หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การตรวจสอบ ภายหลังการดับเพลิงเสร็จสิ้น

สาขาวิชาชีพการบรรเทาสาธารณภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DPM-QVJB-161A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การตรวจสอบ ภายหลังการดับเพลิงเสร็จสิ้น

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 88 516  พนักงานให้บริการด้านการป้องกันภัย

ISCO 88 5161 พนักงานดับเพลิง

ISCO 88 5162 เจ้าหน้าที่ตํารวจ

ISCO 88 5169 พนักงานให้การบริการป้องกันภัย 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เพื่อให้มั่นใจว่าการดับเพลิงประสบความสำเร็จ อธิบายวิธีระงับเหตุเพลิงไหม้แล้วเสร็จ นักดับเพลิงควรตรวจสอบสาเหตุของต้นเพลิงในที่เกิดเหตุเบื้องต้นตั้งแต่เริ่มเข้าระงับเหตุ เพื่อเป็นข้อมูลใช้ประกอบการดำเนินการสำหรับตัวนักดับเพลิงเองหรือเจ้าหน้าที่ส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในภายหลัง เช่น การดำเนินตามขั้นตอนทางกฎหมาย ความเป็นอันตรายหรือผลกระทบของวัตถุเชื้อเพลิงหรือต้นเพลิงหลังจากได้รับความเสียหายจากการเผาไหม้ การรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปจัดทำสถิติสำหรับการหาทางป้องกันหรือแก้ไขในอนาคต เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานดับเพลิง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
302311

ตรวจสอบหาสาเหตุของเหตุเพลิงไหม้

1. ปฏิบัติการหาสาเหตุของเพลิงไหม้

302311.01 191220
302311

ตรวจสอบหาสาเหตุของเหตุเพลิงไหม้

2. กันพื้นที่เกิดเหตุ จากผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

302311.02 191221
302312

 ระเมินผลและรายงานผลเหตุเพลิงไหม้

1. รวบรวมข้อมูล ร่องรอยในที่เกิดเหตุตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการดับเพลิงแก่ผู้อำนวยการดับเพลิง

302312.01 191217
302312

 ระเมินผลและรายงานผลเหตุเพลิงไหม้

2.ประเมินโครงสร้างอาคาร และระบบสาธารณูปโภค

302312.02 191218
302312

 ระเมินผลและรายงานผลเหตุเพลิงไหม้

3. สรุปและรายงานผลการประเมินต่อผู้อำนวยการดับเพลิง

302312.03 191219

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะในการวางแผนกำลังคนในการตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์เพลิงไหม้ที่กำลังปรากฏอยู่



ความรู้เกี่ยวกับการดับเพลิงระดับควบคุมสั่งการ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การวางแผนกำลังคน การจัดวางตำแหน่งการปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม



การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะในการดับเพลิง



การใช้อุปกรณ์ในการค้นหา



การสืบสวน สอบสวน เพื่อหาเหตุเพลิงไหม้ เส้นทางการลุกไหม้



การสังเกตและการจดจำสภาพพื้นที่

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     ความรู้เกี่ยวกับการมอบหมายให้แก่พนักงาน



     ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในการดับเพลิง



     ความรู้เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะที่เหมาะสมในการดับเพลิง



     ความรู้ด้านการตรวจสอบเหตุเพลิงไหม้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



- เอกสารแสดงประสบการณ์ทำงานด้านการดับเพลิงในสถานที่ต่างๆ



- เอกสารแสดงประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการให้ความเห็นกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้



- เอกสารแสดงประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งผู้ควบคุมสั่งการ




  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



- เอกสารแสดงการผ่านการอบรมด้านการดับเพลิง การค้นหาในที่เกิดเหตุเพลิงไหม้



- ความรู้ในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะในการดับเพลิง การค้นหาในที่เกิดเหตุเพลิงไหม้




  • คำแนะนำในการประเมิน



ประเมินโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้




  • วิธีการประเมิน



1. การทดสอบข้อเขียน  ปรนัย  4  ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายวิธีถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




  • คำแนะนำ



N/A




  • คำอธิบายรายละเอียด



ตรวจสอบเหตุสาเหตุของเพลิงไหม้ตั้งแต่เริ่มแรกเข้าระงับเหตุ จนกระทั่งการดับเพลิงแล้วเสร็จ เป็นการหาสาเหตุเบื้องต้นในขณะที่ยังคงมีการลุกไหม้ของเปลวเพลิง จะทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของต้นเพลิงที่มีความถูกต้อง แม่นยำ มากกว่าการตรวจสอบภายหลังที่มีการเพลิงได้ลุกลามจนมีขนาดใหญ่จนยากแก่การตรวจสอบ ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและใช้เทคนิคที่ซับซ้อน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1 แบบทดสอบข้อเขียน  ปรนัย  4  ตัวเลือก



ยินดีต้อนรับ