หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-TRHG-917A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ N/A

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

- ผู้ปฏิบัติงานด้านจัดทำแปลงต้นยางพาราพันธุ์ดี

- ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการปุ๋ยยางพารา

- ผู้ปฏิบัติงานด้านเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยสมรรถนะร่วมสำหรับอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา เกี่ยวข้องกับทัศนคติที่ดีในการประกอบอาชีพ ประกอบด้วยการมีความรับผิดชอบในอาชีพ มีส่วนร่วมในการทำงาน และมีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เคารพกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐาน และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง มีความขยันในการทำงาน ให้ความร่วมมือเพื่อพัฒนาการทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นในการแก้ปัญหาด้วยความจริงใจ มีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงต่อเวลา และไม่พูดเท็จ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2550- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) รับผิดชอบในอาชีพ

2) A37 รักษาคุณภาพผลผลิตยางพารา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะที่แสดงถึงความรับผิดชอบในอาชีพ

2)  มีทักษะในการสื่อสารทำความเข้าใจ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

3)  มีทักษะในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจโดยคำนึงถึงประโยชน์ขององค์กร 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในหลักคุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐาน

2)  มีความรู้ในหลักและแนวทางการมีส่วนร่วมในการทำงานเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2)  แฟ้มสะสมงาน

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3)  ผลการสอบข้อเขียน

              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบในอาชีพ การมีส่วนร่วมในการทำงาน และการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้และอื่นๆ

              2)  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     • วิธีการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง) วิธีการประเมิน

              1) การสอบข้อเขียน

              2) การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

       
ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของผู้ประกอบการ ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

       1) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย เช่น ศึกษาทบทวนหน้าที่และภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทำงานสำเร็จตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายและตามเวลาที่กำหนด รายงานปัญหาที่พบในการทำงานต่อหัวหน้า รวมทั้งเจ้าของสวนหรือผู้ประกอบการควรหมั่นเข้าไปดูแลการปฏิบัติงานในแปลงอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานในอีกทางหนึ่ง

       2) เคารพกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ มาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง เช่น มีความตระหนักในการใช้ปุ๋ยตามมาตรฐานที่กำหนด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เปิดกรีดหน้ายางตามมาตรฐานการเปิดกรีด 

       3) ขยันหมั่นเพียรในการทำงาน หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่การงานและการประกอบอาชีพที่สุจริตอย่างกระตือรือร้นและตั้งใจทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายด้วยความมานะอดทน องค์กรใดที่มีผู้ทำงานขยันหมั่นเพียรในการงาน ย่อมเป็นที่รักที่พอใจของผู้ประกอบการ/เจ้าของสวนและมักจะได้รับการสนับสนุนให้มีความเจริญก้าวหน้าในการทำงานต่อไป

       4) พร้อมให้ความร่วมมือในการพัฒนาการทำงาน หมายถึง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาความรู้และทักษะการทำงาน มีความคิดริเริ่มและหาวิธีการใหม่ๆ มาปรับใช้ในการทำงาน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต สร้างนวัตกรรมในการผลิตและการจัดการ เพื่อเพิ่มผลผลิตไปพร้อมกับลดต้นทุนการผลิตควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม 

       5) มีส่วนร่วมหรือแสดงความคิดเห็นในการแก้ปัญหาด้วยความจริงใจ หมายถึง ร่วมสำรวจและรายงานปัญหาที่พบ ร่วมวิเคราะห์ปัญหา ร่วมหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหา ร่วมดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา ร่วมติดตามประเมินผล 

       6) ความซื่อสัตย์สุจริต เช่น ไม่ใส่สิ่งปลอมปนลงในน้ำยางและยางก้อนถ้วยเพื่อเพิ่มน้ำหนักยางก้อนถ้วย ไม่ยักยอกปุ๋ยยางของเจ้าของสวนหรือผู้ประกอบการในขณะปฏิบัติงาน ไม่ลักขโมยเศษยางหรือยางก้อนถ้วยของเจ้าของสวนด้วยวิธีการต่างๆ ในขณะเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่ลักขโมยต้นกล้ายางพันธุ์ดีของเจ้าของแปลง

       7) ไม่พูดเท็จ หมายถึง ไม่กล่าวเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ให้เข้าใจว่าเป็นความจริง โดยเจตนาให้คนอื่นหลงเชื่อหรือให้ตนเองได้รับประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง องค์กร/สวนยางใดที่มีคนพูดเท็จเอาแน่นอนในคำพูดไม่ได้ ย่อมทำให้ผู้ร่วมงาน ลูกน้อง หัวหน้าขาดความเชื่อถือไว้วางใจ เป็นอุปสรรคต่อการทำงานร่วมกันและความสำเร็จขององค์กร

       8) ตรงต่อเวลา การตรงต่อเวลานับว่าเป็นวินัยที่จำเป็นในการทำงาน เช่น ทำงานให้เสร็จตามเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย ไปพบผู้อื่นตามเวลานัดหมาย  เป็นต้น การเป็นคนตรงต่อเวลาจะช่วยให้เราเป็นคนที่ขยันขันแข็ง เอาการเอางาน มีความกระตือรือร้น รักที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ ช่วยให้เราไม่เฉื่อยชา ทันสมัย มีชีวิตชีวา เป็นคนมีวินัย สามารถจัดการกับงานหรือสิ่งที่ผ่านเข้ามาได้อย่างเป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ มีความก้าวหน้าในชีวิต รวมถึงเป็นคนน่าเชื่อถือ และผู้อื่นให้ความไว้วางใจ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3)  ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ