หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงวิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยเทคโนโลยี

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-IAZX-843A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงวิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยเทคโนโลยี

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้เก็บเกี่ยวอ้อย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงวิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วยการควบคุมกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อย และการปรับปรุงกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อย     ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปรับปรุงวิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยเทคโนโลยี สามารถควบคุมกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อย โดยกำหนดเป้าหมายและตรวจสอบเก็บเกี่ยวอ้อยทั้งคุณภาพและปริมาณ สามารถปรับปรุง กระบวนการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อย โดยประเมินข้อมูลเพื่อพัฒนาการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อย และดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อย มีทักษะทางเทคนิคในการทำงานและทักษะในการควบคุมงาน สามารถกำกับดูแลควบคุมกระบวนการทำงานและปรับปรุงคุณภาพผลงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลักการสำคัญในงานอาชีพ และมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B641

ควบคุมกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อย

1.1 กำหนดเป้าหมายคุณภาพการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อย

B641.01 213243
B641

ควบคุมกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อย

1.2 ตรวจสอบคุณภาพการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อยให้เป็นไปตามเป้าหมาย

B641.02 213244
B641

ควบคุมกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อย

1.3 กำหนดเป้าหมายปริมาณการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อย

B641.03 213245
B641

ควบคุมกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อย

1.4 ตรวจสอบปริมาณการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อยให้เป็นไปตามเป้าหมาย

B641.04 213246
B642

ปรับปรุงกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อย

2.1 ประเมินข้อมูลเพื่อพัฒนาการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อย

B642.01 213247
B642

ปรับปรุงกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อย

2.2 ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อย

B642.02 213248

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. รวบรวมข้อมูลการเก็บเกี่ยวอ้อย

2. วิเคราะห์ข้อมูลและการใช้ข้อมูลในการวางแผนการเก็บเกี่ยวอ้อย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การประสานการทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมและปรับปรุงกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อย

2.    การวิเคราะห์ข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

การรักษาคุณภาพผลผลิตอ้อยขณะเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) ที่ใช้สังเกตความ สามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสอบจากหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    การควบคุมกระบวนการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อย คือการกำหนดเป้าหมายคุณภาพและปริมาณการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อย และมีการตรวจสอบให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 

2.    การปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อย คือการนำข้อมูลมาประเมินเพื่อพัฒนาการผลิตหรือบริการ แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือบริการเก็บเกี่ยวอ้อยต่อไป


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

2.    หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

3.    รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ