หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการประกอบติดตั้ง/รื้อถอนปั้นจั่นหอสูงอย่างปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-FEHX-126A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการประกอบติดตั้ง/รื้อถอนปั้นจั่นหอสูงอย่างปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

209 ผู้ติดตั้งรื้อถอนปั้นจั่นหอสูง  (Tower Crane)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมการประกอบติดตั้ง/รื้อถอนปั้นจั่นหอสูง ให้เป็นไปตามคู่มือการติดตั้งของแต่ละผู้ผลิต โดยมีการเลือกใช้เครื่องมือที่จำเป็นกับลักษณะงาน ได้อย่างถูกต้อง และมีความปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
209521

ระบุความต้องการด้านความปลอดภัยในการทำงาน

1.1 ตรวจสอบขั้นตอนด้านความปลอดภัยการทำงานในที่สูง และตรวจสอบว่ากิจกรรมการทำงานเป็นไปตามข้อกำหนด 

209521.01 194368
209521

ระบุความต้องการด้านความปลอดภัยในการทำงาน

1.2 ตรวจสอบพื้นที่ทำงานเพื่อให้ทราบรูปแบบและสภาพทางกายภาพ สภาพของโครงสร้าง สภาพอากาศที่เป็นอยู่ ข้อกำหนดของอุปกรณ์ และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น 

209521.02 194369
209521

ระบุความต้องการด้านความปลอดภัยในการทำงาน

1.3 เลือก และตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับการทำงาน 

209521.03 194370
209521

ระบุความต้องการด้านความปลอดภัยในการทำงาน

1.4 ระบุ จัดการ และรายงานความเสี่ยง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

209521.04 194371
209522

ทำงานได้อย่างปลอดภัย ระหว่างทำการรื้อถอนปั่นจั่นหอสูง

2.1 ปฏิบัติตามกฎหมายด้านชีวอนามัยในปัจจุบัน และกฎระเบียบและแนวทางที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ใช้กับการรื้อถอนปั้นจั่นหอสูง 

209522.01 194372
209522

ทำงานได้อย่างปลอดภัย ระหว่างทำการรื้อถอนปั่นจั่นหอสูง

2.2 แจ้งเตือนปัญหาด้านสุขภาพ และความปลอดภัย และอธิบายสาเหตุของการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจาก การรื้อถอนปั้นจั่นหอสูง

209522.02 194373
209523

ปฏิบัติตามขั้นตอนการสื่อสารในองค์กรเมื่อทำการรื้อถอนปั่นจั่นหอสูง

3.1 รายงานผลการดำเนินงานปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ต่อบุคลากรที่ ได้รับมอบหมาย 

209523.01 194374
209523

ปฏิบัติตามขั้นตอนการสื่อสารในองค์กรเมื่อทำการรื้อถอนปั่นจั่นหอสูง

3.2 ระบุลำดับการรายงานตามขั้นตอนในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนปั้นจั่นหอสูง

209523.02 194375

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-  สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ

-  มีความสามารถในการอ่าน และแปลเอกสารภาษาอังกฤษและสามารถสื่อสารได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-  อ่านแล้วเข้าใจคู่มือการปฏิบัติงานที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้

-  สามารถสั่งการช่างผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจในขั้นตอนการทำงานทั้งในส่วนการติดตั้ง รื้อถอน เพิ่มและลดความสูง

- มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานและถ่ายทอดได้

-  ประเมินอุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้งาน

-  สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ซับซ้อนได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-  ความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศ

-  ความรู้การใช้งานเครื่องมือการติดตั้ง

-  ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง การใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

-  ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

-  แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

-  ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

-  ใบรับรองการผ่านการประเมิน

-  ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

-  ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

-  ทดสอบด้านความรู้

-  ทดสอบด้านด้านทักษะ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบความรู้ในการควบคุมการติดตั้ง รื้อถอน เพิ่ม/ลด ความสูงโครงสร้างปั้นจั่นหอสูง (Tower Crane) โดยต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

-  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 

-  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความเข้าใจในการทำงานติดตั้ง รื้อถอน และการเพิ่ม/ลด ความสูง

-  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงาน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

 -  ต้องเข้าใจถึงระบบการเพิ่มความสูงที่มีใช้อยู่ และทราบว่าอุปกรณ์เพิ่มความสูงที่จำเป็นต้องใช้ประกอบด้วยอะไรบ้าง และ สามารถสังเกตความผิดปกติทั้งก่อนและขณะทำงาน

-  ต้องเข้าใจในกลไกการทำงานของอุปกรณ์ เพิ่มความสูง และอุปกรณ์เพิ่มเติมเช่น bracing ที่ระบุไว้ในคู่มือการติดตั้งของแต่ละผู้ผลิต รวมถึงการยึด อุปกรณ์ยึดที่จำเป็น

-  ในกรณีที่ยังไม่มีความเข้าใจ ต้องสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากคู่มือการติดตั้ง หรือในการที่มีการติดตั้งค้ำยัน (Bracing) ระหว่างการเพิ่มความสูง ต้องสามารถให้คำแนะนำกับผู้ปฏิบัติงานได้

-  ต้องเข้าใจระบบและปฏิบัติการเพิ่มความสูงของโครงสร้างปั่นจั่นหอสูงได้อย่างถูกต้องโดยในขณะเพิ่มความสูงต้องทำการตรวจวัดการเคลื่อนตัวให้สมดุลย์และสังเกตความผิดปกติของอุปกรณ์หรือความสมดุลย์ของปั้นจั่นหอสูง โดยมีความละเอียดรอบคอบในแง่ของความปลอดภัยและค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน 

-  ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมิน ควบคุมการประกอบติดตั้ง/รื้อถอนปั้นจั่นหอสูงอย่างปลอดภัย

-  ข้อสอบข้อเขียน

-  การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ