หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรกลการเกษตร และเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยก่อนการใช้งาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-KNKA-213A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรกลการเกษตร และเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยก่อนการใช้งาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขั้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องจักรกลการเกษตร ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวงจรการบริหารงานคุณภาพสามารถตรวจสอบสภาพเครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย และบันทึกประวัติเครื่องจักรกลการเกษตรก่อนนำไปใช้งานมีกระบวนการคิดและปฏิบัติงานที่หลากหลาย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคควบคู่กับการใช้คู่มือ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03261

ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรกลการเกษตร 

03262

ตรวจสอบสภาพเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     1.ทักษะการจดบันทึกเอกสารคลังเครื่องจักรกลการเกษตรโดยการจดบันทึก หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

     2.ทักษะการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     1. วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) คือ กิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงานประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผนการดำเนินงานการประเมินผลและการปรับปรุง    

     2. กลุ่มเครื่องมือการเกษตร ซึ่งเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์หรือเครื่องทุ่นแรงที่ใช้สำหรับงานดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ หรือใช้การประกอบอาชีพการเกษตร เครื่องมือประเภทนี้แบ่งตามลักษณะการใช้งานคือ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานทำความสะอาดและงานดิน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานน้ำ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานปุ๋ย เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการตัดหญ้าสนามเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดแต่งพืชพรรณ และเครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุง                

     3. กลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตรที่แบ่งประเภท และชนิดตามพิกัดศุลกากร (Harmonized System: HS Code) และลักษณะการใช้งานโดยทั่วไปของเครื่องจักรกลการเกษตรไทยประกอบด้วย แทรกเตอร์ เครื่องเตรียมดิน เครื่องปลูก เครื่องบำรุงรักษา เครื่องเก็บเกี่ยว และเครื่องมืออื่นๆ 

     4. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย ซึ่งคืออุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา

     5. เอกสารคลังเครื่องมือการเกษตรเครื่องจักรกลทางการเกษตร และเอกสารคลังเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย เป็นเอกสารที่รวบรวมหมวดหมู่ จำนวนเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลทางการเกษตรแต่ละประเภท การเบิกจ่ายรับคืนเอกสารการเก็บรักษาเอกสารการตรวจสอบเครื่องมือการเกษตรประจำปี    

     6. ประวัติเครื่องมือการเกษตร และเครื่องจักรกลทางการเกษตร คือรายละเอียดของเครื่องมือการเกษตร และเครื่องจักรกลทางการเกษตร

     7. การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานงานทำการบำรุงรักษาเครื่องมือ และเครื่องจักรกล โดยทำงานเป็นกลุ่ม และมุ่งเน้นด้านการทำความสะอาด การตรวจสอบ การหล่อลื่น และการกำกับดูแล

     8. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)เป็นการวางแผนโดยกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่หรืออื่นๆเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จะเป็นการวางแผนการป้องกันไว้ล่วงหน้าทำให้ไม่ต้องหยุดการใช้งานสินทรัพย์หรืออุปกรณ์แบบฉุกเฉิน 

     9. การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) เป็นวิธีบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือสินทรัพย์ตามสภาพของสินทรัพย์ 

     10. การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective or Breakdown Maintenance) หรือการบำรุงรักษาหลังเกิดการเสียหาย โดยจะดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซมสินทรัพย์ก็ต่อเมื่อสินทรัพย์เสียหายจึงทำให้ต้องหยุดการใช้งานสินทรัพย์ 

     11. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ 3 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

     12. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานมาตรา 16และมาตรา 19


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. แฟ้มสะสมผลงาน

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1.หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลการเกษตรหรือเครื่องจักรกลทางการเกษตรจากนายจ้าง หรือ

          2. หนังสือรับรองการผ่านการอบรมเกี่ยวกับเครื่องมือ หรือเครื่องจักรกลทางการเกษตรซึ่ง   จัดโดยหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน หรือ

          3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลการเกษตรหรือเครื่องจักรกลทางการเกษตร และสามารถอ่าน เขียน และสื่อสารด้วย    ภาษาไทยได้

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

          1.ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับประเภท และชนิดของเครื่องจักรกลการเกษตร

          2. ความรู้พื้นฐานเรื่องวงจรการบริหารงานคุณภาพ

     (ง) วิธีการประเมิน

          1. การประเมินผลความรู้จากการประเมินแบบปรนัย 


15. ขอบเขต (Range Statement)
N/A

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     18.1 แบบประเมินความรู้แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 



ยินดีต้อนรับ