หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการปลูกอ้อย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-IWGK-833A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการปลูกอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปลูกอ้อย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการปลูกอ้อย ประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลการปลูกอ้อย การวางแผนปลูกอ้อย การเตรียมเครื่องปลูกอ้อย การจัดการท่อนพันธุ์อ้อย การประยุกต์เทคนิควิธีการปลูกอ้อย การเลือกเครื่องมือปลูกอ้อย และการแก้ปัญหาทางเทคนิคในการปลูกอ้อย     ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเตรียมการปลูกอ้อย สามารถสำรวจข้อมูลการปลูกอ้อย โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกอ้อย และสำรวจพื้นที่ปลูกอ้อย สามารถวางแผนปลูกอ้อย โดยกำหนดแผนการปลูกอ้อยและเลือกพันธุ์อ้อยเหมาะสมกับฤดูกาลและพื้นที่ปลูก สามารถเตรียมเครื่องปลูกอ้อยให้พร้อมใช้งาน จัดการท่อนพันธุ์อ้อย โดยจัดหาท่อนพันธุ์คุณภาพที่อายุเหมาะสม และป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงให้กับท่อนพันธุ์ การจัดการระบบการผลิตหรือบริการในการปลูกอ้อย สามารถประยุกต์เทคนิควิธีการปลูกอ้อย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อตัดสินใจในการปลูกอ้อย เลือกวิธีการปลูกอ้อย และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคในการปลูกอ้อย โดยใช้หลักการในการตรวจสอบปัญหา และแก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ มีทักษะทางเทคนิคในการทำงาน สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B211

สำรวจข้อมูลการปลูกอ้อย

1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกอ้อย

B211.01 213156
B211

สำรวจข้อมูลการปลูกอ้อย

1.2 สำรวจพื้นที่เพื่อกำหนดวิธีปลูก

B211.02 213157
B212

วางแผนปลูกอ้อย

2.1 กำหนดแผนการปลูกอ้อยตามวิธีการปลูก

B212.01 213158
B212

วางแผนปลูกอ้อย

2.2 เลือกพันธุ์อ้อยเหมาะสมกับฤดูกาลและพื้นที่ปลูก

B212.02 213159
B213

เตรียมเครื่องปลูกอ้อย

3.1 บำรุงรักษาเครื่องปลูกก่อนใช้งาน

B213.01 213160
B213

เตรียมเครื่องปลูกอ้อย

3.2 ปรับตั้งเครื่องปลูกอ้อยก่อนใช้งาน

B213.02 213161
B214

จัดการท่อนพันธุ์อ้อย

4.1 จัดหาท่อนพันธุ์คุณภาพที่อายุเหมาะสม

B214.01 213162
B214

จัดการท่อนพันธุ์อ้อย

4.2 ป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงให้กับท่อนพันธุ์

B214.02 213163
B215

ปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูกโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

5.1 ปรับตั้งเครื่องปลูกอ้อยขณะทำงาน

B215.01 213164
B215

ปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูกโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

5.2 ปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูก

B215.02 213165
B216

ประยุกต์เทคนิควิธีการปลูกอ้อย

6.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อตัดสินใจในการปลูกอ้อย

B216.01 213166
B216

ประยุกต์เทคนิควิธีการปลูกอ้อย

6.2 เลือกวิธีการปลูกอ้อย 

B216.02 213167
B216

ประยุกต์เทคนิควิธีการปลูกอ้อย

6.3 ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย 

B216.03 213168
B217

แก้ปัญหาทางเทคนิคในการปลูกอ้อย

7.1 ใช้หลักการในการตรวจสอบปัญหา

B217.01 213169
B217

แก้ปัญหาทางเทคนิคในการปลูกอ้อย

7.2 แก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ

B217.02 213170

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

กรณีใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์เพื่อการปลูกอ้อย ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็นคือ

    1. B11 ใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์เพื่อการเพาะปลูกอ้อย

    2. พันธุ์อ้อย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การรวบรวมข้อมูล

2.    การวางแผน

3.    การจำแนกท่อนพันธุ์อ้อยได้ตามสายพันธุ์

4.    การปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและสิ่งแวดล้อม

5.    การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

6.    ทักษะการแก้ปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ชนิดของพันธุ์อ้อย

2.    ชนิดของเครื่องปลูกอ้อย

3.    ลักษณะพันธุ์อ้อยสายพันธุ์ต่างๆ

4.    ลักษณะท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ

5.    เทคนิควิธีการปลูกอ้อย

6.    เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานปลูกอ้อย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) หรือการปฏิบัติงานจริง ที่สังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสอบจากหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    การสำรวจข้อมูลการปลูกอ้อย คือการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกอ้อย และสำรวจพื้นที่ปลูก เช่น เป็นพื้นที่ดอนหรือที่ลุ่ม ลักษณะเนื้อดิน เป็นดินทราย ดินร่วน หรือดินเหนียว อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนโลหะหนักและวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลผลิต ในระดับที่เกินมาตรฐานตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2.    การวางแผนการปลูกอ้อย คือการกำหนดแผนการปลูกอ้อยตามวิธีการปลูก ซึ่งจะต้องมีความพร้อมทั้งการเตรียมแปลงปลูก การเลือกและเตรียมท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมกับฤดูกาลและพื้นที่ปลูก การเลือกเครื่องมือเครื่องจักรและแรงงานที่ใช้ วิธีการปลูกอ้อยอาจปฏิบัติแตกต่างกันไป 

3.    การเตรียมเครื่องปลูกอ้อย คือการเตรียมเครื่องปลูกให้อยู่ในสภาพพร้อมจะทำงาน โดยบำรุงรักษาและปรับตั้งเครื่องปลูกอ้อยก่อนใช้งาน การบำรุงรักษาเครื่องปลูกอ้อยก่อนใช้งาน คือการตรวจเช็คและบำรุงรักษาเครื่องประจำวันก่อนการปลูกทั้งรถแทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลังและเครื่องปลูกอ้อย ได้แก่ ตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องและเติมให้ได้ระดับ ทำความสะอาดกรองน้ำมันเชื้อเพลิงและกรองอากาศ ตรวจความตึงสายพาน หล่อลื่นตามจุดหล่อลื่น และตรวจขันนอตที่จุดยึดต่าง ๆ ให้แน่น 

4.     การจัดการท่อนพันธุ์อ้อย คือการจัดหาท่อนพันธุ์คุณภาพที่มีอายุเหมาะสม และปลอดจากโรคและแมลง จึงต้องมีการป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงแก่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก การจัดหาท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพจะต้องเตรียมให้เพียงพอกับพื้นที่ปลูก สามารถจำแนกพันธุ์อ้อยให้ได้ท่อนพันธุ์ตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ ท่อนพันธุ์ควรมีอายุประมาณ 8-10 เดือน และยังไม่ออกดอก ตาอ้อยสมบูรณ์ มีกาบหุ้มติดอยู่ ส่วนการป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงที่อาจติดมากับท่อนพันธุ์ก่อนขนย้ายท่อนพันธุ์ไปยังแปลงปลูก ทำได้โดยการแช่ในน้ำร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หรือผ่านน้ำยากันเชื้อรา เป็นต้น

5.     การปลูกอ้อยโดยคำนึงถึงความปลอดภัย คือการปลูกโดยใช้เครื่องปลูกอ้อยที่ติดพ่วงกับรถแทรกเตอร์ ผู้ป้อนท่อนพันธุ์จะอยู่บนเครื่องปลูก ป้อนลำอ้อยเข้าเครื่อง เครื่องปลูกอ้อยจะยกร่อง ตัดท่อน วางท่อนพันธุ์ กลบ และกดดินให้จับกับท่อนพันธุ์ สามารถปรับตั้งให้เครื่องปลูกได้ตามความลึกและระยะปลูกที่ต้องการ บางเครื่องอาจติดตั้งถังปุ๋ยและใส่ปุ๋ยตามลงไปในร่องอ้อยในคราวเดียวขณะปลูก ในกรณีนี้จะต้องปรับตั้งปริมาณการใส่ปุ๋ยตามอัตราปุ๋ยที่ต้องการด้วย

6.     การประยุกต์เทคนิควิธีการปลูกอ้อย คือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อตัดสินใจในการปลูกอ้อย โดยผ่านทางแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อเลือกวิธีการและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย 

7.     การเลือกเครื่องมือปลูกอ้อย คือการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการปลูกอ้อย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาและตัดสินใจเลือกเครื่องมือปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับพื้นที่และลักษณะงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม

8.     การแก้ปัญหาทางเทคนิคในการปลูกอ้อย คือการใช้หลักการหรือองค์ความรู้ในการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการปลูกอ้อย และการแก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือการปฏิบัติงานจริง

2.    หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

3.    รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ