หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการดันท่อลอดอย่างปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-KQBX-139A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการดันท่อลอดอย่างปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

211 ช่างงานดันท่อลอด



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถดำเนินการควบคุมความเสี่ยงในการทำงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
211411

เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

1.1 ตรวจสอบข้อกำหนดด้านความเสี่ยงในการดำเนินงาน 

211411.01 194520
211411

เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

1.2 ตรวจสอบสภาพพื้นที่ทำงานเพื่อระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้น 

211411.02 194521
211411

เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

1.3 จัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันอันตรายตามข้อกำหนด 

211411.03 194522
211411

เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

1.4 จำแนกประเภทและขอบเขตของอันตรายที่ไม่ได้แก้ไข และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

211411.04 194523
211412

ประเมิน และระบุอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้

2.1 ประเมิน และกำหนดผลกระทบของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ 

211412.01 194524
211412

ประเมิน และระบุอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้

2.2 พิจารณา และกำหนดโอกาสเกิดอันตรายในพื้นที่ทำงานและพื้นที่โดยรอบ 

211412.02 194525
211412

ประเมิน และระบุอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้

2.3 ระบุเกณฑ์สำหรับการยอมรับ/ไม่ยอมรับความเสี่ยง 

211412.03 194526
211412

ประเมิน และระบุอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้

2.4 ประเมินความเสี่ยงกับเกณฑ์เพื่อระบุว่าเป็นสถานะและการกระทำที่ยอมรับไม่ได้ 

211412.04 194527
211412

ประเมิน และระบุอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้

2.5 สื่อสารและชี้แจงการตัดสินใจให้ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

211412.05 194528
211413

เลือกใช้วิธีการป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม

3.1 ระบุและพิจารณาตัวเลือกการป้องกันความเสี่ยงที่เป็นไปได้ทั้งหมด 

211413.01 194529
211413

เลือกใช้วิธีการป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม

3.2 ระบุวิธีการป้องกันอันตรายโดยการวิเคราะห์เบื้องต้น และการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสม 

211413.02 194530
211413

เลือกใช้วิธีการป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม

3.3 วิเคราะห์วิธีการป้องกันอันตรายรวมถึงข้อจำกัดของทรัพยากร 

211413.03 194531
211413

เลือกใช้วิธีการป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม

3.4 เลือกแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

211413.04 194532
211413

เลือกใช้วิธีการป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม

3.5 ใช้มาตรการควบคุมความเสี่ยงที่ได้รับอนุมัติ 

211413.05 194533
211414

บันทึกอันตรายที่ตรวจพบ และรายงานให้กับผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

4.1 สื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องอย่างมีประสิทธิภาพให้กับผู้อื่นเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ และการนำไปปฏิบัติ 

211414.01 194534
211414

บันทึกอันตรายที่ตรวจพบ และรายงานให้กับผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

4.2 บันทึก และจัดทำรายงานเกี่ยวกับอันตรายและการกระทำจากการประเมินความเสี่ยงส่วนบุคคล

211414.02 194535

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการสังเกตเห็นความผิดปกติของการทำงาน สภาพแวดล้อมของการทำงานที่เปลี่ยนแปลง แตกต่างจากสภาพทั่วไปทางกายภาพได้ (การมองเห็น การได้ยิน)

- ทักษะในการ คาดการณ์ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้ในข้อกำหนด กฎหมายในการทำงาน

- ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

- ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

- แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

- ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

- ใบรับรองการผ่านการประเมิน

- ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ง) คำแนะนำในการประเมิน

- ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการดำเนินการควบคุมความเสี่ยงในการทำงาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(จ) วิธีการประเมิน

-  ทดสอบด้านความรู้

-  ทดสอบด้านด้านทักษะ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบดำเนินการควบคุมความเสี่ยงในการทำงาน โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

- ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 

- เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

การดำเนินการควบคุมความเสี่ยงในการทำงานคือ การวางแผนงานควบคุมความเสี่ยง การตรวจสอบข้อกำหนด พื้นที่ จำแนกประเภทของอันตราย ประเมินความเสี่ยง พิจารณาโอกาสเกิดของเหตุการณ์ สื่อสารและชี้แจง จัดการความเสี่ยง ใช้มาตรการความคุมความเสี่ยง บันทึกและรายงานผล 

- ความเสี่ยงในการทำงาน ประกอบด้วยโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ และผลกระทบของเหตุการณ์นั้น อันตรายที่อาจเกิดขึ้น อาจเกิดจากเครื่องมือ หรือความประมาทของผู้ปฏิบัติงาน

- ผลกระทบของความเสี่ยง อาจมีผลทำให้งานล่าช้า หยุดงาน หรืออาจเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน มาตรการควบคุมความเสี่ยง จะกำหนดโดย ผู้บริหาร วิศวกร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ซึ่งต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้การทำงานมีความถูกต้อง 

- ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการวางแผนและเตรียมงานควบคุมความเสี่ยง

-  ข้อสอบข้อเขียน

-  การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ข) เครื่องมือประเมินการประเมินและระบุความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้

-  ข้อสอบข้อเขียน

-  การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ค) เครื่องมือประเมินระบุ ประเมินการใช้วิธีจัดการความเสี่ยง

-  ข้อสอบข้อเขียน

-  การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ง) เครื่องมือประเมินการบันทึกและรายงาน

-  ข้อสอบข้อเขียน

-  การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ