หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รักษาความปลอดภัยบริเวณที่ทำงานและผู้ปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-4-212ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รักษาความปลอดภัยบริเวณที่ทำงานและผู้ปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการรักษาความปลอดภัยบริเวณที่ทำงานและผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับมือกับอัคคีภัยและเหตุการณ์เตือนภัยอื่น การรับมือกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัย การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การดำเนินการอพยพ การดำเนินงานธุรการที่เกี่ยวข้อง และการรับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม 5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.04.142.01 รับมือกับอัคคีภัยและเหตุการณ์เตือนภัยอื่น 1.1 ระบุสภาพโดยธรรมชาติและจุดติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย 3.04.142.01.01 48516
3.04.142.01 รับมือกับอัคคีภัยและเหตุการณ์เตือนภัยอื่น 1.2 ติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน 3.04.142.01.02 48517
3.04.142.01 รับมือกับอัคคีภัยและเหตุการณ์เตือนภัยอื่น 1.3 ให้ความช่วยเหลือหน่วยงานให้บริการฉุกเฉินในการเข้าถึงพื้นที่และการอำนวยความสะดวกอื่น 3.04.142.01.03 48518
3.04.142.01 รับมือกับอัคคีภัยและเหตุการณ์เตือนภัยอื่น 1.4 ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น 3.04.142.01.04 48519
3.04.142.02 รับมือกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัย 2.1 จัดหน่วยลาดตระเวนเพื่อติดตาม/บ่งชี้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 3.04.142.02.01 48520
3.04.142.02 รับมือกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัย 2.2 รักษาความปลอดภัยพื้นที่เสี่ยง 3.04.142.02.02 48521
3.04.142.02 รับมือกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัย 2.3 รับมือกับสิ่งของต้องสงสัย 3.04.142.02.03 48522
3.04.142.02 รับมือกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัย 2.4 รับมือกับคำขู่หรือการลอบวางระเบิด 3.04.142.02.04 48523
3.04.142.03 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.1 ระบุลักษณะและขอบเขตของเหตุการณ์ฉุกเฉิน 3.04.142.03.01 48524
3.04.142.03 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.2 ติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน 3.04.142.03.02 48525
3.04.142.03 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.3 นำแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินไปใช้ปฏิบัติ 3.04.142.03.03 48526
3.04.142.03 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.4 ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น 3.04.142.03.04 48527
3.04.142.03 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.5 รักษาสวัสดิภาพสูงสุดในสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.04.142.03.05 48528
3.04.142.04 ดำเนินงานธุรการที่เกี่ยวข้อง 5.1 จัดทำเอกสารและรายงานที่จำเป็น 3.04.142.04.01 48529
3.04.142.04 ดำเนินงานธุรการที่เกี่ยวข้อง 5.2 ประสานงานกับฝ่ายบริหารในการปรับปรุงความปลอดภัยแก่ลูกค้าและพนักงาน 3.04.142.04.02 48530
3.04.142.05 รับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 6.1 ควบคุมสถานการณ์ 3.04.142.05.01 48531
3.04.142.05 รับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 6.2 ติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน 3.04.142.05.02 48532
3.04.142.05 รับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 6.3 ติดต่อประสานงานฝ่ายบริหาร 3.04.142.05.03 48533
3.04.142.05 รับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 6.4 ปกป้อง/รักษาสถานที่เกิดเหตุ 3.04.142.05.04 48534
3.04.142.05 รับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 6.5 ปลอบประโลมผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเสียชีวิต 3.04.142.05.05 48535

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    เทคนิคการตั้งค่าและสั่งให้ระบบเตือนภัยทำงาน

-    ทักษะการใช้ชุดปฐมพยาบาลและเครื่องมือดับเพลิง

-    ทักษะการสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

-    ทักษะการประเมินความเสี่ยงและภัยคุกคามในสถานที่ทำงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน

-    ความเข้าใจในมิติด้านความปลอดภัยที่ปรากฏในแผนบริหารภาวะฉุกเฉิน (Emergency Management Plan) ซึ่งรวมถึงความรู้เกี่ยวกับแผนผังของพื้นที่/ที่ทำการ และจุดที่ตั้งของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย 

-    ความเข้าใจในภารกิจการรักษาความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด

-    หลักการบริหารความปลอดภัยที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรม 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แสดงความสามารถในการประยุกต์ใช้นโยบายขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยส่วนบุคคลของผู้มีอุปการคุณและพนักงาน

-    แสดงความสามารถในการตอบสนองอย่างมีประสิทธิผลต่อการเตือนภัยประเภทที่ได้รับมอบหมายความรับผิดชอบ ในพื้นที่ที่กำหนด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้มีอุปการคุณและเพื่อนร่วมงาน

-    แสดงความสามารถในการขอรับการช่วยเหลือตามระเบียบ/ขั้นตอน/แผนงานที่กำหนด

-    แสดงความสามารถในการให้การช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่กำหนด

-    แสดงความสามารถในการคาดการณ์สถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้มีอุปการคุณ และอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหาย และดำเนินมาตการในเชิงป้องกันเพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคลสูงสุด

-    แสดงความสามารถในการบริหารจัดการสถานการณ์ที่มีผู้มีอุปการคุณ/ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

-    แสดงความสามารถในการป้องกันความปลอดภัยให้แก่ผู้มีอุปการคุณและเพื่อนร่วมงานในระหว่างการซ้อมเหตุฉุกเฉิน

-    แสดงความสามารถในการดำเนินการอพยพออกจากพื้นที่/อาคารที่ได้รับมอบหมาย ที่สอดคล้องกับข้อกำหนด/ระเบียบปฏิบัติของแผนบริหารภาวะฉุกเฉิน 



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    มีความเข้าใจในข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยส่วนบุคคลของผู้มีอุปการคุณและพนักงานในสถานที่ทำการ



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    ทำแบบทดสอบกรณีศึกษา

-    การฝึกซ้อมกับสถานการณ์จำลอง

-    ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

-    มอบหมายงาน/โครงการ

-    พิจารณาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

-    รายงานการประเมินจากหน่วยงานภายนอก

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    สภาพโดยธรรมชาติและจุดติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย หมายถึง

•    การระบุตามประเภทการเตือนภัย เช่น ไฟไหม้ การบุกรุก ควัน น้ำท่วม ก๊าซรั่ว

•    การระบุจุดที่ติดตั้ง แผนก ชั้น ห้อง อย่างชัดเจน

•    การระบุจำนวนจุดเตือนภัยที่สามารถมองเห็นได้

•    การระบุประเภทของการเตือนภัยที่สามารถได้ยินได้  

-    การติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน รวมถึง

•    ประสานงานทางโทรศัพท์กับหน่วยงานดับเพลิง ตำรวจ แพทย์ฉุกเฉิน 

•    การใช้ช่องทางการสื่อสารในองค์กรสำหรับภาวะฉุกเฉิน

•    การติดต่อประสานงานกับผู้บริหาร

•    การแจ้งเตือนหน่วยงานภายนอก

-    การให้ความช่วยเหลือหน่วยงานให้บริการฉุกเฉินในการเข้าถึงพื้นที่และการอำนวยความสะดวกอื่น หมายถึง

•    มอบหมายความรับผิดชอบให้แก่บุคคลผู้ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานให้บริการฉุกเฉินและนำพาไปสู่จุดเกิดเหตุ

•    ประสานงาน/ร้องขอให้ผู้มีอุปการคุณย้ายยานพาหนะที่จอดกีดขวาง

•    ประสานงานการย้ายพาหนะขององค์กร

•    ปลดล็อคประตูและเคลื่อนย้ายเครื่องกีดขวางต่าง ๆ

•    จัดเตรียมเส้นทางเข้าสู่พื้นที่เกิดเหตุ

•    ขอรับแผนผังอาคารสำหรับจุดเกิดเหตุ

-    การให้การช่วยเหลือเบื้องต้น อาจแตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ โดยอาจจะหมายถึง

•    การให้การปฐมพยาบาล

•    การต่อสู้กับอัคคีภัยเบื้องต้น

•    การดำรงรักษาสถานการณ์ไม่ให้เลวร้าย/รุนแรงเพิ่มขึ้น

•    การปลอบประโลมและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์

•    การเคลื่อนย้ายผู้คนออกจากจุดเกิดเหตุ

•    การดำรงรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลและความปลอดภัยของบุคคลอื่น 

-    พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หมายถึง

•    พฤติกรรมก้าวร้าว หยาบคายและต่อต้านสังคม รวมถึงการโต้เถียงกับผู้มีอุปการคุณหรือพนักงานอื่น

•    การปฏิเสธการเคลื่อนย้ายออกจากสถานที่เมื่อได้รับการร้องขอ

•    มึนเมาสุรา

•    ขู่กรรโชก และสร้างความรุนแรง

•    แต่งกายไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดการแต่งกายของสถานที่

•    จำนวนลูกค้าในห้องพักที่มีมากเกินไป

•    ส่งเสียงดัง เอะอะ โวยวาย

-    ขั้นตอนการรับมือกับสิ่งของต้องสงสัย หมายถึง

•    การอพยพผู้คนออกจากพื้นที่

•    การแจ้ง/รายงานให้ผู้บริหารทราบ

•    การสอบถามหาเจ้าของสิ่งของ

•    การไม่เคลื่อนย้ายสิ่งของต้องสงสัย 

•    การเคลื่อนย้ายสิ่งของต้องสงสัยเมื่อได้รับอนุญาต

-    การรับมือกับคำขู่หรือการลอบวางระเบิด รวมถึง

•    ให้ถือว่าคำขู่ที่ได้รับเป็นจริง

•    บันทึกรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนรายละเอียดของผู้แจ้งเหตุ

•    แจ้งเตือนผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้อง

•    รักษาความสงบและสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีอุปการคุณ

•    อพยพผู้คนออกจากสถานที่

•    ให้การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตามที่ได้รับการร้องขอ

•    ไม่แตะต้องสิ่งของที่คาดว่าจะเป็นระเบิด และป้องกันพื้นที่จนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึง

-    การบริหารงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Management Plan) เกี่ยวข้องกับ

•    การรับมือกับเหตุการณ์ที่กระทบ กระเทือน และทำความเสียหายให้กับธุรกิจ โดยภัยที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ในระดับภัยพิบัติ

•    แผนการตระเตรียมทีมงานกู้ภัย (Emergency Response Team) เครื่องไม้เครื่องมือ และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อการกู้ภัย

•    แผนจัดการป้องกันกับผลกระทบจากอุบัติภัยหรือภัยพิบัติหรือวิกฤติที่เกิดขึ้นเพื่อจำกัดความเสียหายมิให้แผ่ขยายเกินกว่าที่ควรจะเป็น

-    การอบรม การฝึกซ้อม และการประเมินผลเพื่อปรับปรุงแผนการบริหารงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ดียิ่งขึ้น เป็นสิ่งซึ่งต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ ผู้ปฏิบัติตามแผนจะไม่สามารถทำงานได้ดีหากไม่ได้รับการอบรมถึงบทบาทของตัวเองในแผนนั้น แผนจะไม่มีประสิทธิภาพหากไม่เคยทำการฝึกซ้อมเพื่อทดสอบแผนที่เขียน และไม่มีแผนใดที่จะดีพร้อมและคงอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีการปรับปรุง

-    การรักษาสวัสดิภาพสูงสุดในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจหมายรวมถึง

•    ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของบุคคลมากกว่าความปลอดภัยของทรัพย์สิน

•    เคลื่อนย้ายผู้มีอุปการคุณออกจากพื้นที่ ซึ่งรวมถึงการใช้กำลังอย่างเหมาะสม/ในกรณีจำเป็น

•    ป้องกันผู้คนเข้าสู่พื้นที่ ซึ่งรวมถึงการใช้กำลังอย่างเหมาะสม/ในกรณีจำเป็น

-    การระงับความตื่นเต้น ตระหนกตกใจ หมายถึง

•    แสดงความมั่นใจและมีอากัปกิริยาที่ปกติ

•    ดำรงรักษาจิตใจให้สงบ

•    สร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคคลที่แสดงอาการผิดหวัง หวาดกลัว และตื่นตระหนก

-    การระบุเส้นทางอพยพที่จำเป็น อาจหมายรวมถึง

•    อ้างอิงจากบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับพื้นที่

•    ใช้ความรู้ในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกอบกับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสถานที่และการคาดการณ์เหตุฉุกเฉินของผู้คนในการกำหนดเส้นทาง

•    เปิดทางเลือกหลายทางสำหรับการกำหนดเส้นทางการออกจากสถานที่

•    ตัดสินใจอย่างทันท่วงที

-    การจัดทำเอกสารและรายงานที่จำเป็น หมายถึง

•    รวบรวมและนำเสนอข้อมูลการเข้า-ออกของยานพาหนะและของบุคคล

•    จัดทำบันทึก/ทะเบียนการเข้า-ออกที่มีเงื่อนไขตามคำร้องขอ

•    จัดทำรายงานประเมินความเสียหาย

•    จัดทำรายงานประเมินผลด้านความปลอดภัย การฝ่าฝืน และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

•    ให้การช่วยเหลือในการจัดทำคำร้องขอค่าสินไหมจากบริษัทประกัน

•    รายงานการเป็นพยานในสถานที่เกิดเหตุ

-    การควบคุมสถานการณ์ในกรณีที่มีผู้เสียชีวิต หมายถึง 

•    การทำให้เชื่อมั่นว่าไม่มีผู้ใดได้เห็นผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากผู้ที่ประสบเหตุ

•    ให้เกียรติและความเคารพอย่างเหมาะสมแก่ผู้ตาย

•    ปิดประตูทั้งหมด

•    จัดวางอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็น และปรับเปลี่ยนเส้นทางการสัญจรที่จำเป็น

•    ระมัดระวังการตกหล่นของร่างกายผู้เสียชีวิต

-    การปกป้อง/รักษาสถานที่เกิดเหตุ อาจหมายรวมถึง

•    ใช้อุปกรณ์ป้องกันการเข้ามายังพื้นที่

•    ไม่แตะต้องสิ่งใดๆ ในสถานที่เกิดเหตุ

•    ไม่อนุญาตให้เคลื่อนย้ายสิ่งใด ๆ ออกจากพื้นที่

•    ถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุ

•    จดบันทึกชื่อพยานบุคคลและผู้ที่เกี่ยวข้อง

•    ป้องกันหลักฐานชิ้นสำคัญจากการรบกวนหรือปนเปื้อน

-    การปลอบประโลมผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเสียชีวิต อาจหมายรวมถึง

•    ให้คำปรึกษา 

•    ให้การปฐมพยาบาล หรือนำส่งโรงพยาบาลตามความเหมาะสม

•    แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม

•    แสดงอาการอันสงบ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ