หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-5-254ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การรับรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ต่างๆ ของจดหมายธุรกิจ มีความเข้าใจระเบียบแบบแผนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ และสามารถประยุกต์ใช้ระเบียบแบบแผนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม  5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม  5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม  5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว  7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ   

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.10.118.01 รับรู้/สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของจดหมายธุรกิจ 1.1 เข้าใจการใช้จดหมายธุรกิจที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจในสถานการณ์ต่างๆ 3.10.118.01.01 48227
3.10.118.01 รับรู้/สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของจดหมายธุรกิจ 1.2 บ่งชี้วัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจกับจดหมายที่ส่งให้ลูกค้า 3.10.118.01.02 48228
3.10.118.01 รับรู้/สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของจดหมายธุรกิจ 1.3 บ่งชี้วัตถุประสงค์ของการใช้จดหมายระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง 3.10.118.01.03 48229
3.10.118.02 เข้าใจระเบียบแบบแผนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 2.1 เลือกใช้รูปแบบจดหมายธุรกิจที่เหมาะสม 3.10.118.02.01 48230
3.10.118.02 เข้าใจระเบียบแบบแผนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 2.2 อธิบาย/ขยายความความสำคัญของทัศนคติในการเขียน (Tone)จดหมายธุรกิจ 3.10.118.02.02 48231
3.10.118.02 เข้าใจระเบียบแบบแผนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 2.3 อภิปรายรูปแบบของภาษาที่นิยมในการเขียนจดหมายธุรกิจ 3.10.118.02.03 48232
3.10.118.02 เข้าใจระเบียบแบบแผนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 2.4 วางแผนการเขียนตอบจดหมายธุรกิจ 3.10.118.02.04 48233
3.10.118.03 ประยุกต์ใช้ระเบียบแบบแผนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 3.1 ประยุกต์ใช้รูปแบบการเขียนจดหมายธุรกิจที่เหมาะสม 3.10.118.03.01 48234
3.10.118.03 ประยุกต์ใช้ระเบียบแบบแผนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 3.2 สร้างบรรยากาศที่เหมาะสมและเป็นมืออาชีพเมื่อต้องเขียนจดหมายธุรกิจ 3.10.118.03.02 48235
3.10.118.03 ประยุกต์ใช้ระเบียบแบบแผนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 3.3 ใช้ระดับภาษาที่เหมาะสม สะกดคำถูกต้อง เครื่องหมายวรรคตอน และไวยากรณ์ 3.10.118.03.03 48236

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้รูปแบบจดหมายธุรกิจที่เหมาะสม

-    ทักษะการวางแผนการโต้ตอบจดหมายที่ส่งออก

-    ทักษะการเลือกใช้ทัศนคติในการเขียน (Tone) ของจดหมายธุรกิจ 

-    ทักษะการเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวกับการเขียนจดหมายธุรกิจ

-    ความรู้เกี่ยวกับการใช้จดหมายธุรกิจในสถานการณ์ต่างๆ 

-    ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ การสะกดคำถูกต้อง การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และไวยากรณ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แสดงความสามารถในการประยุกต์ใช้รูปแบบจดหมายธุรกิจที่เหมาะสม ตั้งแต่เค้าโครงของจดหมาย การใส่วันที่ของจดหมาย ที่อยู่ การเว้นวรรคตอน และย่อหน้า คำขึ้นต้น คำลงท้าย 

-    แสดงความสามารถในการวางแผนการโต้ตอบจดหมายที่ส่งออกไป

-    แสดงความสามารถในการเลือกใช้ทัศนคติในการเขียน (Tone) ที่เป็นมิตรและเป็นมืออาชีพ

-    แสดงความสามารถในการเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมสำหรับการเขียนจดหมาย โดยจะต้องเขียนจดหมายธุรกิจอย่างน้อยสองฉบับ ที่ใช้ไวยากรณ์และสะกดคำถูกต้อง



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    มีความรู้เกี่ยวกับการใช้จดหมายธุรกิจในสถานการณ์ต่างๆ 



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    ข้อสอบข้อเขียน

-    แฟ้มสะสมผลงาน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    การสาธิตการปฏิบัติงาน

-    ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

-    การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    วัตถุประสงค์ของการใช้จดหมายธุรกิจ ได้แก่ 

•    การอธิบายเงื่อนไขและข้อกำหนด 

•    การแจ้งหรือร้องทุกข์เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ หรือการขอค่าชดเชย 

•    การติดตามการทำงาน 

•    ขอการตัดสินใจ 

•    ให้หรือปฏิเสธสินเชื่อ 

•    การแจ้งคุณภาพ/คุณลักษณะของสินค้า 

•    การขายสินค้าและบริการ 

•    การแนะนำให้รู้จักกับบุคคลหรือพนักงานที่รับผิดชอบ 

•    การเชิญเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ 

-    จดหมายที่ส่งให้ลูกค้า อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 

•    ยืนยันการจองห้องพัก 

•    แจ้งกำหนดการเดินทาง 

•    ขอให้ชำระค่าสินค้าและบริการ 

•    เชิญร่วมกิจกรรม 

•    นำเสนอข้อเสนอพิเศษ/ส่วนลด 

•    ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคา เงี่อนไข ข้อกำหนดใดๆ 

•    ตอบข้อร้องเรียน ตอบข้อซักถาม 

•    ขอบคุณและต้อนรับลูกค้าใหม่

-    จดหมายที่ส่งจากนายจ้างไปยังลูกจ้าง อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 

•    ยืนยันการจ้างงาน 

•    ชี้แจงนโยบายและระเบียบขององค์กร 

•    ชี้แจงหน้าที่รับผิดชอบของพนักงาน 

•    แสดงความยินดีและชื่นชมกับความสำเร็จในการปฏิบัติงาน 

•    ยืนยันผลการประเมิน 

•    แจ้งแผนงานการฝึกอบรม 

•    การว่ากล่าวตักเตือนในเรื่องใดๆ 

-    รูปแบบการใช้จดหมายธุรกิจอาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร แต่รูปแบบโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับ 

•    การวางเค้าโครง (Lay-out) ของจดหมาย 

•    ตำแหน่งของที่อยู่ของบริษัท 

•    ตำแหน่งและรูปแบบการเขียนวันที่ 

•    คำทักทาย 

•    วรรคนำหรือย่อหน้าเริ่มต้น (Introduction Paragraph) วรรคสรุป 

•    การกั้นหน้าจดหมาย 

•    คำลงท้าย 

•    การลงลายมือชื่อของผู้เขียนและตำแหน่ง 

•    สำเนาเรียน (cc:) 

-    ทัศนคติในการเขียนหรือ Tone  หมายถึง 

•    บรรยากาศแห่งมิตรภาพ สำหรับกรณีที่ต้องการร้องขอสิ่งใด ตอบรับการร้องขอต่อสิ่งใด ปฏิเสธการร้องขอที่ได้รับ แจ้งข่าวดีและข่าวร้าย

•    ความเป็นมืออาชีพของผู้เขียนจดหมาย และความสุภาพโดยทั่วไป

•    สร้างความสัมพันธ์กับผู้อ่าน

-    ภาษาที่เหมาะสม หมายถึง 

•    ความกระชับ ใช้ประโยคที่ไม่สับสน/กำกวม 

•    ใช้รูปแบบประโยคที่เป็น Active Voice (ประธานของประโยคเป็นผู้ทำกิริยานั้น) 

•    นำเสนอประเด็นอย่างไม่เยิ่นเย้อ นำเสนอเรื่องที่ซับซ้อนอย่างเรียบง่าย 

•    แสดงความชัดเจน (เช่น ควรเขียนว่า “Your order should arrive by next Monday.” ดีกว่าเขียนว่า “Your order should arrive soon.”) 

•    ไม่ใช่คำที่สร้างความแตกแยก  หรือสั่งการ/บงการให้กระทำการใดๆ

•    เสนอความช่วยเหลือในวรรคท้ายของจดหมาย เช่น “Please do not hesitate to contact us again if you need any help” หรือ “Please let us know if we can be of any assistance in the future”

•    ไวยากรณ์และคำศัพท์ที่ใช้ถูกต้อง 

-    การวางแผนการเขียนตอบจดหมายธุรกิจที่ได้รับ ผู้เขียนจะต้องทราบวัตถุประสงค์ของจดหมายที่ออก มีความเข้าใจเกี่ยวกับผู้อ่าน แล้วจึงตัดสินใจเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของจดหมาย แต่ละวรรค/ย่อหน้า ตั้งแต่วรรคนำจนถึงวรรคท้ายหรือวรรคสรุป   

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ