หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตต้นยางเพาะชำถุงจากต้นตอตายางพันธุ์ดีเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-WZII-901A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตต้นยางเพาะชำถุงจากต้นตอตายางพันธุ์ดีเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านจัดทำแปลงต้นยางพาราพันธุ์ดี


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการผลิตต้นยางเพาะชำถุงจากต้นตอตายางพันธุ์ดีเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย ประกอบด้วย การเตรียมโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์เพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุง การคัดเลือกและตัดแต่งต้นตอตายางพันธุ์ดีเพื่อนำไปผลิตต้นยางเพาะชำถุง การปักชำและดูแลรักษาต้นตอตายางพันธุ์ดีในถุงเพาะชำ และการขนส่งต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการกำหนดรูปแบบของโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้อย่างถูกต้องและครบถ้วน สามารถคัดเลือกและตัดแต่งต้นตอตายางอย่างถูกวิธีก่อนนำไปปักชำ สามารถปักชำต้นตอตายางตามขั้นตอน การให้น้ำ กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยและป้องกันรักษาโรคยางได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถขนส่งต้นยางเพาะชำถุงได้โดยไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเสียหายน้อยที่สุด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- มาตรฐานต้นตอยางพันธุ์ดีที่ใช้ผลิตยางชำถุง กรมวิชาการเกษตร- คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2560 พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A191

เตรียมโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์เพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

1. ระบุการเตรียมโรงเรือนเพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

A191.01 195962
A191

เตรียมโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์เพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

2. เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการเตรียมโรงเรือนเพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุง

A191.02 195963
A191

เตรียมโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์เพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

3. จัดเตรียมโรงเรือนเพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุงอย่างถูกต้อง

A191.03 195964
A192

คัดเลือก ถอน และตัดแต่งต้นตอตายางพันธุ์ดีที่ผ่านการติดตาแล้วเพื่อนำไปผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

1. อธิบายวิธีการคัดเลือก ถอน และตัดแต่งต้นตอตายางพันธุ์ดีเพื่อนำไปผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

A192.01 195965
A192

คัดเลือก ถอน และตัดแต่งต้นตอตายางพันธุ์ดีที่ผ่านการติดตาแล้วเพื่อนำไปผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

2. เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดเลือก ถอนและตัดแต่งต้นตอตายางพันธุ์ดีเพื่อนำไปผลิตต้นยางเพาะชำถุง

A192.02 195966
A192

คัดเลือก ถอน และตัดแต่งต้นตอตายางพันธุ์ดีที่ผ่านการติดตาแล้วเพื่อนำไปผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

3. คัดเลือก ถอน และตัดแต่งต้นตอตายางพันธุ์ดีในแปลงอย่างถูกวิธีเพื่อนำไปผลิตต้นยางเพาะชำถุง

A192.03 195967
A193

ปักชำต้นตอตายางพันธุ์ดีที่ผ่านการติดตาแล้วเพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

1. ระบุขั้นตอนการปักชำต้นตอตายางพันธุ์ดีเพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

A193.01 195968
A193

ปักชำต้นตอตายางพันธุ์ดีที่ผ่านการติดตาแล้วเพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

2. เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปักชำต้นตอตายางพันธุ์ดี เพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุง

A193.02 195969
A193

ปักชำต้นตอตายางพันธุ์ดีที่ผ่านการติดตาแล้วเพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

3. ปักชำต้นตอตายางพันธุ์ดีเพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุงอย่างถูกต้อง

A193.03 195970
A194

ดูแลรักษาต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

1. อธิบายวิธีการดูแลรักษาต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

A194.01 195971
A194

ดูแลรักษาต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

2. จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการดูแลรักษาต้นยางเพาะชำถุง

A194.02 195972
A194

ดูแลรักษาต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

3. ดูแลรักษาต้นยางเพาะชำถุงอย่างถูกวิธี

A194.03 195973
A195

ขนส่งต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

1. อธิบายหลักการขนส่งต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

A195.01 195974
A195

ขนส่งต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

2. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการขนส่งต้นยางเพาะชำถุง

A195.02 195975
A195

ขนส่งต้นยางเพาะชำถุงเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

3. ดำเนินการขนส่งต้นยางเพาะชำถุงอย่างถูกวิธีเพื่อนำไปปลูกและจำหน่าย

A195.03 195976

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) ความต้องการน้ำและปุ๋ยของต้นพันธุ์ยางพารา

2) โรค แมลง ที่เป็นศัตรูของต้นพันธุ์ยางพารา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการจัดเตรียมโรงเรือนผลิตต้นยางเพาะชำถุงอย่างถูกวิธี

2)  มีทักษะในการคัดเลือก ถอน และตัดแต่งต้นตอตายางพันธุ์ดีเพื่อนำไปผลิตต้นยางเพาะชำถุงอย่างถูกวิธี

3)  มีทักษะในการเตรียมถุงเพาะชำที่พร้อมปักชำต้นตอตายางพันธุ์ดีอย่างถูกวิธี

4)  มีทักษะในการปักชำต้นตอตายางพันธุ์ดี ให้น้ำอย่างเหมาะสม กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน ใส่ปุ๋ยเคมี ปลิดแขนงต้นเดิมเพื่อให้ตายางพันธุ์ดีงอกได้ดีขึ้น และป้องกันรักษาโรคที่มักเกิดกับต้นยางเพาะชำถุง

5)  มีทักษะในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการขนส่งและขนส่งต้นยางเพาะชำถุงอย่างถูกวิธี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในการเตรียมโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการผลิตต้นยางเพาะชำถุง

2)  มีความรู้ในการคัดเลือก ถอน และตัดแต่งต้นตอตายางพันธุ์ดีอย่างถูกวิธีก่อนนำไปปักชำ 

3)  มีความรู้ในการปักชำต้นตอตายางพันธุ์ดี การให้น้ำ กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย และป้องกันรักษาโรคยาง

4)  มีความรู้ในการขนส่งต้นยางเพาะชำถุง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2)  แฟ้มสะสมงาน

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3)  ผลการสอบข้อเขียน

              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับการเตรียมโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตต้นยางเพาะชำถุง การคัดเลือก ถอน และตัดแต่งต้นตอตายางอย่างถูกวิธีก่อนนำไปปักชำ การปักชำต้นตอตายางในถุงเพาะชำตามขั้นตอน การให้น้ำ กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยและป้องกันรักษาโรคยางอย่างถูกต้อง รวมทั้งการขนส่งต้นยางเพาะชำถุงโดยไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเสียหายน้อยที่สุด โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2)  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง) วิธีการประเมิน

              1) การสอบข้อเขียน

              2) การสอบสัมภาษณ์

              3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

      ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการผลิตต้นยางพาราพันธุ์ดี ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

      1) การเตรียมโรงเรือนเพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุง  หมายถึง การทำโรงเรือนสูงประมาณ 2-2.5 เมตร เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน ควรมุงด้วยแสลน ทางมะพร้าว หรือวัสดุอื่นที่จัดหาได้ง่ายในท้องถิ่น ให้แสงแดดส่องผ่านได้ประมาณ 50 % ขนาดของโรงเรือนควรจัดทำให้พอเหมาะกับจำนวนต้นยางที่จะเพาะชำถุง 

      2) วิธีการคัดเลือก ถอน และตัดแต่งต้นตอตายางพันธุ์ดีเพื่อนำไปผลิตต้นยางเพาะชำถุง  คัดเลือกต้นที่สมบูรณ์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตรที่ระดับความสูงจากคอดิน 10 เซนติเมตร แผ่นตาไม่มีรอยช้ำ จากนั้นถอนต้นตอตายางขึ้นมา ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนหรือโดนแผ่นตา ตรวจสอบรากควรเป็นรากที่แข็งแรงและเยียดตรง แล้วตัดต้นตอตาเหนือขอบแผ่นตาบนขึ้นไป 2 นิ้ว โดยตัดเฉียงให้มุมลาดเทลงและอยู่ฝั่งตรงข้ามกับแผ่นตา ตัดแต่งรากให้มีความยาวประมาณ 8 นิ้ว  และรีบนำลงถุงเพาะชำโดยเร็ว หรือนำไปจำหน่ายสำหรับปลูกในเขตพื้นที่ปลูกยางเดิม

      3) ขั้นตอนการปักชำต้นตอตายางพันธุ์ดีเพื่อผลิตต้นยางเพาะชำถุง (1) ใส่ดินที่เตรียมไว้ลงในถุงให้เต็ม กระแทกถุงให้ดินแน่น ถ้าดินที่อยู่ในถุงยุบลง เติมดินให้เต็มอีกครั้งและกระแทกจนดินเต็มถุง (2) รดน้ำให้ดินในถุงชุ่มมากที่สุดหรือนำไปแช่น้ำถ้าหากต้นตอตาที่จะผลิตยางเพาะชำถุงมีจำนวนน้อย (3) ขนย้ายถุงเพาะชำไปวางเรียงใช่องที่เตรียมไว้ (4) นำต้นตอตาที่ตัดแต่งรากแล้วมาเสียบลงในถุงให้รากแก้วจมลงไปจนถึงรอยต่อคอดินระหว่างรากกับลำต้น (5) กดดินรอบโค่นต้นตอตาที่ปักชำในถุงให้แน่นให้ตาที่ผลิอยู่ห่างจากผิวดินประมาณ 2 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง แล้วนำต้นตอตาที่เพาะชำแล้ววางเรียงแถวในโรงเรือนที่เตรียมไว้

      4) เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปักชำต้นตอตายางพันธุ์ดี หมายถึง เตรียมถุงพลาสติกเพาะชำ ควรมีสีดำเพราะไม่ต้องการให้รากต้นยางถูกแสงซึ่งอาจทำให้รากเจริญเติบโตไม่ดี  ถุงพลาสติกจะใช้ขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของแปลงต้องการจะเลี้ยงต้นยางไว้ในถุงนานแค่ไหน หากเลี้ยงไว้นานก็ต้องใช้ถุงขนาดใหญ่โดยถุงพลาสติกนั้นจะต้องเจาะรูกลม จำนวนรูต่อแถว 5-7 รู ประมาณ 3 แถว โดยให้ห่างจากก้นถุงประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อระบายน้ำได้ดี ขนาดของถุงที่นิยมใช้ในการเพาะชำต้นตอตายาง คือถุงขนาด 3 นิ้วครึ่ง x 15 นิ้ว ใช้เพาะชำยาง 1-2 ฉัตร และดินใส่ถุงเพาะชำ ควรเป็นดินร่วนเหนียวที่มีอินทรียวัตถุพอสมควร หรือดินเหนียวที่ผสมอินทรียวัตถุก็ได้โดยใช้ดินร่วนเหนียว 2 ส่วน ต่ออินทรียวัตถุ 1 ส่วน หรือถ้าใช้ปุ๋ยคอกเป็นอินทรียวัตถุก็ได้แต่จะทำให้ปริมาณวัชพืชในถุงมาก การผสมดินควรตากดินให้แห้งเสียก่อน แล้วย่อยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยหินฟอสเฟตประมาณ 10 กรัมต่อถุงหรือใช้หินฟอสเฟตประมาณ 5 กิโลกรัม ต่อดิน 1 ลูกบาศก์เมตรเพื่อใช้สำหรับบรรจุถุงประมาณ 500 ถุง

      5) วิธีการดูแลรักษาต้นยางเพาะชำถุง ได้แก่ (1) การรดน้ำ ควรรดน้ำทุกวัน ทั้งเช้าและเย็น เพื่อให้ดินในถุงชุ่มอยู่เสมอ หากปล่อยให้ดินแห้งตาที่กำลังผลิออกมาอาจจะชะงักการเจริญเติบโตและตายได้ (2) การใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-8-20 หรือ 20-10-12 ในอัตรา 5 กรัมต่อถุง ใส่หลังจากตาผลิออกมาแล้ว 2-3 สัปดาห์และต่อไปให้ใส่ทุกๆ 2-4 สัปดาห์ (3) การปลิดแขนง หลังจากเพาะชำต้นตอตายางในถุงแล้วประมาณ 10-20 วัน ตาจะเริ่มงอก หากมีกิ่งแขนงออกมาจากต้นเดิมก็ต้องปลิดทิ้งเพื่อให้ตาพันธุ์ดีงอกออกมาโดยเร็ว (4) การกำจัดวัชพืช ควรใช้แรงงานคนหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี (5) การป้องกันกำจัดโรค เนื่องจากต้นยางชำถุงมักจะเป็นโรค ฉะนั้นควรพ่นยาป้องกันโรคหรือเมื่อพบว่ายางเริ่มเป็นโรคซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของโรค เช่น โรคใบเกิดจากเชื้อไฟท้อปเทอร่า ควรใช้ยาเมตทาแลคซิล (metalaxyl) โรคราแป้งและโรคใบจุดทุกชนิด ควรใช้ยาเบนโนมิล (benomyl)  เป็นต้น  เมื่อเพาะชำในถุงพลาสติก ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วัน จะได้ต้นยางชำถุงมี 1 ฉัตรที่มีลักษณะใบแก่ จึงสามารถนำไปปลูกในแปลงหรือจำหน่ายได้

      6) หลักการขนส่งต้นยางเพาะชำถุง หมายถึง ทุกขั้นตอนการขนส่งไปยังแปลง ต้องระวังไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเสียหายน้อยที่สุด เช่น การขนใส่รถบรรทุกควรวางต้นยางเพาะชำให้ตั้งยืนและชิดกัน ระวังอย่าให้ต้นยางล้ม ห้ามวางทับซ้อนกัน ควรให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ทำที่กันบังลมให้มิดชิดขณะขนส่ง (อาจใช้ตาข่ายกรองแสง 50%) เพื่อไม่ให้ต้นยางปะทะลมอย่างรุนแรง  อย่าให้ดินในถุงแตกเพราะจะทำให้รากขาด ต้นยางมีโอกาสตายมากขึ้น  กรณีขนส่งระยะทางไกลเกิน 1 วัน ควรตรวจสอบและรักษาความชื้นของต้นยางโดยการฉีดละอองน้ำหรือรดน้ำให้ทั่วถึง และควรขนส่งเฉพาะต้นยางที่มีใบแก่แล้วเท่านั้นเพื่อลดการคายน้ำ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20  ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ 

4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ