หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ของกังหันลม (Wind Turbine)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-HPFE-559A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ของกังหันลม (Wind Turbine)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

       อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าของกังหันลม คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม ซึ่งสามารถควบคุมการตรวจสอบและตรวจสภาพเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ ควบคุมการทดสอบระบบการทำงาน (Function) ระบบป้องกันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ ควบคุมการแก้ไขปรับแต่งและปรับปรุงอุปกรณ์หลักและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พร้อมรายงานและสรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลมได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    กฎระเบียบด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า      -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.2    กฎระเบียบด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานที่สูง     -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานที่สูง 10.3    กฎระเบียบด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้รอกและสลิง     -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ   พ.ศ. 2564     -    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิงและรอก พ.ศ. 255310.4    กฎระเบียบด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานกับสารเคมี     -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 255610.5    กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศ     -    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562     -    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรฝึกอบรมความปลอดภัยการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 256410.6    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 256310.7    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย         อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน      จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลายและจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 256410.8    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-WM01-5-002-01

บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ของกังหันลม

1. อธิบายโครงสร้าง หลักการทำงาน และรายละเอียดต่าง ๆ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้อย่างถูกต้อง

PGS-WM01-5-002-01.01 195504
PGS-WM01-5-002-01

บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ของกังหันลม

2. ควบคุมการตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-WM01-5-002-01.02 195505
PGS-WM01-5-002-01

บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ของกังหันลม

3. ควบคุมการทดสอบทางไฟฟ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-WM01-5-002-01.03 195506
PGS-WM01-5-002-01

บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ของกังหันลม

4. ควบคุมการทดสอบระบบการทำงาน (Function) และระบบป้องกันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-WM01-5-002-01.04 195507
PGS-WM01-5-002-01

บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ของกังหันลม

5. วิเคราะห์ผลทดสอบทางไฟฟ้าและการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-WM01-5-002-01.05 195508
PGS-WM01-5-002-02

สรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ของกังหันลม

1. สรุปรายงานผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-WM01-5-002-02.01 195509
PGS-WM01-5-002-02

สรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ของกังหันลม

2. สรุปรายงานผลการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-WM01-5-002-02.02 195510
PGS-WM01-5-002-02

สรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ของกังหันลม

3. นำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนและข้อเสนอแนะในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

PGS-WM01-5-002-02.03 195511

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1    ทฤษฎีเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 

12.2    ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 

12.3    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือพื้นฐานทั่วไป อุปกรณ์จำพวกเครื่องมือวัด เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ เช่น การจําแนกประเภทและคุณลักษณะ การวัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ เป็นต้น

12.4    ความรู้เรื่องวัสดุ (Material)

12.5    ความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงาน (Function) และระบบป้องกันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม 

12.6    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลทดสอบของผลทางไฟฟ้าและการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

    1.    ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือพื้นฐาน (เครื่องมือช่าง และเครื่องมือวัด) และเครื่องมือพิเศษสำหรับปฏิบัติงานกับบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม 

    2.    ทักษะการตรวจตรวจสภาพเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลมและอุปกรณ์ประกอบ รวมทั้งระบบ Monitoring

    3.    ทักษะการทดสอบและการวัดค่าทางไฟฟ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลมและอุปกรณ์ประกอบ

    4.    ทักษะการวิเคราะห์ความผิดปกติผลการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลมและอุปกรณ์ประกอบ

    5.    ทักษะการแก้ไข ปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลมและอุปกรณ์ประกอบเมื่อเกิดเหตุผิดปกติ

    6.    ทักษะการใช้เครื่องมือในการถอดประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลมและอุปกรณ์ประกอบ



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

    7.    ทักษะการติดต่อประสานงาน

    8.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

    9.    ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

    10.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

    11.    ทักษะการนำเสนอผลงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1.    ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ผลการทดสอบงานบำรุงรักษาระบบและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม

    2.    ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นที่ได้จากการวัดในการบำรุงรักษาระบบและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม

    3.    หลักการคำนวณพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น แรงดัน กระแส ค่าความต้านทานหรือการเหนี่ยวนำ

    4.    หลักการทดสอบ (Function & Operation Test) เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม ก่อนและระหว่างนำเข้าใช้งาน

    5.    ความรู้สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม 

    6.    วิธีการใช้เครื่องมือ (เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ) ในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ของกังหันลม 

    7.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม

    8.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม 

    9.    ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบ P&ID (Piping and Instrumentation Diagram) และแบบไดอะแกรมแผนผัง (Schematic Diagram)

    10.  การเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

        หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการสามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

     1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

     2.    ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

     3.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

     4.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ความสามารถปฏิบัติงาน)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

     1.    หลักฐานการศึกษา

     2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

     3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

     4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

     5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสม (ความรู้) 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ



(ง) วิธีการประเมิน

      1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

      2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

         ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในเรื่องโครงสร้าง หลักการทำงาน  และขั้นตอนในการบำรุงรักษา พร้อมทั้งการสรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม ได้แก่ การตรวจสอบ การปรับปรุงอุปกรณ์หลักและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม 



(ก)  คำแนะนำ 

       ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาปรับปรุง อุปกรณ์หลักและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการบำรุงรักษาดังกล่าว



(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

    1.    บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในกังหันลม 

         -    อธิบายโครงสร้าง หลักการทำงานและรายละเอียดต่าง ๆ  ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้อย่างถูกต้อง

         ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ที่ติดตั้งในกังหันลม

         -    ควบคุมการตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

         ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีการตรวจสภาพเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม และอุปกรณ์ประกอบ เลือกใช้วิธีและเครื่องมือที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ รวมถึงตระหนักในอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือในการทำงาน รู้ข้อควรระวังเป็นพิเศษที่ต้องมีอันเนื่องจากสภาพการทำงาน มีทักษะในการดำเนินการและการสื่อสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในระหว่างใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษสำหรับการตรวจสภาพเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม และอุปกรณ์ประกอบ

         -    ควบคุมการทดสอบทางไฟฟ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

         ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีการทดสอบทางไฟฟ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบ

          -    ควบคุมการทดสอบระบบการทำงาน (Function) และระบบป้องกันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนวิธีการการทดสอบระบบการทำงาน (Function) และระบบป้องกันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ

          -    วิเคราะห์ผลทดสอบทางไฟฟ้าและการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจหลักการในวิเคราะห์ผลทดสอบของผลทางไฟฟ้าและการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลมและอุปกรณ์ประกอบ

     2.    สรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในกังหันลม

          -    สรุปรายงานผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถสรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลมได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

          -    สรุปรายงานผลการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถสรุปผลการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม หลังการติดตั้งใหม่ ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

          -    นำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนและข้อเสนอแนะในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบในกังหันลมได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถนำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผน ให้ข้อเสนอแนะในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม และสามารถตอบรายละเอียดข้อซักถามโดยให้เหตุผลสนับสนุนได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม

       (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  ของกังหันลม 

       (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ของกังหันลม 

       (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม 

18.2 เครื่องมือประเมิน สรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม

       (1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการสรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม

       (2)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการสรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม

       (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสรุปผลการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม



ยินดีต้อนรับ