หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมพื้นที่

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-NEBZ-215A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมพื้นที่

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับสำรวจพื้นที่ในการใช้จัดสวนสำรวจแนวท่อน้ำ ท่อประปาจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดสวนตามแบบแปลนรวมถึงการใช้เครื่องมือการเกษตรตามหลักความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้บังคับบัญชาเนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติงานได้อย่างจำกัด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03311

สำรวจพื้นที่ในการใช้จัดสวน

03312

สำรวจแนวท่อน้ำ ท่อประปา

03313

จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดสวนตามแบบแปลน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     1. ทักษะจัดเตรียมพื้นที่ในการจัดสวน

     2. ทักษะการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องมือการเกษตรในการจัดเตรียมพื้นที่ในการจัดสวน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     1. สำรวจสถานที่ (site analysis) เป็นการสำรวจหาข้อมูลของสถานที่ให้มากที่สุด นักจัดสวนจะต้องศึกษาสภาพภูมิประเทศของสถานที่นั้นๆ ประกอบด้วย สภาพภูมิอากาศ บริเวณพื้นที่ ทิศ สิ่งก่อสร้าง และพรรณไม้เดิม ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ข้อ 1    

     2. องค์ประกอบในสวนประกอบด้วย รั้ว (fences) รั้วที่สร้างจากสิ่งไม่มีชีวิต รั้วประกอบรั้วธรรมชาติ แบบและขนาดของรั้ว ประตู (gates) กำแพง (walls) ทางเดินในสวน (garden paths) ลานจอดรถ (parking area) ลานพักผ่อน ม้านั่งและเก้าอี้ในสวน บันได้สวน ศาลาที่พักในสวน แสงในสวน น้ำ หินและการจัดหิน การจัดหิน รูปปั้นและวัสดุตกแต่งอื่นๆ ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อ 2

     3. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือ Personal Protective Equipment (PPE)) ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 3

     4. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ (ข)ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 4

     5. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ประกอบด้วย หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาตรา 16 และ มาตรา 19 ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 5


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับจัดเตรียมพื้นที่ในการจัดสวนจากนายจ้าง หรือ

          2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับจัดเตรียมพื้นที่ในการจัดสวน หรือ

          3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับจัดเตรียมพื้นที่ในการจัดสวนและสามารถอ่าน เขียน และสื่อสารด้วยภาษาไทยได้

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

          1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับจัดเตรียมพื้นที่ในการจัดสวน

     (ง) วิธีการประเมิน

          1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัย

          2. แฟ้มสะสมผลงาน

          3. การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)
N/A

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     18.1 ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบแบบอัตนัย

     18.2 แฟ้มสะสมผลงาน

     18.3 การสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ