หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลพรรณไม้

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-GBHA-223A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลพรรณไม้

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลพรรณไม้ ต้องมีผู้ความรู้ความเข้าใจในการค้ำยันพรรณไม้คลุมดินป้องกันโคนต้น ให้น้ำพรรณไม้ และใส่ปุ๋ยพรรณไม้ โดยมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้บังคับบัญชาเนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติงานได้อย่างจำกัด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03431

ค้ำยันพรรณไม้

1.1 อธิบายวัตถุประสงค์การค้ำยันพรรณไม้

03431.01 187767
03431

ค้ำยันพรรณไม้

1.2 เลือกวิธีการค้ำยันพรรณไม้ตามขนาดพรรณไม้

03431.02 187768
03432

ป้องกันโคนต้น

2.1 อธิบายการป้องกันโคนต้น

03432.01 187769
03432

ป้องกันโคนต้น

2.2 ออกแบบการป้องกันโคนต้น

03432.02 187770
03432

ป้องกันโคนต้น

2.3 อธิบายวิธีการคลุมดิน

03432.03 187771
03432

ป้องกันโคนต้น

2.4 เลือกใช้วัสดุคลุมดิน

03432.04 187772
03433

ให้น้ำพรรณไม้

3.1 อธิบายหลักการให้น้ำกับประเภทของพรรณไม้แต่ละชนิด

03433.01 187773
03433

ให้น้ำพรรณไม้

3.2 เลือกวิธีการให้น้ำแก่พรรณไม้ด้วยวิธีต่างๆ

03433.02 187774
03434

ใส่ปุ๋ยพรรณไม้

4.1 อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยพรรณไม้

03434.01 187775
03434

ใส่ปุ๋ยพรรณไม้

4.2 จำแนกชนิดของปุ๋ยพรรณไม้

03434.02 187776
03434

ใส่ปุ๋ยพรรณไม้

4.3 เลือกวิธีการใส่ปุ๋ยกับประเภทของพรรณไม้

03434.03 187777

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     1. ทักษะการดูแลพรรณไม้

     2. ทักษะการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องมือการเกษตรในการดูแลพรรณไม้

     3. ทักษะการจดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันในการดูแลพรรณไม้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     การค้ำยันพรรณไม้ หมายถึง การค้ำยันหรือการยึดตรึงลำต้นของไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม มีความจำเป็นมากตั้งแต่หลังปลูกจนกระทั่งไม้ยืนต้นโตสมบูรณ์เต็มที่ การค้ำยัน คือ การใช้แท่งไม้หรือวัสดุอื่นๆ ปักลงไปในดินขึ้นมาแนบกายลำต้นเพิ่มบังคับลำต้นให้ตั้งตรง ในปัจจุบันได้มีการออกแบบการค้ำยันแต่กต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงศิลปะและความสวยงาม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ถ้ามี)

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดูแลพรรณไม้จากนายจ้าง หรือ

          2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลพรรณไม้ หรือ

          3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดูแลสนามหญ้า และสามารถอ่าน เขียน และสื่อสารด้วยภาษาไทยได้

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

          1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลพรรณไม้

     (ง) วิธีการประเมิน

          1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)
N/A

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     18.1 ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบแบบอัตนัย

     18.2 การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ