแทรกเตอร์ลงเขาจะต้องอยู่ในเกียร์ตลอด ห้ามปลดเกียร์ว่างหรือเหยียบคลัซท์ เมื่อรถแทรกเตอร์เคลื่อนที่คนขับควรจะต้องนั่งบนเบาะตลอดทุกเวลา อย่ากระโดดขึ้นลงเวลารถแทรกเตอร์เคลื่อนที่ เมื่อต้องการหยุดรถแทรกเตอร์ให้ค่อยๆเหยียบเบรก อย่าเลี้ยวโค้งที่ความเร็วสูง ใช้รถแทรกเตอร์ให้ปลอดภัยตามสภาพของพื้นที่ เมื่อทำงานบนพื้นที่ลาดเอียงให้ใช้ความเร็วช้า พร้อมทั้งค่อยๆ หมุนพวงมาลัยขณะเลี้ยว เมื่อขับรถแทรกเตอร์บนทางหลวงจะต้องปฏิบัติตามกฎจราจร อย่างวางเท้าบนคลัซท์หรือเบรกขณะขับรถแทรกเตอร์ เมื่อขับรถแทรกเตอร์บนทางหลวงหรือเดินทางบนถนนให้เบรกซ้าย-ขวาเข้าด้วยกัน

              12) การลากจูงและการเดินทาง เมื่อทำการลากจูงให้ปรับคานลากให้เข้ากับรถแทรกเตอร์ที่จะลาก ขับรถแทรกเตอร์ด้วยความเร็วช้า ๆ เมื่อลากสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เพื่อความปลอดภัยเมื่อลากรถแทรกเตอร์ ตัวเทรเลอร์เองควรมีระบบเบรกด้วย เมื่อลากจูงให้ลากโดยใช้คานลากเท่านั้น ห้ามใช้ลากจูงจากแขนกลางหรือแขนล่าง เมื่อขับรถแทรกเตอร์บนทางหลวงหรือขณะลากจูง ห้ามเหยียบล็อคกันฟรีล้อหลังเพราะจะทำให้ไม่สามารถบังคับเลี้ยวได้ ให้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ถ้าทำงานบนขอบบ่อหรือขอบพื้นดินที่เป็นที่ลึก 

              13) การใช้เครื่องมือกสิกรรมกับรถแทรกเตอร์ ห้ามติดตั้งเครื่องมือกสิกรรมที่มีขนาดใหญ่เกินกำลังของรถแทรกเตอร์ อย่าเลี้ยงหักมุมขณะใช้เพลาอำนวยกำลัง อย่ายืนระหว่างรถแทรกเตอร์และเครื่องมือกสิกรรมขณะทำการติดตั้งเครื่องมือ อย่าเข้าคันโยก พี.ที.โอ. เมื่อมีผู้อื่นยืนอยู่ใกล้เครื่องมือกสิกรรม และต้องแน่ใจว่าเพลา พี.ที.โอ. มีแผงเหล็กป้องกันเรียบร้อย อย่าพยายามรับผู้โดยสารในขณะเดินทาง นอกจากว่ามีที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร ติดตั้งน้ำหนักถ่วงล้อหลัง ถ้าติดตั้งเครื่องมือกสิกรรมด้านหน้า 

              14) การจอดรถแทรกเตอร์ เมื่อจอดรถแทรกเตอร์ให้ดูพื้นที่เรียบ ๆ และใส่เกียร์ค้างไว้ พร้อมดึงเบรกมือ และถ้าจอดรถแทรกเตอร์บนที่ลาดชันในลักษณะขึ้นเขาให้ดึงเบรกมือและใส่เกียร์ 1 เดินหน้า และถ้าจอดในลักษณะลงเขาใส่เกียร์ถอยหลังพร้อมดึงเบรกมือ อย่ายกเครื่องมือกสิกรรมค้างไว้ขณะจอดรถเทรกเตอร์ ควรวางเครื่องมือลงให้เรียบร้อยแล้วจึงดับเครื่องยนต์ ก่อนที่จะลงจากรถแทรกเตอร์ให้ปลดคันบังคับ พี.ที.โอ. ให้อยู่ตำแหน่งว่าง ดึงเบรกมือ แล้วจึงดับเครื่องยนต์และใส่เกียร์ค้างไว้ ลูกกุญแจควรจะดึงออกจากสวิตซ์

              15) การบำรุงรักษารถแทรกเตอร์ ปล่อยให้เครื่องยนต์เย็นแล้วจึงเปิดฝาหม้อน้ำ โดยค่อยๆ หมุนฝาหม้อน้ำออก ถอดขั้วสายดินของแบตเตอรี่ออกทุกครั้ง ก่อนที่จะซ่อมระบบไฟฟ้า

              16) ข้อควรระวังในการใช้รถแทรกเตอร์ ก่อนที่จะถอดแป๊บหรือสายไฮดรอลิคต่าง ๆ จะต้องแน่ใจว่าไม่มีแรงดันน้ำมันไฮดรอลิคค้างอยู่ น้ำมันไฮดรอลิคที่มีแรงดันสูงเป็นอันตรายได้ พยายามหาสิ่งป้องกัน เช่น แว่นตา หรือถุงมือ เมื่อจะทำการบำรุงรักษาหรือปรับตั้งระบบต่าง ๆ ที่ตัวรถแทรกเตอร์ ต้องแน่ใจว่าดับเครื่องยนต์เรียบร้อยแล้ว อย่าถอดยางหรือใส่ยางเองถ้าไม่มีเครื่องมือพร้อม เพราะอาจเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงได้ อย่าเติมน้ำมันจนเต็มถัง ถ้าหากทำงานที่ร้อน อากาศร้อน และกลางแจ้งแสงแดดจัด อย่าเติมน้ำมันเชื้อเพลิงในขณะติดเครื่องยนต์หรืออยู่ใกล้เปลวไฟ ติดตั้งเครื่องดับเพลิงให้หยิบได้ง่ายเสมอ

              17) สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติในการใช้รถแทรกเตอร์ ไม่ควรเดินเครื่องยนต์ในที่อับ อากาศไม่ถ่ายเท ไม่ควรเดินเครื่องยนต์ทิ้งไว้ ไม่ควรลุกจากที่นั่งคนขับขณะที่รถกำลังเคลื่อนตัว ไม่ควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิงขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่ ไม่ควรทิ้งรถบนทางลาดที่สามารถไถลลงได้ ไม่ควรขับรถโดยไม่ตรวจสภาพเบรกให้อยู่ในสภาพที่ดี ไม่ควรขับรถด้วยความเร็วสูงโดยไม่ได้ล็อคเบรกเท้าทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน ขณะทำงานบนที่ขรุขระ ใกล้แนวท่อ หรือขณะเลี้ยว ไม่ควรขับรถลงจากที่ลาดชันโดยใช้เกียร์ว่าง ไม่ควรทำงานบนที่ลาดเอียงโดยไม่รักษาสมดุลรถ ไม่ควรลากสิ่งของโดยล่ามสายลากกับด้านบนของตัวรถหรือจุดต่อแขนกลาง ไม่ควรยกน้ำหนักโดยไม่ได้ตรวจสอบก่อนว่าน้ำหนักเกินหรือไม่ ไม่ควรพยายามทำความสะอาดหรือปรับตั้งเครื่องมือที่ต่อเพลาอำนวยกำลัง ขณะที่เพลายังทำงานอยู่ ไม่ควรสวมเสื้อผ้าหละหลวมขณะใช้มูเลย์สายพานหรือเพลาอำนวยกำลัง ไม่ควรติดตั้งหรือถอดสายพานขณะที่มูเลย์สายพานยังทำงานอยู่ ไม่ควรทำงานใต้เครื่องมือที่กำลังถูกยกโดยแขนยก  ไฮครอลิค 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ