หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกอ้อย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-LCRR-832A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้เตรียมดินเพาะปลูกอ้อย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกอ้อย ประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย การเตรียมดินเพาะปลูกอ้อยขั้นที่ 1 โดยการไถพลิกดินหรือตีย่อยดิน จากนั้นจึงเตรียมดินเพาะปลูกอ้อยขั้นที่ 2 ด้วยการพรวนย่อยดินให้มีขนาดก้อนเล็กลง การประยุกต์เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย การเลือกเครื่องมือเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย และการแก้ปัญหาทางเทคนิคในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย     ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการสำรวจข้อมูลการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย การเตรียมดินเพาะปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องเตรียมดิน สามารถเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย ขั้นที่ 1 โดยปรับตั้งเครื่องเตรียมดินขณะทำงาน ปฏิบัติงานเตรียมดินตามขั้นตอนด้วยความปลอดภัย ไถเตรียมดินได้ความลึกสม่ำเสมอและทั่วพื้นที่ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย ขั้นที่ 2 โดยปรับตั้งเครื่อง เตรียมดินขณะทำงาน และใช้พรวนย่อยปรับหน้าดินให้เหมาะสมกับการปลูกอ้อย สามารถประยุกต์เทคนิควิธีการเตรียมดิน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อตัดสินใจในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย เลือกวิธีการเตรียมดิน และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเตรียมดิน สามารถเลือกเครื่องมือเตรียมดิน โดยสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมดิน และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการเตรียมดิน สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย โดยใช้หลักการในการตรวจสอบปัญหา และแก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ มีทักษะทางเทคนิคในการทำงาน สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B131

สำรวจข้อมูลการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

B131.01 213139
B131

สำรวจข้อมูลการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

1.2 สำรวจพื้นที่เตรียมดิน

B131.02 213140
B132

เตรียมเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

2.1 บำรุงรักษาเครื่องเตรียมดินก่อนใช้งาน

B132.01 213141
B132

เตรียมเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

2.2 ปรับตั้งเครื่องเตรียมดินก่อนใช้งาน

B132.02 213142
B133

เตรียมดินเพาะปลูกอ้อยครั้งที่ 1

3.1 ปรับตั้งเครื่องเตรียมดินขั้นที่ 1 ขณะทำงาน

B133.01 213143
B133

เตรียมดินเพาะปลูกอ้อยครั้งที่ 1

3.2 ปฏิบัติงานเตรียมดินตามขั้นตอนด้วยความปลอดภัย

B133.02 213144
B133

เตรียมดินเพาะปลูกอ้อยครั้งที่ 1

3.3 ไถความลึกสม่ำเสมอและทั่วพื้นที่

B133.03 213145
B133

เตรียมดินเพาะปลูกอ้อยครั้งที่ 1

3.4 เตรียมดินโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

B133.04 213146
B134

เตรียมดินเพาะปลูกอ้อยครั้งที่ 2

4.1 ปรับตั้งเครื่องเตรียมดินขั้นที่ 2 ขณะทำงาน

B134.01 213147
B134

เตรียมดินเพาะปลูกอ้อยครั้งที่ 2

4.2 พรวนย่อยปรับหน้าดินให้เหมาะสมกับการปลูกอ้อย

B134.02 213148
B135

ประยุกต์เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

5.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อตัดสินใจในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

B135.01 213149
B135

ประยุกต์เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

5.2 เลือกวิธีการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

B135.02 213150
B135

ประยุกต์เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

5.3 ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

B135.03 213151
B136

เลือกเครื่องมือเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

6.1 สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

B136.01 213152
B136

เลือกเครื่องมือเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

6.2 เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

B136.02 213153
B137

แก้ปัญหาทางเทคนิคในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

7.1 ใช้หลักการในการตรวจสอบปัญหา

B137.01 213154
B137

แก้ปัญหาทางเทคนิคในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย

7.2 แก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ

B137.02 213155

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

กรณีใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์เพื่อการเตรียมดิน ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็นคือ

B11 ใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์เพื่อการเพาะปลูกอ้อย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การรวบรวมข้อมูล

2.    การปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย

3.    การปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

4.    การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5.    การแก้ไขปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ขั้นตอนและแบบแผนการเตรียมดินเพื่อปลูกอ้อย

2.    เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย 

3.    เครื่องมือที่ใช้ในการปิบัติงานเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) หรือการปฏิบัติงานจริง ที่สังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสอบจากหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข)    คำแนะนำ 

ไม่มี

(ค)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    การสำรวจข้อมูลการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย คือการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย และการสำรวจพื้นที่เตรียมดิน เพื่อนำไปกำหนดแผนการเตรียมดิน

2.    การเตรียมเครื่องเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย คือการเตรียมเครื่องเตรียมดินให้อยู่ในสภาพพร้อมจะทำงานโดยการบำรุงรักษาเครื่องเตรียมดิน ซึ่งต้องกระทำเป็นประจำทุกวัน และการปรับตั้งเครื่องเตรียมดินให้ถูกต้องก่อนใช้งาน

3.    การเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย ขั้นที่ 1 คือการใช้แทรกเตอร์/เครื่องต้นกำลัง ติดพ่วงเครื่องไถ ที่นิยมใช้เป็นไถบุกเบิกผาล 3 ไถเมื่อดินมีความชื้นเหมาะสมให้ได้ระดับความลึก 30-50 เซนติเมตร โดยปรับตั้งเครื่องเตรียมดินขณะไถให้อยู่ในสภาพสมดุล ไถได้แนวตรง ขี้ไถสม่ำเสมอ ได้ระดับความลึกที่ต้องการ และไถได้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ไถเตรียมดินเพาะปลูกอ้อยมีหลายชนิด เช่น ไถบุกเบิก (disk plow) โดยเฉพาะโรตารี่หรือจอบหมุนนี้อาจใช้ได้ทั้งการไถและพรวน ถ้ามีชั้นดินดานหรือมีการอัดตัวแน่นหรือปลูกอ้อยมานาน ควรมีการระเบิดดินดานโดยใช้ไถดินดาน (subsoiler) หรือ ริปเปอร์ (ripper) ไถให้ลึกไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร เพื่อเพิ่มความสามารถในการเก็บน้ำของดินและรากสามารถเจริญหยั่งลึกไปหาน้ำได้ ถ้าปลูกอ้อยปลายฝนบางครั้งอาจใช้เครื่องมือชนิดที่ทำงานเสร็จภายในครั้งเดียวคือสามารถเตรียมดินได้ละเอียดตั้งแต่ไถดะ ไถแปร พรวน และชักร่องปลูก เพื่อลดการสูญเสียความชื้น ขณะปฏิบัติงานเตรียมดินต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเสมอ 

4.    การเตรียมดินเพาะปลูกอ้อยขั้นที่ 2 คือการใช้แทรกเตอร์ติดพ่วงเครื่องพรวนเพื่อเตรียมดินขั้นที่ 2 ย่อยขี้ไถให้มีขนาดก้อนเล็กลง เครื่องพรวนนี้ ได้แก่ ไถผาลพรวนหรือไถผาล 7 (disk tiller) โรตารี่หรือจอบหมุน (rotary cultivator) พรวนจาน (disk harrow) คราดสปริง 

5.    การประยุกต์เทคนิควิธีการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย คือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อตัดสินใจในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย โดยผ่านทางแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อเลือกวิธีการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย เช่น การใช้เครื่องมือที่ทำงานได้หลายอย่างในขั้นตอนเดียว การไถตัดและคลุกกลบใบอ้อย

6.    การเลือกเครื่องมือเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย คือการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อยเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาและตัดสินใจเลือกเครื่องมือปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับพื้นที่และลักษณะงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม

7.    การแก้ปัญหาทางเทคนิคในการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย คือการใช้หลักการหรือองค์ความรู้ในการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการเตรียมดินเพาะปลูกอ้อย และแก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือการปฏิบัติงานจริง

2.    หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน

3.    รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ



ยินดีต้อนรับ