หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการดูแลรักษาอ้อย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ZJQX-834A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการดูแลรักษาอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ดูแลรักษาอ้อย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมการบำรุงรักษาอ้อย ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนให้น้ำอ้อย การให้ปุ๋ย และการป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย โดยคำนึงถึงการให้น้ำอ้อยในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม การให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย และการป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย     ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการวางแผนดูแลรักษาอ้อย โดย กำหนดแผนการให้น้ำตามความต้องการแต่ละช่วงอายุของอ้อย สามารถให้น้ำอ้อยในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม สามารถวางแผนให้ปุ๋ยอ้อยและคำนวณปริมาณปุ๋ยที่ใช้ สามารถให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย และให้ปุ๋ยโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถวางแผนป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย สามารถป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย โดยป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยตามแผนการป้องกัน/กำจัด อาจใช้วิธีการเขตกรรม ใช้วิธีกล ชีววิธี หรือใช้สารเคมี ปรับตั้งเครื่องป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยก่อนใช้งาน และป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และแก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B311

วางแผนให้น้ำอ้อย

1.1 สำรวจข้อมูลแหล่งน้ำและปริมาณความต้องการน้ำของอ้อย

B311.01 213171
B311

วางแผนให้น้ำอ้อย

1.2 กำหนดแผนการให้น้ำ

B311.02 213172
B312

วางแผนให้ปุ๋ยอ้อย

2.1 สำรวจดินและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการให้ปุ๋ยอ้อย 

B312.01 213173
B312

วางแผนให้ปุ๋ยอ้อย

2.2 กำหนดแผนการให้ปุ๋ยอ้อย

B312.02 213174
B312

วางแผนให้ปุ๋ยอ้อย

2.3 คำนวณปริมาณปุ๋ยที่ใช้

B312.03 213175
B313

วางแผนป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย

3.1 สำรวจพื้นที่และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศัตรูอ้อยและการป้องกัน/กำจัด

B313.01 213176
B313

วางแผนป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย

3.2 ใช้วิธีผสมผสานในการป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย

B313.02 213177
B313

วางแผนป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย

3.3 กำหนดแผนการป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย 

B313.03 213178
B313

วางแผนป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย

3.4 คำนวณปริมาณการฉีดพ่นสารเคมี

B313.04 213179
B314

ให้น้ำอ้อยในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม

4.1 จัดการระบบน้ำในไร่อ้อย

B314.01 213180
B314

ให้น้ำอ้อยในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม

4.2 ให้น้ำตามแผนการให้น้ำ

B314.02 213181
B315

ให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย

5.1 ให้ปุ๋ยอ้อยตามแผนการให้ปุ๋ย

B315.01 213182
B315

ให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย

5.2 ปรับตั้งเครื่องให้ปุ๋ยก่อนใช้งาน

B315.02 213183
B315

ให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย

5.3 ให้ปุ๋ยโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

B315.03 213184
B316

ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย

6.1 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยตามแผนการป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย

B316.01 213185
B316

ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย

6.2 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยการเขตกรรม

B316.02 213186
B316

ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย

6.3 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดย  วิธีกลหรือชีววิธี

B316.03 213187
B316

ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย

6.4 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยใช้สารเคมี

B316.04 213188
B316

ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย

6.5 ป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและสิ่งแวดล้อม

B316.05 213189

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความต้องการน้ำและปุ๋ยของอ้อย

2.สารเคมีที่ใช้ ข้อจำกัดหรือข้อควรระวังในการใช้และห้ามใช้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การวางแผน

2.    การสำรวจพื้นที่และรวบรวมข้อมูล

3.    การป้องกัน/กำจัดศัตรู ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด

4.    การคำนวณน้ำหนักและปริมาตร

5.    การปฏิบัติงานโดยปลอดภัยต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความต้องการน้ำและปุ๋ยที่ระยะการเจริญเติบโตต่าง ๆ ของอ้อย

2.    วิธีป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยให้ได้ผลและปลอดภัย

3.    วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ไม่ควรใช้

4.    การใช้สารเคมีให้ถูกชนิด ถูกขนาด ถูกเวลาและตรงเป้าหมายที่ต้องการ

5.    วิธีป้องกัน/กำจัดวัชพืช โดยไม่ใช้สารเคมี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) ที่ใช้สังเกตความ สามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสอบจากหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    การวางแผนให้น้ำอ้อย คือการกำหนดแผนการให้น้ำ มีการสำรวจข้อมูลแหล่งน้ำและปริมาณความต้องการน้ำของอ้อย ศึกษาข้อมูลความต้องการน้ำแต่ละช่วงอายุของอ้อย โดยวางแผนกำหนดช่วงเวลาให้น้ำตามระยะการเจริญเติบโตและความต้องการน้ำของอ้อยจนกระทั่งถึงฤดูเก็บเกี่ยว

2.    การวางแผนให้ปุ๋ยอ้อย คือการกำหนดแผนให้ปุ๋ยตามระยะการเจริญเติบโตของอ้อย ตั้งแต่การสำรวจดินและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการให้ปุ๋ยอ้อย กำหนดชนิดปุ๋ย อัตราปุ๋ย และช่วงระยะเวลาการให้ปุ๋ย ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพดิน พันธุ์อ้อย ธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ความต้องการธาตุอาหารแต่ละช่วงเวลาของอ้อย ฤดูกาล และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ การให้ปุ๋ยต้องสามารถคำนวณปริมาณปุ๋ยเพื่อให้ตามความต้องการของอ้อย โดยคำนึงถึงผลตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม

3.    การวางแผนป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย คือการสำรวจพื้นที่และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของศัตรูอ้อย วิธีการป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย ใช้วิธีผสมผสานในการป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย เพื่อนำมากำหนดแผนป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยตามช่วงการเข้าทำลาย โดยคำนึงถึงผลตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม อาจเลือกป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยด้วยชีววิธี หรือใช้วิธีกล หรือใช้สารเคมี หรือผสมผสานกันหลายวิธี เลือกชนิดของสารเคมีที่จะใช้ มีการกำหนดแผนป้องกันก่อนการเข้าทำลาย และคำนวณปริมาณการฉีดพ่นสารเคมี เพื่อกำจัดศัตรูพืชเมื่อเกิดการระบาดให้ได้ผล 

4.    การให้น้ำอ้อยในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม คือการจัดการระบบน้ำในไร่อ้อย วิธีการให้น้ำจะแตกต่างกันไปและต้องมีการวางระบบล่วงหน้า เช่น การให้น้ำแบบราดร่องจะปล่อยน้ำเข้าระหว่างร่องอ้อย วิธีนี้จะต้องปรับพื้นที่ให้ลาดเอียงเล็กน้อยก่อนปลูกเพื่อให้น้ำไหลเข้าแปลง การใช้ระบบน้ำหยด จะต้องมีการวางสายน้ำหยดตามแถวอ้อย และระบบสปริงเกลอร์ต้องมีการกำหนดจุดให้น้ำและระยะเวลาการให้น้ำ แล้วจึงดำเนินการให้น้ำตามแผนการให้น้ำ ซึ่งกำหนดตามความต้องการน้ำของอ้อยในช่วงอายุต่าง ๆ 

5.    การให้ปุ๋ยตามความต้องการของอ้อย คือการหว่านหรือโรยปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารที่อ้อยต้องการในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโตตามแผนการให้ปุ๋ย และให้ปุ๋ยอ้อยโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

6.    การป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยอย่างปลอดภัย คือการป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยทั้งโดยการใช้และไม่ใช้สารเคมี 

การป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยไม่ใช้สารเคมี ด้วยวิธีการเขตกรรมเป็นการจัดการระบบการเพาะปลูก ที่สร้างเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช โดยจัดการระบบเพาะปลูกในเชิงของพื้นที่หรือเวลา ที่มีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ การปรับเปลี่ยนร่มเงาและสภาพภูมิอากาศในฟาร์ม หรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการระบาดของโรคและแมลง เช่น ไถกลบก่อนปลูกเพื่อลดวัชพืช คลุมดินด้วยอินทรียวัตถุต่าง ๆ เพื่อควบคุมวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน การเขตกรรมที่ดีอาจเป็นการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการระบาดของเชื้อรา โรคหรือแมลงบางชนิด การปลูกพืชหลากหลาย การปลูกพืชร่วม การปลูกพืชไล่และล่อแมลง การปลูกพืชเป็นแนวป้องกัน หรือการปลูกพืชในเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น

การป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยโดยไม่ใช้สารเคมี นอกจากวิธีการเขตกรรมแล้ว อาจกระทำโดยวิธีกล เช่น การใช้เครื่องกำจัดวัชพืชระหว่างแถวต้นอ้อย การใช้กับดัก หรือใช้ชีววิธี เช่น การฉีดพ่นสารชีวภาพ การใช้เชื้อราเมตตาไรเซียม (metarhizium) ควบคุมด้วงหนวดยาวอ้อย การเลี้ยงขยายพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไข่ แตนเบียนหนอน ช่วยป้องกัน/กำจัดหนอนกออ้อย และแมลงตัวห้ำ เช่น มด แมลงหางหนีบ

ส่วนการใช้สารเคมีป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อย จะต้องเลือกชนิดและความเข้มข้นของสารเคมีที่จะใช้ เนื่องจากการใช้สารเคมีเพื่อป้องกัน/กำจัดศัตรูพืชให้ได้ผลนั้น จะต้องใช้ให้ถูกชนิด ถูกขนาด ถูกเวลา และตรงเป้าหมายที่ต้องการ จึงต้องอ่านสลากและคำนวณความเข้มข้นของสารเคมี จากนั้นจึงผสมสารเคมีให้ได้ความเข้มข้นที่ถูกต้อง มีการปรับตั้งเครื่องป้องกัน/กำจัดศัตรูอ้อยก่อนใช้งาน เช่น เมื่อใช้เครื่องฉีดพ่นสารเคมี ต้องปรับตั้งให้ฉีดพ่นได้ปริมาณที่เหมาะสม ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือการปฏิบัติงานจริง

2.    หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

3.    รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ