หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตายางพันธุ์ดี

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-GMWA-900A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตายางพันธุ์ดี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านจัดทำแปลงต้นยางพาราพันธุ์ดี


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการติดตายางพันธุ์ดี ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการคัดเลือกต้นตอยางที่มีลักษณะเหมาะสมเพื่อติดตา สามารถคัดเลือกกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานติดตายางพันธุ์ดีอย่างถูกวิธีทั้งในแปลงและในถุงเพาะชำ สามารถคำนวณอัตราการรอดจากการติดตายางพันธุ์ดีในแปลงและในถุงเพาะชำได้ และตัดต้นตอหลังติดตายางพันธุ์ดีได้อย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2560 พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A181

คัดต้นตอยางและกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสมเพื่อติดตาในแปลงผลิตต้นตอตาและติดตาในถุงเพาะชำ

1. อธิบายวิธีการคัดเลือกต้นตอยางที่มีลักษณะเหมาะสมสำหรับการติดตา

A181.01 195953
A181

คัดต้นตอยางและกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสมเพื่อติดตาในแปลงผลิตต้นตอตาและติดตาในถุงเพาะชำ

2. ดำเนินการคัดเลือกต้นตอยางเพื่อใช้ในการติดตาได้อย่างถูกต้อง

A181.02 195954
A181

คัดต้นตอยางและกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสมเพื่อติดตาในแปลงผลิตต้นตอตาและติดตาในถุงเพาะชำ

3. อธิบายวิธีการคัดเลือกกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสมสำหรับการติดตา

A181.03 195955
A181

คัดต้นตอยางและกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสมเพื่อติดตาในแปลงผลิตต้นตอตาและติดตาในถุงเพาะชำ

4. ดำเนินการคัดเลือกกิ่งตายางพันธุ์ดีเพื่อใช้ในการติดตาได้อย่างถูกต้อง

A181.04 195956
A182

ติดตายางพันธุ์ดีในแปลงผลิตต้นตอยางและในถุงเพาะชำตามวิธีการที่ถูกต้อง

1. อธิบายวิธีการติดตายางพันธุ์ดีในแปลงผลิตต้นตอยางและติดตาในถุงเพาะชำ

A182.01 195957
A182

ติดตายางพันธุ์ดีในแปลงผลิตต้นตอยางและในถุงเพาะชำตามวิธีการที่ถูกต้อง

2. เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตายางพันธุ์ดีในแปลงและติดตาในถุงเพาะชำ

A182.02 195958
A182

ติดตายางพันธุ์ดีในแปลงผลิตต้นตอยางและในถุงเพาะชำตามวิธีการที่ถูกต้อง

3. ดำเนินการติดตายางพันธุ์ดีในแปลงและติดตาในถุงเพาะชำได้อย่างถูกต้อง

A182.03 195959
A182

ติดตายางพันธุ์ดีในแปลงผลิตต้นตอยางและในถุงเพาะชำตามวิธีการที่ถูกต้อง

4. ตรวจสอบผลการติดตายางพันธุ์ดีในแปลงและในถุงเพาะชำ

A182.04 195960
A182

ติดตายางพันธุ์ดีในแปลงผลิตต้นตอยางและในถุงเพาะชำตามวิธีการที่ถูกต้อง

5. ตัดต้นตอหลังติดตายางพันธุ์ดีสำเร็จทั้งในแปลงและในถุงเพาะชำ

A182.05 195961

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) การติดตาขยายพันธุ์พืช

2) การคัดเลือกต้นพันธุ์และกิ่งตาที่เหมาะสม


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการคัดเลือกต้นตอยางและกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสมสำหรับติดตา

2)  มีทักษะในการติดตายางพันธุ์ดีและใช้วัสดุอุปกรณ์ในการติดตายางพันธุ์ดีอย่างถูกวิธี

3)  มีทักษะในการตรวจสอบผลการติดตายางพันธุ์ดีและใช้มีดกรีดและแกะแผ่นพลาสติกที่พันแผ่นตายางอย่างถูกวิธี

4)  มีทักษะในการตัดต้นตอหลังติดตายางพันธุ์ดีสำเร็จอย่างถูกวิธี 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในการคัดเลือกต้นตอยางที่มีลักษณะเหมาะสมเพื่อติดตา 

2)  มีความรู้ในการคัดเลือกกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสมเพื่อติดตา 

3)  มีความรู้ในการติดตายางพันธุ์ดี

4)  มีความรู้ในการตรวจสอบผลการติดตายางพันธุ์ดีและการตัดต้นตอหลังติดตายางพันธุ์ดีสำเร็จ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2)  แฟ้มสะสมงาน

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3)  ผลการสอบข้อเขียน

              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับการพิจารณาคัดเลือกต้นตอยางที่มีลักษณะเหมาะสมเพื่อติดตา การคัดเลือกกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสม การติดตายางพันธุ์ดีตามวิธีการอย่างถูกต้องทั้งในแปลงและในถุงเพาะชำ และการตรวจสอบผลการติดตายางพันธุ์ดี โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2)  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง) วิธีการประเมิน

              1)  การสอบข้อเขียน

              2)  การสอบสัมภาษณ์

              3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการผลิตต้นยางพาราพันธุ์ดี ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ก)  คำแนะนำ

              N/A

       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

              1)  วิธีการคัดเลือกต้นตอยางที่มีลักษณะเหมาะสมสำหรับการติดตา หมายถึง ต้นตอยางที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง มีอายุประมาณ 4 เดือนครึ่ง ถึง 8 เดือน ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร วัดจากระดับสูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง โคนรากไม่คดงอ ต้นที่ฉัตรบนสุดมีใบแก่เพราะสามารถลอกเปลือกได้ง่าย

              2)  วิธีการคัดเลือกกิ่งตายางพันธุ์ดีที่มีลักษณะเหมาะสมสำหรับการติดตา หมายถึง กิ่งตามีขนาดใกล้เคียงกันกับต้นตอยาง กิ่งตาที่ได้จากแปลงกิ่งตายางที่ได้รับการจดทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรเท่านั้น  กิ่งตาเขียวที่สมบูรณ์จะต้องมีอายุ 42 - 49 วัน และ เป็นต้นกิ่งตาที่ฉัตรบนสุดมีใบแก่ เพราะลอกเปลือกได้ง่าย ไม่เปราะและไม่มีเสี้ยนเนื้อไม้ติดมา

              3)  วิธีการติดตายางพันธุ์ดีในแปลงผลิตต้นตอยางและติดตาในถุงเพาะชำ เริ่มจาก (1) สำรวจจำนวนต้นตอทั้งหมดที่มีลักษณะเหมาะสมในการติดตาเพื่อจะได้เตรียมจำนวนกิ่งตาพันธุ์ดีให้พอดีที่จะติดตา (2) ทำความสะอาดโค่นต้นตอยางบริเวณที่จะเปิดเปลือก (3) ใช้ปลายมีดกรีดตามความยาวของลำต้นให้ขนานกันสองรอย ยาวรอยละ 7-8 เซนติเมตร ระหว่างรอยห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร ให้ส่วนล่างของรอยกรีดสูงจากพื้นดินประมาณ 2.5 เซนติเมตร แล้วใช้มีดตัดขวางปลายรอยกรีดด้านบน เปิดเปลือกลอกออกให้เหลือเป็นลิ้นยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ระวังอย่าให้สิ่งสกปรกเข้าไปในรอยที่เปิดเปลือกไว้เพราะจะทำให้การติดตาไม่ได้ผล (4) นำกิ่งตายางพันธุ์ดีมาเลือกตาที่ต้องการ ใช้มีดเฉือนตาจากปลายกิ่งไปโค่นให้ติดเนื้อไม้บางๆ และสม่ำเสมอยาวประมาณ 8-9 เซนติเมตร ให้แผ่นตากว้างพอดีกับความกว้างของรอยเปิดเปลือก ให้ส่วนของตาติดอยู่ตรงกึ่งกลางของแผ่นตา (5) แต่งขอบแผ่นตาให้มีขนาดเท่ากับรอยเปิดเปลือกหรือมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย อย่าจับหรือกดแผ่นตาแรงเพราะจะทำให้แผ่นตาช้ำ (6) ลอกแผ่นตาเพื่อแยกส่วนที่เป็นเปลือกกับเนื้อไม้ออกจากกัน ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ การลอกด้วยมือและลอกด้วยปาก ขณะลอกอย่าให้แผ่นตางอและช้ำ จากนั้นตรวจสอบความสมบูรณ์ของแผ่นตา ถ้าจุดเยื้อเจริญหลุด แหว่ง ไม่สมบูรณ์ให้คัดทิ้งและเลือกแผ่นตาที่สมบูรณ์เท่านั้น   (7) นำแผ่นตาสอดเข้ากับลิ้นที่ต้นตอที่เปิดเตรียมไว้ แนบแผ่นตาเข้ากับรอยเปิดเปลือกให้ตาอยู่ด้านบนของก้านใบ ขณะแนบแผ่นตาอย่าให้แผ่นตาและจุดเยื้อเจริญช้ำ (8) ใช้แผ่นพลาสติกใสพันแผ่นตาให้แนบกับรอยเปิดของเปลือกต้นตอ พันจากล่างให้ต่ำกว่ารอยเปิดเปลือกล่างประมาณ 1 เซนติเมตร วนขึ้นบนให้ขอบแผ่นพลาสติกทับกันให้แนบทุกรอบ เมื่อพันไปได้ครึ่งหนึ่งให้ตัดแผ่นตาส่วนเกินออกให้พอดีกับรอยเปิดเปลือก แล้วพันต่อไปจนเหนือรอยเปิดเปลือกบนประมาณ 1 นิ้วจึงผูกพลาสติกดึงให้แน่นเพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าสู่แผ่นตา (9) มัดปลายต้นยางทุกๆ 5 ต้นเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้แสงแดดส่องเข้าถึงตาได้มากขึ้น เพื่อให้ตาเจริญเติบโตและติดสนิทกับต้นตอ และ (10) หลังการติดตา ให้จดวันเดือนปีที่ติดตา พันธุ์ยางที่ติดตา จำนวนต้นที่ติดตา ควรมีป้ายบอกรายละเอียดผูกไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล

              4)  วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตายางพันธุ์ดี ได้แก่ ภาชนะใส่อุปกรณ์ติดตายาง  กิ่งตายางพันธุ์ดี กรรไกตัดกิ่งตา มีดติดตา เศษผ้าสำหรับทำความสะอาดต้นตอยาง แผ่นพลาสติกใสขนาดกว้าง 5/8 นิ้ว หนา 0.05 มิลลิเมตร 

              5)  ตรวจสอบผลการติดตายางพันธุ์ดี หมายถึง หลังจากติดตาแล้ว 3 สัปดาห์ ถ้าแผ่นตายังมีสีเขียวอยู่แสดงว่าติดตาสำเร็จ ให้ใช้ปลายมีดคมกรีดลงบนแถบพลาสติกด้านข้างของต้นตอ แกะแถบพลาสติกออก ส่วนต้นที่มีแผ่นตาสีคล้ำแสดงว่าการติดตาไม่สำเร็จ ให้ใช้ปลายมีดคมกรีดบนแถบพลาสติกด้านหน้าแผ่นตา แกะแถบพลาสติกออก ใช้อีกด้านของต้นตอสำหรับติดตาซ้ำได้อีกครั้ง

              6)  ตัดต้นตอหลังติดตายางพันธุ์ดีสำเร็จ หมายถึง (1) การตัดต้นตอที่ติดตาในแปลง: หลังจากกรีดแถบพลาสติกออกควรทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนตัดต้นตอ การตัดต้นตอจะต้องตัดเหนือขอบแผ่นตาบนขึ้นไป 2 นิ้ว โดยตัดเฉียงให้มุมลาดเทลงและอยู่ฝั่งตรงข้ามกับแผ่นตา และ (2) การตัดต้นตอที่ติดตาในถุงเพาะชำ:  หลังจากกรีดแถบพลาสติกออกให้ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนตัดต้นตอ การตัดต้นตอจะต้องตัดเหนือขอบแผ่นตาบนขึ้นไป 2 นิ้ว โดยตัดเฉียงให้มุมลาดเทลงและอยู่ฝั่งตรงข้ามกับแผ่นตาเช่นกันและทารอยแผลที่ตัดด้วยปูนขาวเพื่อป้องกันการคายน้ำและการติดเชื้อ หลังจากนั้น 30 วัน (มีใบ 1 ฉัตรแก่แล้ว) จึงสามารถนำลงปลูกในหลุมหรือจำหน่าย 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20  ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4) ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ