หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลรักษาและปลูกซ่อมต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-QEHH-898A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลรักษาและปลูกซ่อมต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านจัดทำแปลงต้นยางพาราพันธุ์ดี


1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาและปลูกซ่อมต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการกำหนดรูปแบบการให้น้ำสำหรับแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี ให้น้ำต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีในแปลง กำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยในแปลง ใช้วัสดุคลุมดินเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ สำรวจและปลูกซ่อมต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีที่ตายและไม่สมบูรณ์ และตัดแต่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตายางพันธุ์ดีตามช่วงอายุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2560 พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่ของสถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A161

จัดการระบบน้ำสำหรับแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

1. จัดเตรียมแหล่งน้ำและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดทำระบบส่งน้ำในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

A161.01 195927
A161

จัดการระบบน้ำสำหรับแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

2. จัดทำผังระบบส่งน้ำอย่างง่ายในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

A161.02 195928
A161

จัดการระบบน้ำสำหรับแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

3. ติดตั้งระบบส่งน้ำในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีตามผังที่กำหนด

A161.03 195929
A161

จัดการระบบน้ำสำหรับแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

4. บำรุงรักษาระบบส่งน้ำในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

A161.04 195930
A162

ดูแลรักษาต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี

1. อธิบายวิธีการให้น้ำต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

A162.01 195931
A162

ดูแลรักษาต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี

2. ให้น้ำต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีในแปลงอย่างถูกวิธี

A162.02 195932
A162

ดูแลรักษาต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี

3. อธิบายวิธีการกำจัดวัชพืชในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

A162.03 195933
A162

ดูแลรักษาต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี

4. กำจัดวัชพืชในแปลงอย่างถูกวิธี

A162.04 195934
A162

ดูแลรักษาต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี

5. อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

A162.05 195935
A162

ดูแลรักษาต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี

6. ใส่ปุ๋ยต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีในแปลงอย่างถูกต้อง

A162.06 195936
A163

ใช้วัสดุคลุมดินในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

1. อธิบายการคัดเลือกวัสดุคลุมดินในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

A163.01 195937
A163

ใช้วัสดุคลุมดินในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

2. คัดเลือกวัสดุคลุมดินเพื่อใช้ในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีอย่างถูกวิธี

A163.02 195938
A163

ใช้วัสดุคลุมดินในแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

3. คลุมดินด้วยวัสดุคลุมดินให้ทั่วแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี

A163.03 195939
A164

คัดต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีที่ตายหรือไม่สมบูรณ์ทิ้งและปลูกซ่อม

1. อธิบายลักษณะของต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีที่ไม่สมบูรณ์เพื่อคัดทิ้ง

A164.01 195940
A164

คัดต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีที่ตายหรือไม่สมบูรณ์ทิ้งและปลูกซ่อม

2. สำรวจและคัดต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีที่ตายหรือไม่สมบูรณ์ทิ้ง

A164.02 195941
A164

คัดต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีที่ตายหรือไม่สมบูรณ์ทิ้งและปลูกซ่อม

3. อธิบายวิธีการปลูกซ่อมต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี

A164.03 195942
A164

คัดต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีที่ตายหรือไม่สมบูรณ์ทิ้งและปลูกซ่อม

4. ปลูกซ่อมต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีอย่างถูกวิธี

A164.04 195943
A165

ตัดแต่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตายางพันธุ์ดีตามช่วงอายุ

1. อธิบายหลักการตัดแต่งกิ่งต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีเพื่อเลี้ยงกิ่งตายางตามช่วงอายุ

A165.01 195944
A165

ตัดแต่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตายางพันธุ์ดีตามช่วงอายุ

2. เตรียมอุปกรณ์การตัดแต่งกิ่งต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีเพื่อเลี้ยงกิ่งตายางพันธุ์ดีตามช่วงอายุ

A165.02 195945
A165

ตัดแต่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตายางพันธุ์ดีตามช่วงอายุ

3. ตัดแต่งกิ่งต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีเพื่อเลี้ยงกิ่งตายางพันธุ์ดีตามช่วงอายุอย่างถูกวิธี

A165.03 195946

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) ความต้องการน้ำและปุ๋ยของต้นกิ่งพันธุ์ยางพารา

2) ศัตรูของต้นกิ่งพันธุ์ยางพารา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการติดตั้งระบบส่งน้ำในแปลงกิ่งตายางตามผังที่กำหนด

2)  มีทักษะในการตรวจสอบการรั่วไหลและติดขัดของระบบจ่ายน้ำและการบำรุงรักษาปั้นน้ำ

3)  มีทักษะในการใช้วิธีการเขตกรรมและการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืชในแปลงกิ่งตายาง

4)  มีทักษะในการใส่ปุ๋ยแบบหว่านรอบวงใบในแปลงกิ่งตายาง

5)  มีทักษะในการคัดเลือกวัสดุคลุมดินที่เหมาะสม

6)  มีทักษะในการสำรวจต้นกิ่งตายางที่ตายหรือไม่สมบูรณ์ทิ้งและปลูกซ่อม

7)  มีทักษะในการตัดแต่งกิ่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตายางตามช่วงอายุ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในการจัดการระบบส่งน้ำและการให้น้ำแปลงกิ่งตายาง

2)  มีความรู้ในการกำจัดวัชพืชในแปลง

3)  มีความรู้ในการใส่ปุ๋ยยางตามช่วงอายุ สูตรปุ๋ย ปริมาณและความถี่ในการใส่ปุ๋ย

4)  มีความรู้ในการใช้วัสดุคลุมดินเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำในแปลง

5)  มีความรู้ในการสำรวจและปลูกซ่อมต้นกิ่งตายางที่ตายและไม่สมบูรณ์

6)  มีความรู้ในการตัดแต่งกิ่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตายางตามช่วงอายุ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ 

       (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

              2)  แฟ้มสะสมงาน

       (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

              1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

              2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

              3)  ผลการสอบข้อเขียน

              4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

       (ค) คำแนะนำในการประเมิน

              1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับการจัดการระบบน้ำสำหรับแปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี การให้น้ำต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี การกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย การใช้วัสดุคลุมดินในแปลง การสำรวจและปลูกซ่อมต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีที่ตายและไม่สมบูรณ์ รวมทั้งการตัดแต่งกิ่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตายางพันธุ์ดีตามช่วงอายุ โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

              2)  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 

                     •  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

                     •  วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     •  ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (ง) วิธีการประเมิน

              1)  การสอบข้อเขียน

              2)  การสอบสัมภาษณ์

              3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการผลิตต้นยางพาราพันธุ์ดีซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

       (ก)  คำแนะนำ

              N/A

       (ข) คำอธิบายรายละเอียด

              1)  แหล่งน้ำ หมายถึง สระน้ำ บ่อน้ำตื้น น้ำบาดาล น้ำประปา น้ำภูเขา เป็นต้น ซึ่งต้องได้รับการประเมินคุณภาพน้ำตามเกณฑ์คุณภาพน้ำเพื่อการเกษตร แหล่งน้ำต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอกับความต้องการในแปลง อาจพิจารณาจากการรดน้ำต้นตอยางด้วยระบบสปริงเกอร์ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 1 ชั่วโมง และการใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

              2)  อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดทำระบบส่งน้ำในแปลง หมายถึง ปั๊มน้ำ ท่อส่งน้ำ ข้อต่อ หัวจ่ายน้ำ อุปกรณ์ตั้งเวลาการให้น้ำ เป็นต้น

              3)  ผังระบบส่งน้ำ หมายถึง ผังระบบส่งน้ำในแปลงประกอบด้วยที่ตั้งแหล่งน้ำเชื่อมโยงกับระบบสูบน้ำระบบจ่ายน้ำ และมีแรงดันน้ำที่เพียงพอ

              4)  บำรุงรักษาระบบส่งน้ำในแปลง หมายถึง การกำหนดตารางเวลาในการบำรุงรักษาระบบส่งน้ำและมีอุปกรณ์อะไหล่สำรองเตรียมพร้อมไว้ เช่น การตรวจสอบการรั่วไหลและติดขัดของระบบจ่ายน้ำควรทำอย่างทั่วถึงและทุกวัน การบำรุงรักษาปั้นน้ำตามคู่มือการใช้งาน เป็นต้น  

              5)  วิธีการให้น้ำต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี คือรดน้ำต้นกิ่งตายางวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 1 ชั่วโมง (ยกเว้นวันที่ฝนตกและต้นกิ่งตายางได้รับน้ำฝนอย่างเพียงพอ) โดยใช้ระบบจ่ายน้ำที่แนะนำ เช่น ระบบสปริงเกอร์ ระบบน้ำหยด 

              6)  วิธีการกำจัดวัชพืชในแปลง (1) การกำจัดวัชพืชในแปลงที่ปลูกด้วยเมล็ด เริ่มจากการกำจัดวัชพืชหลังปลูกจนถึงก่อนติดตา ใช้วิธีการเขตกรรม เช่น ถอนด้วยมือ ถากด้วยจอบหรือเสียม ตัดด้วยเครื่องตัดหญ้า ไม่ใช้สารเคมี และ (2) การกำจัดวัชพืชในแปลงที่ปลูกด้วยต้นตอตายางพันธุ์ดีและยางเพาะชำถุงเริ่มจากการกำจัดวัชพืชต้นยางเล็กโดยวิธีการเขตกรรม หลังจากนั้นเมื่อต้นยางมีเปลือกลำต้นสีน้ำตาลสูงเกิน 75 เซนติเมตร รวมทั้งแปลงปลูกด้วยเมล็ดหลังจากติดตาและตัดต้นเดิมทิ้งแล้ว ให้กำจัดวัชพืชโดยวิธีการเขตกรรมและใช้สารเคมีตามคำแนะนำในฉลากของผลิตภัณฑ์สารเคมีแต่ละชนิดโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

              7)  วิธีการใส่ปุ๋ยในแปลง เริ่มจากการคัดเลือกปุ๋ยให้เหมาะสม เช่น ปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20 หรือ 15-15-15 ใส่ปุ๋ยปีละ 4 ครั้งๆ ละ 36 กก.ต่อไร่ โดยหว่านรอบวงใบ ใส่ปุ๋ยเดือนที่ 1-3-6-12

              8)  ลักษณะต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีที่ไม่สมบูรณ์ หมายถึง  ต้นกิ่งตายางที่แคระแกร็นเนื่องจากตาไม่สมบูรณ์ เป็นโรค การบำรุงรักษาไม่ทั่วถึง  เป็นต้น

              9)  วิธีการปลูกซ่อมต้นกิ่งตายางพันธุ์ดี  หลังการสำรวจและคัดต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีที่ตายหรือไม่สมบูรณ์ทิ้ง ควรปลูกซ่อมทันทีให้ตรงตามพันธุ์และใช้ต้นกิ่งตายางที่มีอายุและขนาดใกล้เคียงกัน ควรใช้ยางชำถุงปลูกซ่อมเพราะมีโอกาสรอดสูง  ถ้ามียางพันธุ์อื่นๆ ไม่ตรงกับยางที่ตาย ควรปล่อยให้หลุมว่างไปก่อนจนกว่าจะหาพันธุ์ได้ ถ้ามียางพันธุ์อื่นๆ ปะปน ควรติดตาเปลี่ยนพันธุ์ให้ถูกต้อง 

              10)  หลักการตัดแต่งกิ่งต้นกิ่งตายางพันธุ์ดีเพื่อเลี้ยงกิ่งตายางตามช่วงอายุ เมื่อต้นยางอายุ 1 ปี สูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร และโคนต้นมีเปลือกสีน้ำตาล จะตัดกิ่งตาทั้งกระโดงไปใช้ได้ โดยตัดให้สูงจากพื้นดินประมาณ 75 เซนติเมตร แต่ถ้าจะเลี้ยงเป็นกิ่งตาเขียว ให้ตัดเลี้ยงครั้งที่ 1 คือ ตัดยอดฉัตรบนสุดทิ้ง ปล่อยให้แตกกิ่งแขนงออกมาบริเวณฉัตรยอดเลี้ยงไว้ 3-4 กิ่ง เมื่อฉัตรแก่แล้วก็ตัดไปใช้ได้ พร้อมกันนี้ก็ทำการตัดเลี้ยงครั้งที่ 2 ต่อไป การตัดแต่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตาต้นยางในปีหนึ่งๆ จะตัดเลี้ยงกิ่งตาได้ 3-4 ครั้ง กิ่งตาเขียวที่ตัดไปใช้แต่ละครั้งควรมีอายุ 1 ½ - 2 เดือน เมื่อหมดฤดูกาลติดตาในปีที่ 1 แล้วจะตัดต้นกิ่งตาล้างแปลง (ตัดต่ำ) ให้สูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร เพื่อเลี้ยงกิ่งกระโดง 2 กระโดงไว้ผลิตกิ่งตาเขียวในปีที่ 2  เมื่อเลี้ยงกระโดงได้ 3-4 ฉัตร ก็ทำเหมือนกับเมื่อปีที่ 1 ทุกประการ การตัดแต่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตาต้นยางในปีที่ 3  เลี้ยงกระโดงได้ 4 กระโดง การตัดแต่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตาต้นยางในปีที่ 4  เลี้ยงกระโดงได้ 4-5 กระโดง และ การตัดแต่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตาต้นยางในปีที่ 5 ขึ้นไป จะเลี้ยงได้ 5-6 กระโดงๆ ละ 4 ฉัตร ฉัตรละ 5 กิ่ง ต้นแม่พันธุ์กิ่งตายางที่มีอายุ 15 ปี ควรโค่นปลูกใหม่  (จำนวนกระโดงและจำนวนฉัตรที่เลี้ยงขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และความสมบูรณ์ของต้นแม่พันธุ์)

              11)  เตรียมอุปกรณ์การตัดแต่งกิ่ง  หมายถึง การเตรียมกรรไกตัดแต่งกิ่งให้คมอยู่เสมอ เลื่อยคันธนู บันได 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
A20  ทัศนะคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้

3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ

4)  ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ