หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดโครงสร้างสายบัญชาการเหตุการณ์ ICS (Incident Command System)

สาขาวิชาชีพการบรรเทาสาธารณภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DPM-SVPA-148A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดโครงสร้างสายบัญชาการเหตุการณ์ ICS (Incident Command System)

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 1344 ผู้จัดการด้านงานสังคมสงเคราะห์
1 5414 พนักงานรักษาความปลอดภัย
1 5419 ผู้ให้บริการด้านการป้องกันภัย ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถกำหนดสายการบังคับบัญชาการเหตุการณ์ขั้นกลาง  จัดโครงสร้างการบริหารและจัดองค์กรศูนย์บัญชาการเหตุการณ์  (organization structure) การรับคำสั่ง การบัญชาการ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ  บทบาทหน้าที่ การจัดการทรัพยากร การสั่งการและการรายงานขั้นกลาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้บริหารงานกู้ภัย นักบริหารงานบรรเทาสาธารณภัย 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202131

จัดให้มีระบบบัญชาการเหตุการณ์ Incident Command System (ICS)

1  กำหนดสายการบังคับบัญชา ลำดับขั้นของการบังคับบัญชาและเอกภาพของการบังคับบัญชา การสั่งการร่วม Unified Command

202131.01 191310
202131

จัดให้มีระบบบัญชาการเหตุการณ์ Incident Command System (ICS)

2. จัดโครงสร้างการบริหาร และ จัดองค์กรศูนย์บัญชาการเหตุการณ์  (organization structure)

202131.02 191311
202132

ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ IAP ที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าแล้ว

1.ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ

(Reliance on an Incident Action Plan) โดยกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

202132.01 191308
202132

ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ IAP ที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าแล้ว

2.  ปฏิบัติกิจกรรมเป็นไปตามแนวทาง นโยบาย ระเบียบ กฎหมาย ของหน่วยงาน

202132.02 191309
202133

การบริหารจัดการศูนย์บัญชาการให้

1. การจัดการทรัพยากร จำแนก ชนิด ประเภททรัพยากร Type & kindขอรับการสนับสนุนทรัพยากร  Ordering การส่งมอบ ทรัพยากร  Dispatched & Deployed ตรวจสอบสถานะทรัพยากร Status tracking & Recovering จัดการทรัพยากรครบวงจรหลักTactical Resources: (ปฏิบัติการ) บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ 

202133.01 191304
202133

การบริหารจัดการศูนย์บัญชาการให้

2. กำหนดสัญลักษณ์การจัดพื้นที่ปฏิบัติการ (Incident Facility Map Symbols)

202133.02 191305
202133

การบริหารจัดการศูนย์บัญชาการให้

3. ปฏิบัติการบูรณาการด้านการสื่อสาร ระบบการสื่อสาร  

202133.03 191306
202133

การบริหารจัดการศูนย์บัญชาการให้

4. จัดการข้อมูลข่าวสารและข่าวกรอง Information and Intelligence 

202133.04 191307

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการบัญชาการเหตุการณ์ 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้เรื่องการบัญชาการเหตุการณ์ ICS



 ผู้บัญชาการเหตุการณ์มีบทบาท:






    •  ควบคุมดูแลการปฏิบัติการในภาพรวม

    •  มอบอำนาจการปฏิบัติงานให้แก่เจ้าหน้าที่ส่วนต่างๆ

    •  รับฟังแนวทางการปฏิบัติงานทั่วไปจากเจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน



  • ผู้บัญชาการเหตุการณ์มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้:

    • ดูแลความปลอดภัยในเหตุการณ์นั้น

    • สนับสนุนข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง(Stake holder)ทั้งภายในและภายนอก

    • แต่งตั้ง และประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ  ที่ร่วมปฏิบัติงาน



  • ผู้บัญชาการเหตุการณ์มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้:

    • รับผิดชอบต่อกิจกรรมและภารกิจทั้งหมดที่เกิดขึ้น จนกว่าจะมีการมอบอำนาจ และมอบหมายให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

    • ประเมินความต้องการของเจ้าหน้าที่

    • กำหนดวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการ

    • กำหนดทิศทางให้แก่เจ้าหน้าที่ในการจัดทำแผนปฏิบัติการ





การเปลี่ยนตัวผู้บัญชาการเหตุการณ์อธิบายวิธีทำได้เมื่อ:






    • เหตุการณ์ลุกลาม หรือลดความรุนแรงลง

    • ขอบเขตอำนาจ(พื้นที่การปกครองขยาย) หรือระเบียบเปลี่ยน

    • เหตุการณ์มีความซับซ้อนมากขึ้น หรือ ลดลง

    • Incident Commander: Transferring

    • การมอบอำนาจในการบัญชาการเหตุการณ์ควรมีการดำเนินการ ดังนี้:

    • บรรยายสรุปให้แก่ผู้บัญชาการเหตุการณ์คนใหม่

    • แจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้บัญชาการเหตุการณ์





ผู้ช่วยผู้บัญชาการเหตุการณ์ผู้ช่วยผู้บัญชาการเหตุการณ์อาจได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ดังนี้:






    • รับผิดชอบภารกิจเฉพาะตามที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์มอบหมาย

    • ทำหน้าที่เป็นผู้สั่งการในปฏิบัติการเพื่อการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์

    • เป็นผู้แทนหน่วยงานในฐานะที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนให้แก่หน่วยงานอื่นที่มีเขตพื้นที่การปกครองร่วมกัน





เจ้าหน้าที่ประจำผู้บัญชาการ Command Staff ในบางกรณี ผู้บัญชาการเหตุการณ์อาจมีความจำเป็นที่จะต้องมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้:






    • ให้ข้อมูล ประสาน และดูแลความปลอดภัยให้แก่ระบบการทำงานทั้งหมด

    • รายงานการดำเนินงานให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์ทราบโดยตรง





การจัดแผนกงานต่าง ๆ ในการบัญชาการเหตุการณ์ มีดังนี้



เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ Public Information Officer ให้คำแนะนำแก่ผู้บัญชาการเหตุการณ์เกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูล และการรับมือสื่อมวลชน ทั้งนี้ ข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชารวบรวมข้อมูล และสนับสนุนข้อมูลแก่ ส่วนแผนงานรับข้อมูล และให้ข้อมูลแก่ชุมชน และสื่อมวลชน   เจ้าหน้าที่ควบคุมความปลอดภัย ให้คำแนะนำแก่ผู้บัญชาการเหตุการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทำงานร่วมกับส่วนปฏิบัติการเพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภาคสนาม  ดูแลความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทุกคน  เจ้าหน้าที่ประสานงาน Liaison Officer ช่วยเหลือ สนับสนุน ผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการเป็น จุดติดต่อประสานงาน แก่หน่วยงานที่ร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานให้ข้อมูลและข้อซักถามถาม แก่หน่วยงานต่างๆส่วนปฏิบัติการOSCสั่งการและประสานการปฏิบัติการดำเนินการตามกลยุทธ์ในการบัญชาการมักจะเป็นหน่วยงานแรกที่ไปถึงที่เกิดเหตุ- ขยายตัวแบบ Bottom up เป็นส่วนที่มีข้อมูลและใช้วัสดุอุปกรณ์ในเหตุการณ์มากที่สุด อาจมีพื้นที่รวมพลและมีการจัดองค์กรแบบพิเศษ   หัวหน้าส่วนปฏิบัติการ กำหนดยุทธวิธีและดำเนินกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จัดระเบียบ มอบหมายงานและควบคุมดูแลการใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติตามกลยุทธ์จัดระเบียบการปฏิบัติการทางอากาศและทรัพยากรในพื้นที่รวมพล Staging Area



ส่วนแผนงาน PSC รวบรวม วิเคราะห์และแลกเปลี่ยนข้อมูลทั่วไปและข่าวกรอง บริหารจัดการขั้นตอนต่างๆ ในแผนงาน ประมวลแผนปฏิบัติการ บริหารจัดการผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ ดำรงสถานะของทรัพยากร ติดตามและรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน เตรียมแผนปฏิบัติการ IAP พัฒนายุทธศาสตร์ทางเลือก ให้บริการด้านงานเอกสาร เตรียมการวางแผนถอนกำลัง เตรียมสถานที่ทำงานสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคที่ได้รับมอบหมาย



ส่วนแผนงานหน่วยทรัพยากรดำเนินการขั้นตอนการลงทะเบียนทั้งหมดและข้อมูลสถานะของทรัพยากร มีบทบาทสำคัญในการ  จัดทำแผนปฏิบัติการ  รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน   ส่วนแผนงาน   หน่วยสถานการณ์เตรียมนำเสนอและสรุปสถานการณ์  จัดทำแผนที่และการนำเสนอ



ส่วนแผนงาน หน่วยจัดทำเอกสาร เตรียมบริการด้านการถ่ายเอกสาร รวมทั้งเขียนแผนปฏิบัติการรวบรวมและจัดเก็บเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง



ส่วนแผนงาน หน่วยถอนกำลัง ช่วยให้แน่ใจว่าทรัพยากรที่เกี่ยวข้องได้รับการจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพหลังการใช้งานแล้ว  ส่วนแผนงานยังมีหน้าที่จัดเตรียมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการและการรับมือเมื่อเกิดเหตุขึ้นส่วนสนับสนุน LSC การสื่อสาร สนับสนุนทางการแพทย์ จัดเตรียมเสบียงอาหาร จัดเตรียมพัสดุ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก สนับสนุนภาคพื้นดิน หน้าที่ของหัวหน้าส่วนสนับสนุน:เตรียมทรัพยากรและบริการที่จำเป็นในการสนับสนุนการปฏิบัติงานจัดทำแผนปฏิบัติการบางส่วนและส่งต่อให้ส่วนแผนงานจัดซื้ออุปกรณ์และให้บริการซ่อมบำรุงที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานแผนกบริการหน่วยสื่อสารเตรียมการและสนับสนุนการวางแผนการสื่อสารแจกจ่ายและบำรุงรักษาอุปกรณ์สื่อสาร กำกับดูแลศูนย์สื่อสาร จัดหาเครื่องมือสื่อสารให้เพียงพอกับความต้องการแผนกบริการ หน่วยการแพทย์ปรับใช้แผนการแพทย์ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์เบื้องต้นและรักษาอาการเจ็บป่วยที่ไม่ซับซ้อน เตรียมการในการปฏิบัติการตามขั้นตอนเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์แผนกบริการ หน่วยเสบียง จัดเตรียมอาหารและน้ำดื่มแบบพกพา(อาหารกล่อง)จัดหาอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการด้านอาหารแผนกสนับสนุน ส่วนพัสดุตัดสินใจในการจัดเตรียมพัสดุต่างๆตามความจำเป็นเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติ จัดระเบียบ รับของ เก็บรักษาและแจกจ่ายพัสดุ ให้บริการวัสดุสิ้นเปลือง จัดวางระเบียบพัสดุ และคุรุภัณฑ์บำรุงรักษาพัสดุและคุรุภัณฑ์



แผนกสนับสนุน ฝ่ายอำนวยการ จัดเตรียมและบำรุงรักษาสถานที่บัญชาการตั้งผู้จัดการฐานและค่ายพักจัดเตรียมพื้นที่ให้มีความปลอดภัยและให้บริการบำรุงรักษา  (สุขอนามัย ไฟส่องสว่าง และทำความสะอาด)



แผนกสนับสนุน หน่วยสนับสนุนภาคพื้นดิน เตรียมแผนการขนส่ง เตรียมการเคลื่อนกำลัง เอกสาร เชื้อเพลิง และบำรุงรักษาทรัพยากร เตรียมการขนส่งคน อุปกรณ์ อาหารและเครื่องมือ



แผนกสนับสนุนด้านการเงิน รับผิดชอบด้านการเงินและ วิเคราะห์ทางการเงินเจรจาต่อรองการซื้อขายติดตามการลงเวลาของผู้ปฏิบัติงานและการใช้อุปกรณ์ ดำเนินการตามข้อเรียกร้องเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ ทำงานร่วมกับแผนกส่งกำลังในการจัดหาทรัพยากรติดต่อเจรจาและกำกับตรวจสอบการจัดซื้อ รักษาเวลาทำงานวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายชดเชยการบาดเจ็บและการชำรุดของชีวิตและทรัพย์สิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



 



หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



..........................................................N/A..........................................................................................



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร การบริหารวิกฤติการ ICS



     เอกสารการผ่านการอบรมด้านการบรรเทาสาธารณภัย จากหน่วยงานภาครัฐ



     เอกสารการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ เกี่ยวกับการกู้ภัยแบบต่าง ๆ  จากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง



คำแนะนำในการประเมิน



N/A



           วิธีการประเมิน



1 การทดสอบข้อเขียนปรนัย 4 ตัวเลือก



2 สัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายวิธีถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำ



......................................................................N/A.......................................................................................



คำอธิบายรายละเอียด



             สามารถบัญชาการเหตุการณ์ขั้นกลาง  จัดโครงสร้างการบริหารและจัดองค์กรศูนย์บัญชาการเหตุการณ์  (organization structure) การรับคำสั่ง การบัญชาการ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ  บทบาทหน้าที่ การจัดการทรัพยากร การสั่งการและการรายงานขั้นกลาง  มีความรู้ตามหลักการบริหารวิกฤติการ ICS อธิบายวิธีเข้าใจและปฏิบัติได้เกี่ยวกับการในศูนย์ บัญชาการ































        1. กำหนดสายการบังคับบัญชา ลำดับขั้นของการบังคับบัญชาและเอกภาพของการบังคับบัญชา การสั่งการร่วม Unified Command.การจัดการโดยยึดวัตถุประสงค์ Management by objective ทุกเหตุการณ์ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์



         2 การจัดโครงสร้างองค์กรแบบ Modular ขยายตัวแบบ Top Down ขึ้นอยู่กับขนาด  ความซับซ้อน กำหนดขนาดของการควบคุม Span of Control ช่วงการควบคุม ที่เหมาะสมเป็นหลัก ในการกำหนดโครงสร้าง เอกภาพในการบังคับบัญชา Unity  of  Command  รักษาเอกภาพ การบังคับบัญชาโดยมี หัวหน้าคนเดียวขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาคนเดียว รับภารกิจ จากผู้บังคับบัญชา- คนเดียว การบัญชาการร่วม (Unified Command)เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ อธิบายวิธีทำงานร่วมกันได้ ภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกัน เพื่อให้อธิบายวิธีตัดสินใจร่วมกัน ภายใต้โครงสร้างการสั่งการร่วมกัน กำหนดขอบเขตการควบคุมที่เหมาะสมของหัวหน้างาน 1 คน ผู้ใต้บังคับบัญชา 3 – 7 คน



 มีความรู้เรื่องแผนเผชิญเหตุ



         3. การมอบอำนาจการบังคับบัญชา จาก ผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง มีการสรุปข้อมูลทุกครั้ง และแจ้ง ใต้บังคับบัญชาทุกคนทราบ



         4. การบูรณาการด้านการสื่อสาร การจัดการข้อมูลและข่าวสาร



         5 ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ (Reliance on an Incident Action Plan) โดยกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้สำเร็จกำหนดให้มีกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติ เรียกว่า an operational period จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบอกเล่าก็ได้



         6 กำหนดกิจกรรมเป็นไปตามแนวทาง นโยบาย ระเบียบ กฎหมาย ของหน่วยงาน



         7. การจัดการทรัพยากร  การจำแนก ชนิด ประเภททรัพยากร Type & kind



การขอรับการสนับสนุนทรัพยากร  Ordering



การส่งมอบ ทรัพยากร  Dispatched & Deployed



สถานะทรัพยากร   Status tracking & Recovering



การจัดการทรัพยากรครบวงจรหลักTactical Resources: (ปฏิบัติการ) บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์หลักๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน  (ดำเนินกลยุทธ์)Support Resources: (สนับสนุน) ทรัพยากรอื่นทั้งหมดที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการบริหารงานของระบบ  เช่น อาหาร อุปกรณ์สื่อสาร หรือพัสดุอื่นๆ)



        8 กำหนดสัญลักษณ์การจัดพื้นที่ปฏิบัติการ Incident Facility Map Symbols



        9. ปฏิบัติการบูรณาการด้านการสื่อสารกำหนดแผนและข่ายการสื่อสารที่ทราบทั่วกัน อุปกรณ์ ขั้นตอน และระบบการสื่อสาร ต้องอธิบายวิธีเชื่อมต่อและใช้ร่วมกันได้



      10. จัดการข้อมูลข่าวสารและข่าวกรอง Information and Intelligence



10 . กำหนดความรับผิดชอบ (Accountability)



11 การส่งออกไปปฏิบัติงาน Dispatchedต้องมีการประเมินสถานการณ์และเผชิญเหตุตามแผนเจ้าหน้าที่ /อุปกรณ์ ต้องไม่ส่งไปจนกว่าจะได้รับการร้องขอจาก on-scene Incident Command



อธิบายวิธีจัดการสถานการณ์ตามหลัก ICS ได้โดยการ



       1 กำหนดสายการบังคับบัญชา ลำดับขั้นของการบังคับบัญชาและเอกภาพของการบังคับบัญชา การสั่งการร่วม Unified Command



       2.การจัดการโดยยึดวัตถุประสงค์ Management by objective ทุกเหตุการณ์ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์



ลักษณะของการจัดโครงสร้างองค์การในการบัญชาการเหตุการณ์



     1. จัดโครงสร้างองค์กรแบบ Modular ขยายตัวแบบ Top Down ขึ้นอยู่กับขนาด  ความซับซ้อน



     2 กำหนดขนาดของการควบคุม Span of Control ช่วงการควบคุม ที่เหมาะสมเป็นหลัก ในการกำหนดโครงสร้าง



     3 เอกภาพในการบังคับบัญชา

Unity of Command รักษาเอกภาพการบังคับบัญชาโดยมี หัวหน้าคนเดียวขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาคนเดียวรับภารกิจจากผู้บังคับบัญชาคนเดียว



     4 การบัญชาการร่วม (Unified Command) เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ อธิบายวิธีทำงานร่วมกันได้ ภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกัน เพื่อให้อธิบายวิธีตัดสินใจร่วมกันภายใต้โครงสร้างการสั่งการร่วมกัน



ความรู้ในการมอบอำนาจในการบัญชาการ



     1 มอบอำนาจการบังคับบัญชา จาก ผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง



     2 บรรยายสรุปเหตุการณ์ บันทึกการส่งมอบงาน บันทึกเหตุการณ์เพื่อให้การบริหารเหตุการณ์เป็นไปด้วยความต่อเนื่องไม่เกิดความเสีย




        ความรู้ในการจัดพื้นที่ปฏิบัติการและสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย ศูนย์บัญชาการ เหตุการจัดตั้งขึ้น ณ พื้นที่เกิดเหตุ (Incident Command Post : ICP) จุดระดมทรัพยากร (Staging Area : S) การจัดตั้งผู้จัดการจุดระดมทรัพยากรเพื่อควบคุม   ดูแลทรัพยากรในจุดระดมทรัพยากรควรตั้งอยู่ ใกล้พื้นที่เกิดเหตุและอธิบายวิธีส่งทรัพยากรเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทันเวลา  วิเคราะห์เส้นทางเข้าพื้นที่ (Access Routes) ขนาดของพื้นที่กว้างเพียงพอหรือไม่ ความปลอดภัยของพื้นที่



        ความรู้เรื่อง ฐานปฏิบัติการ (Base:B) พื้นที่แคมป์ (Camp : C) ใช้สำหรับการสนับสนุนเสียบอาหาร ที่พัก สุขา สถานพยาบาลแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซ่อมบำรุงและเก็บรักษาทรัพยากร  ฐานเฮลิคอปเตอร์ (Helibase)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

 1 การทดสอบความรู้ ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก



 2 สัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ