หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการระบบเตรียมการและเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ETMA-851A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการระบบเตรียมการและเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้เตรียมดินเพาะปลูกข้าว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว การเตรียมดินเพาะปลูกข้าว การจัดการระบบการผลิตหรือบริการในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว ประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว การวางแผนเตรียมดินเพาะปลูกข้าว การเตรียมเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกข้าว เตรียมดินเพาะปลูกข้าว ขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 การประยุกต์เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว การเลือกเครื่องมือเตรียมดินเพาะปลูกข้าว และแก้ปัญหาทางเทคนิคในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าวผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเตรียมการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว สามารถสำรวจข้อมูลการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว และสำรวจพื้นที่เตรียมดิน สามารถวางแผนเตรียมดินเพาะปลูกข้าว โดยกำหนดแผนการเตรียมดิน และเลือกเครื่องมือเตรียมดินที่เหมาะสมกับงาน สามารถเตรียมเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกข้าว โดยบำรุงรักษาและปรับตั้งเครื่องเตรียมดินก่อนใช้งานได้ถูกต้อง สามารถเตรียมดินเพาะปลูกข้าวครั้งที่ 1 และขั้นที่ 2 โดยปรับตั้งเครื่องเตรียมดินขั้นที่ 1 ขณะทำงาน ปฏิบัติงานเตรียมดินตามขั้นตอนด้วยความปลอดภัย ไถความลึกสม่ำเสมอและทั่วพื้นที่ เตรียมดินโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปรับตั้งเครื่องเตรียมดินขั้นที่ 2 ขณะทำงาน และพรวนย่อยปรับหน้าดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าว สามารถประยุกต์เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อตัดสินใจในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว และเลือกวิธีการเตรียมดินเพาะปลูกข้าวใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว สามารถเลือกเครื่องมือเตรียมดินเพาะปลูกข้าว โดยสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว โดยใช้หลักการในการตรวจสอบปัญหา และแก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ มีทักษะในการทำงานตามขั้นตอนปฏิบัติที่กำหนดได้อย่างปลอดภัย สามารถแก้ไขปัญหาที่พบเป็นประจำภายใต้คำแนะนำ มีความรับผิดชอบต่องานที่รับมอบหมาย และปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีม สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว โดยใช้หลักการในการตรวจสอบปัญหา และแก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ มีทักษะทางเทคนิคในการทำงาน สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A121 วางแผนเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

1.1   รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการ

A121.01 195639
A121 วางแผนเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

1.2 เตรียมดินเพาะปลูกข้าวสำรวจพื้นที่เตรียมดิน

12

A121.02 195640
A121 วางแผนเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

1.3 กำหนดแผนการเตรียมดิน

A121.03 195641
A121 วางแผนเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

1.4 เลือกเครื่องมือเตรียมดิน

A121.04 195642
A122

เตรียมเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

2.1   บำรุงรักษาเครื่องเตรียมดินก่อนใช้งาน



A122.01 195643
A122

เตรียมเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

2.2 ปรับตั้งเครื่องเตรียมดินก่อนใช้งาน

A122.02 195644
A123

เตรียมดินเพาะปลูกข้าวครั้งที่ 1

3.1   ปรับตั้งเครื่องเตรียมดินขั้นที่ 1 ขณะทำงาน
A123.01 195645
A123

เตรียมดินเพาะปลูกข้าวครั้งที่ 1

3.2   ปฏิบัติงานเตรียมดินตามขั้นตอนด้วยความปลอดภัย

A123.02 195646
A123

เตรียมดินเพาะปลูกข้าวครั้งที่ 1

3.3   ไถความลึกสม่ำเสมอและทั่วพื้นที่

A123.03 195647
A123

เตรียมดินเพาะปลูกข้าวครั้งที่ 1

3.4   เตรียมดินโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

A123.04 195648
A124

เตรียมดินเพาะปลูกข้าวครั้งที่ 2

4.1  ปรับตั้งเครื่องเตรียมดินขั้นที่ 2 ขณะทำงาน
A124.01 195649
A124

เตรียมดินเพาะปลูกข้าวครั้งที่ 2

4.2  พรวนย่อยปรับหน้าดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าว

A124.02 195650
A125

ประยุกต์เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

5.1   ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อตัดสินใจในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว
A125.01 195651
A125

ประยุกต์เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

5.2   เลือกวิธีการเตรียมดินเพาะปลูกข้าวใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

A125.02 195652
A126

เลือกเครื่องมือเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

6.1   สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว A126.01 195653
A126

เลือกเครื่องมือเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

6.2   เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

A126.02 195654
A127

แก้ปัญหาทางเทคนิคในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

7.1   ใช้หลักการในการตรวจสอบปัญหา
A127.01 195655
A127

แก้ปัญหาทางเทคนิคในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

7.2   แก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ

A127.02 195656

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ศึกษาคู่มือในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. การรวบรวมข้อมูล

  2. การวางแผน

  3. การปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย

  4. การปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

  5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  6. ทักษะการแก้ปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ขั้นตอนและแบบแผนการเตรียมดินเพื่อปลูกข้าว

  2. ชนิดของเครื่องเตรียมดิน

  3. ขั้นตอนการเตรียมดินเพื่อปลูกข้าว

  4. เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

  5. เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานเตรียมดินเพาะปลูกข้าว


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) หรือการปฏิบัติงานจริง ที่สังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



ไม่มี




  • คำอธิบายรายละเอียด




  1. การสำรวจข้อมูลการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว คือการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว และการสำรวจพื้นที่เตรียมดิน เพื่อนำไปกำหนดแผนการเตรียมดิน

  2. การวางแผนเตรียมดินเพาะปลูกข้าว คือการกำหนดแผนการเตรียมดินตามขั้นตอนวิธีการ ระยะเวลา ตลอดจนการเลือกเครื่องเตรียมดิน เพื่อให้ได้แปลงเพาะปลูกข้าวตามความต้องการ โดยปกติจะมีการเตรียมดินอยู่ 2 ขั้นตอน คือ การเตรียมดินขั้นที่ 1 ใช้รถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง ติดพ่วงไถซึ่งมีหลายชนิด ที่นิยมใช้ได้แก่ ไถผาลพรวน (disk tiller) จอบหมุนหรือโรตารี่ (rotary cultivator) แล้วจึงเตรียมดินขั้นที่ 2 ที่ย่อยดินซ้ำจนขี้ไถละเอียด ซึ่งอาจเป็นการไถแปร หรือใช้เครื่องพรวน (harrow) ช่วยพรวนย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็กลง ถ้าเป็นโรตารี่ (rotary cultivator) อาจย่อยตีดินซ้ำจนละเอียด การเตรียมดินทำนาน้ำตมหรือนาดำ ยังใช้คราด ลูกกลิ้ง หรือทุ่นลากทำเทือกให้หน้าดินละเอียดเรียบสม่ำเสมอ อาจทำหลายครั้งและใช้เครื่องมือหลายอย่างช่วย รวมทั้งการระบายน้ำเข้า-ออกจากแปลงในระหว่างการเตรียมดิน จึงต้องกำหนดเป็นแผนการเตรียมดิน

  3. การเตรียมเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกข้าว คือการเตรียมเครื่องเตรียมดินให้อยู่ในสภาพพร้อมจะทำงาน โดยการบำรุงรักษาเครื่องเตรียมดินซึ่งต้องกระทำเป็นประจำทุกวัน และการปรับตั้งเครื่องเตรียมดินให้ถูกต้องก่อนใช้งาน

  4. การเตรียมดินเพาะปลูกข้าว ขั้นที่ 1 คือการใช้แทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง ติดพ่วงเครื่องไถ และการปรับตั้งเครื่องเตรียมดินขณะไถให้อยู่ในสภาพสมดุล ไถได้แนวตรง ขี้ไถสม่ำเสมอ ได้ระดับความลึกที่ต้องการ และไถได้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ไถเตรียมดินเพาะปลูกข้าวมีหลายชนิด เช่น ไถผาลพรวน (disk tiller) โรตารี่หรือจอบหมุน (rotary cultivator) โดยเฉพาะโรตารี่หรือจอบหมุนนี้อาจใช้ได้ทั้งการไถและพรวน ขณะปฏิบัติงานเตรียมดินต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเสมอ

  5. การเตรียมดินเพาะปลูกข้าวขั้นที่ 2 คือการใช้แทรกเตอร์ติดพ่วงเครื่องพรวนเพื่อเตรียมดินขั้นที่ 2 ย่อยขี้ไถให้มีขนาดก้อนเล็กลง เครื่องพรวนนี้ ได้แก่ ไถผาลพรวน พรวน คราด ลูกกลิ้ง จอบหมุน ในกรณีปลูกข้าวดำนาหรือนาน้ำตม จะคราดเอาหญ้าหรือเศษซากที่ตกค้างผิวดินออก และสามารถปรับหน้าดินให้เรียบสม่ำเสมอด้วยการลูบเทือก ซึ่งการเตรียมดินเพื่อปลูกข้าวไร่ จะย่อยดินโดยไม่ต้องทำเทือก เมื่อทำงานในแปลงจะต้องปรับเครื่องเตรียมดินให้ทำงานในสภาพสมดุล เกลี่ยผิวหน้าดินเรียบและได้ระดับ

  6. การประยุกต์เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว คือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อตัดสินใจในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว โดยผ่านทางแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อเลือกวิธีการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว เช่น การไถโดยรบกวนดินน้อยที่สุด การหมักฟางด้วยเชื้อจุลินทรีย์เพื่อหลีกเลี่ยงการเผาฟางในแปลงก่อนการไถกลบ

  7. การเลือกเครื่องมือเตรียมดินเพาะปลูกข้าว คือการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาและตัดสินใจเลือกเครื่องมือปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับพื้นที่และลักษณะงาน  โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม

  8. การแก้ปัญหาทางเทคนิคในการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว คือการใช้หลักการหรือองค์ความรู้ในการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการเตรียมดินเพาะปลูกข้าว และแก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือการปฏิบัติงานจริง

  3. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐาน

    อื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม

    ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

  4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ