หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้และซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AKJB-850A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้และซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้เตรียมดินเพาะปลูกข้าว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการใช้และซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกข้าว ประกอบด้วยการอ่านสัญลักษณ์ความปลอดภัย การปฏิบัติงานกับรถแทรกเตอร์ตามหลักความปลอดภัย การติดรถแทรกเตอร์เข้ากับเครื่องมือติดพ่วง การบริการรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน และการซ่อมแซมรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินเบื้องต้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้และซ่อมบำรุงรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกข้าว ซึ่งใช้เป็นต้นกำลังของเครื่องมือที่มาติดพ่วง สามารถอ่านสัญลักษณ์ความปลอดภัย โดยอ่านและปฏิบัติตามสัญลักษณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยเมื่อปฏิบัติงานกับเครื่องจักรกล และใช้สัญญาณมือในการติดต่อสื่อสารขณะปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานกับรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินตามหลักความปลอดภัย โดยอ่านสัญลักษณ์และมาตรวัดบนหน้าปัดรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน ขับรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินบนถนนอย่างปลอดภัย ใช้งานรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและใช้อย่างถูกวิธี สามารถติดรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินเข้ากับเครื่องมือติดพ่วงได้ถูกต้องตามขั้นตอนอย่างปลอดภัย โดยเลือกขนาดรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินเหมาะสมกับขนาดของเครื่องมือติดพ่วง ติดและปลดเครื่องมือติดพ่วงจากรถรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินกับเครื่องมือที่ใช้งาน สามารถให้บริการรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน โดยศึกษาวิธีการใช้และการตรวจเช็ครถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินจากคู่มือประจำเครื่อง ให้บริการตามคู่มือ และเลือกชนิดและค่าความหนืดของสารหล่อลื่นถูกต้องตามมาตรฐาน สามารถซ่อมแซมรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินเบื้องต้น โดยวิเคราะห์ปัญหาความเสียหายเพื่อตัดสินใจซ่อมแซมรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน และซ่อมแซมในงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ มีทักษะทางเทคนิคในการทำงาน สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และแก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A111 อ่านสัญลักษณ์ความปลอดภัย

1.1   อ่านสัญลักษณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรกล

A111.01 195625
A111 อ่านสัญลักษณ์ความปลอดภัย

1.2 ใช้สัญญาณมือในการติดต่อสื่อสารขณะปฏิบัติงาน

A111.02 195626
A112

ปฏิบัติงานกับรถแทรกเตอร์ตามหลักความปลอดภัย

2.1   อ่านสัญลักษณ์และมาตรวัดบนหน้าปัดรถแทรกเตอร์

A112.01 195627
A112

ปฏิบัติงานกับรถแทรกเตอร์ตามหลักความปลอดภัย

2.2   ขับรถแทรกเตอร์ถนนอย่างปลอดภัย

A112.02 195628
A112

ปฏิบัติงานกับรถแทรกเตอร์ตามหลักความปลอดภัย

2.3   ใช้งานรถแทรกเตอร์โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและถูกวิธี

A112.03 195629
A113

ติดรถแทรกเตอร์เข้ากับเครื่องมือติดพ่วง

3.1   เลือกขนาดรถแทรกเตอร์เหมาะสมกับขนาดของเครื่องมือติดพ่วง

A113.01 195630
A113

ติดรถแทรกเตอร์เข้ากับเครื่องมือติดพ่วง

3.2   ติดรถแทรกเตอร์กับเครื่องมือที่ใช้งาน

A113.02 195631
A113

ติดรถแทรกเตอร์เข้ากับเครื่องมือติดพ่วง

3.3 ปลดเครื่องมือติดพ่วงจากรถแทรกเตอร์

A113.03 195632
A114

บริการรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน

4.1     ศึกษาวิธีการใช้และการตรวจเช็ครถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินจากคู่มือประจำเครื่อง

A114.01 195633
A114

บริการรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน

4.2     บริการรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินตามคู่มือกำหนด

A114.02 195634
A114

บริการรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน

4.3     ใช้เครื่องมือถูกต้องและปลอดภัย

A114.03 195635
A114

บริการรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน

4.4 เลือกชนิดและค่าความหนืดของสารหล่อลื่นถูกต้องตามมาตรฐาน

A114.04 195636
A115

ซ่อมแซมรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินเบื้องต้น

5.1   วิเคราะห์ปัญหาความเสียหายเพื่อตัดสินใจซ่อมแซมรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน

A115.01 195637
A115

ซ่อมแซมรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินเบื้องต้น

5.2 ซ่อมแซมรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินในงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ

A115.02 195638

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ศึกษาคู่มือการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. การอ่านสัญลักษณ์ความปลอดภัยและสัญลักษณ์ที่ใช้ในกับวิชาชีพ

  2. การใช้คู่มือประจำเครื่อง

  3. การใช้รถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินอย่างปลอดภัย

  4. การใช้เครื่องมือช่างอย่างปลอดภัย

  5. การวิเคราะห์ปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. สัญลักษณ์ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักรกล

  2. สัญญาณมือ

  3. ขนาดจุดติดพ่วง (categories) ของรถแทรกเตอร์และเครื่องมือ

  4. จุดตรวจและวิธีบริการรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน

  5. จุดที่เกิดปัญหาบ่อย ๆ ของรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน

  6. ค่าความหนืดของสารหล่อลื่น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ผลประเมินจากการปฏิบัติงานจริง โดยสังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

คำแนะนำ

ไม่มี



คำอธิบายรายละเอียด

การอ่านสัญลักษณ์ความปลอดภัย คือความเข้าใจสัญลักษณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยและปฏิบัติตามเมื่อปฏิบัติงานกับเครื่องจักรกล เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น และการใช้สัญญาณมือในการติดต่อสื่อสารขณะปฏิบัติงานในพื้นที่ เนื่องจากขณะปฏิบัติงานเครื่องจักรจะมีเสียงดังมาก การสื่อสารด้วยคำพูดอาจเกิดการเข้าใจผิด จึงปลอดภัยกว่าถ้าใช้สัญญาณมือ

การปฏิบัติงานกับรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินตามหลักความปลอดภัย คือการใช้รถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน โดยตระหนักถึงความปลอดภัยทั้งการใช้รถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน และเครื่องมือที่นำมาติดพ่วง สามารถประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะใช้เครื่องจักรกล ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้เกี่ยวข้อง ผู้ปฏิบัติงานต้องอ่านสัญลักษณ์และมาตรวัดบนหน้าปัดรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน ขับรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินบนถนนและใช้งานรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และใช้งานอย่างถูกวิธี

การติดรถแทรกเตอร์เข้ากับเครื่องมือ คือการติดพ่วงรถแทรกเตอร์เข้ากับเครื่องเตรียมดิน เช่น ไถ พรวน คราด จอบหมุนหรือโรตารี่ ลูกกลิ้ง ทุ่นลาก หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้เพื่อการเพาะปลูกข้าว โดยปกติรถแทรกเตอร์ 4 ล้อ ขนาดมาตรฐานมักจะติดพ่วงเครื่องเตรียมดินแบบ 3 จุด มีวิธีปฏิบัติคือ คลายโซ่ข้างให้หลวม แล้วถอยแทรกเตอร์เข้าหาเครื่องมือให้ได้แนวตรง ติดแขนล่างซ้าย แล้วจึงติดแขนล่างขวาซึ่งสามารถปรับระยะได้ จากนั้นจึงติดแขนกลาง พร้อมใส่สลักล็อกทุกจุด ทั้งนี้จะต้องเลือกขนาดรถแทรกเตอร์เหมาะสมกับขนาดของเครื่องมือติดพ่วงด้วย หากติดพ่วงกับเครื่องมือที่ใช้เพลาอำนวยกำลัง (PTO) ต้องใส่เพลาอำนวยกำลังก่อนติดแขนกลาง เช่น ติดพ่วงรถแทรกเตอร์กับจอบหมุน ในการใช้เพลาอำนวยกำลังต้องระวังใส่ปลอกเพลาอำนวยกำลังไว้เสมอ เพื่อความปลอดภัยมิให้เกิดอันตรายจากเพลาหมุน และปิดฝาครอบเพลาไว้เมื่อไม่ใช้งาน ส่วนการปลดเครื่องมือติดพ่วงจากรถแทรกเตอร์ จะปฏิบัติย้อนกลับกับการติดรถแทรกเตอร์เข้ากับเครื่องมือ

การเตรียมการซ่อมบำรุงเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกข้าว คือการศึกษาวิธีและระยะบริการเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกข้าว รวมทั้งวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมจากคู่มือประจำเครื่อง เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อคงสภาพอายุใช้งานของเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกข้าว

การบริการรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดิน

การบริการรถแทรกเตอร์ประจำวัน เป็นการบำรุงรักษารถแทรกเตอร์

ทุก ๆ 10 ชั่วโมงการใช้งานตามที่คู่มือกำหนด เช่น ก่อนใช้งานต้องตรวจวัดและเติมน้ำมันเครื่องให้ได้ระดับ ระบายน้ำและตะกอนออกจากถ้วยกรองน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจน้ำในหม้อน้ำและเติมให้ได้ระดับ ทำความสะอาดหม้อกรองดักฝุ่น และตรวจอัดจาระบีที่จุดหล่อลื่น หลังใช้งานต้องทำความสะอาดรถแทรกเตอร์ โดยเฉพาะครีบระบายความร้อน ตรวจตราจุดที่อาจเกิดชำรุดเสียหาย จุดที่ผิดปกติ เช่น ไฟส่องสว่าง ไฟเลี้ยว ไฟเบรก อุปกรณ์เครื่องวัด ตรวจฟังเสียงเครื่องยนต์ว่าปกติ เพื่อแก้ไขก่อนจะใช้งานต่อไป รวมทั้งเติมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับทำงานในวันต่อไป

การบริการเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกข้าว คือการบำรุงรักษาเครื่องเตรียมดินตามชั่วโมงทำงานที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดในคู่มือประจำเครื่อง โดยศึกษาจุดที่ต้องบำรุงรักษา และวิธีปฏิบัติทุก 10, 50, 100 และ 500 ชั่วโมงทำงาน หรืออื่น ๆ ได้จากคู่มือประจำเครื่อง เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง และการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องและปลอดภัย

การซ่อมแซมรถแทรกเตอร์และเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกข้าวเบื้องต้น คือการวิเคราะห์ปัญหาความเสียหายของเครื่องเตรียมดินเพื่อตัดสินใจซ่อมแซม เมื่อตรวจพบความเสียหายที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นงานซ่อมที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการเครื่องมือพิเศษ เช่น เปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนหลอดไฟ ปรับตั้งเครื่องยนต์ ปรับระยะฟรีคลัตช์ ปรับระยะฟรีห้ามล้อ ไล่ลมระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ปรับความตึงสายพานหรือเปลี่ยนเมื่อหมดอายุ การเปลี่ยนใบมีดตัดของโรตารี่เมื่อบิ่น หักหรือสึกหรอ การใช้ตะไบแต่งขอบผาลไถที่เสียรูป การตรวจซ่อมชิ้นส่วนที่ชำรุด หลุดหรือหลวม ตรวจขันให้แน่น เพื่อให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนหลอดไฟ ปรับตั้งเครื่องยนต์ ปรับระยะฟรีคลัตช์ ปรับระยะฟรีห้ามล้อ ไล่ลมระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ปรับความตึงสายพานหรือเปลี่ยนเมื่อหมดอายุและเครื่องเตรียมดินอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยศึกษาวิธีการตรวจเช็คและซ่อมแซมเปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนหลอดไฟ ปรับตั้งเครื่องยนต์ ปรับระยะฟรีคลัตช์ ปรับระยะฟรีห้ามล้อ ไล่ลมระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ปรับความตึงสายพานหรือเปลี่ยนเมื่อหมดอายุและเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกข้าวจากคู่มือประจำเครื่อง



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

  2. ประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานจริง

  3. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐาน

    อื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม

    ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

  4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ