หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการในพื้นที่สูงได้อย่างปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-LSYQ-124A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการในพื้นที่สูงได้อย่างปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

209 ผู้ติดตั้งรื้อถอนปั้นจั่นหอสูง  (Tower Crane)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถปฏิบัติงานบนที่สูง ได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
209431

กำหนดขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน และคำแนะนำการทำงานอย่างปลอดภัยในพื้นที่สูง

1.1 เลือกวัสดุเครื่องมือ และอุปกรณ์ และตรวจสอบความสามารถในการใช้งาน

209431.01 194334
209431

กำหนดขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน และคำแนะนำการทำงานอย่างปลอดภัยในพื้นที่สูง

1.2 เลือก สวมใส่ และดูแลรักษาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล 

209431.02 194335
209431

กำหนดขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน และคำแนะนำการทำงานอย่างปลอดภัยในพื้นที่สูง

1.3 ตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการตก 

209431.03 194336
209431

กำหนดขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน และคำแนะนำการทำงานอย่างปลอดภัยในพื้นที่สูง

1.4 ระบุวิธีการเคลื่อนย้ายเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ได้รับการอนุมัติไปยังพื้นที่ทำงาน และลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องมือในที่ความสูง 

209431.04 194337
209431

กำหนดขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน และคำแนะนำการทำงานอย่างปลอดภัยในพื้นที่สูง

1.5 ตรวจสอบว่าระบบความปลอดภัยได้รับการติดตั้งอย่างถูกต้อง 

209431.05 194338
209431

กำหนดขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน และคำแนะนำการทำงานอย่างปลอดภัยในพื้นที่สูง

1.6 เลือก และติดตั้งป้ายและสิ่งกีดขวางที่เหมาะสม

209431.06 194339
209432

ตรวจสอบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

2.1 ตรวจสอบการป้องกันสมอยึด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีการติดตั้ง และปรับแต่งอย่างถูกต้อง 

209432.01 194340
209432

ตรวจสอบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

2.2 ตรวจสอบให้แน่ใจว่าติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งหมดแล้ว 

209432.02 194341
209432

ตรวจสอบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

2.3 ให้คำแนะนำเพื่อเข้าถึงพื้นที่ทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่เครื่องมือ และอุปกรณ์ 

209432.03 194342
209432

ตรวจสอบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

2.4 จัดวางเครื่องมือ และวัสดุเพื่อกำจัด หรือลดความเสี่ยงของสิ่งของเสียหาย หรือทำให้เกิดอุบัติเหตุ

209432.04 194343
209433

ทำงานในที่สูงได้อย่างปลอดภัย

3.1 ทำความเข้าใจการทำงานของผู้ปฏิบัติการที่พื้น และพื้นที่ทำงานที่อยู่สูง 

209433.01 194344
209433

ทำงานในที่สูงได้อย่างปลอดภัย

3.2 ทำความเข้าใจการทำงานบนที่สูงขณะทำการเพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลงความสูงขณะปฏิบัติงาน 

209433.02 194345
209433

ทำงานในที่สูงได้อย่างปลอดภัย

3.3 ทบทวนการทำงาน ทั้งในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือ และขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ มั่นใจว่าปลอดภัย 

209433.03 194346
209433

ทำงานในที่สูงได้อย่างปลอดภัย

3.4 ตรวจสอบระบบ และขั้นตอนการทำงานเพื่อความปลอดภัยเป็นระยะเพื่อให้พร้อมใช้งาน 

209433.04 194347
209433

ทำงานในที่สูงได้อย่างปลอดภัย

3.5 ติดตามมาตรการด้านการสื่อสาร ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้แน่ใจว่ามี ประสิทธิผล และเหมาะสม 

209433.05 194348
209433

ทำงานในที่สูงได้อย่างปลอดภัย

3.6 ประเมินมาตรการควบคุมความเสี่ยง แนวทางปฏิบัติงาน และ/หรือ สภาพพื้นที่ดำเนินการ

209433.06 194349
209434

ทำความสะอาดพื้นที่ภายหลังการรื้อถอน

4.1 ตรวจสอบว่ามีการรื้อ และถอดระบบความปลอดภัย 

209434.01 194350
209434

ทำความสะอาดพื้นที่ภายหลังการรื้อถอน

4.2 เก็บทำความสะอาดพื้นที่ทำงาน และทิ้ง หรือรีไซเคิลวัสดุ 

209434.02 194351
209434

ทำความสะอาดพื้นที่ภายหลังการรื้อถอน

4.3 ทำความสะอาด ตรวจสอบ บำรุงรักษา และจัดเก็บเครื่องมือ และอุปกรณ์

209434.03 194352

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-  สามารถสื่อสารภาษาไทยได้

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-  ทักษะในการสังเกตและตรวจสอบอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยเบื้องต้น 

-  ทักษะทางกายภาพ (การมองเห็น การได้ยินเสียง)

-  ทักษะในการสื่อสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-  ความรู้การใช้งานเครื่องมือสำหรับการทำงานบนที่สูง

-  ความรู้การอ่านค่าในการวัดระยะ

-  ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

-  ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

-  แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

-  ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

-  ใบรับรองการผ่านการประเมิน

-  ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

-  ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพิ่มความสูงโครงสร้างปั้นจั่นหอสูง (Tower Crane) โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

-  ทดสอบด้านความรู้

-  ทดสอบด้านด้านทักษะ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

-  ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์เพิ่มความสูง

-  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

-  ต้องทราบว่าอุปกรณ์เพิ่มความสูงที่จำเป็นต้องใช้ประกอบด้วยอะไรบ้าง 

-  ต้องสามารถสื่อสารกับผู้ควบคุมฯ ในขณะติดตั้งได้ และสามารถสื่อสารหรือให้คำแนะนำกับผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นได้ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในขณะทำงานบนที่สูง

-  ต้องเข้าใจและปฏิบัติการเพิ่มความสูงของโครงสร้างปั่นจั่นหอสูงได้อย่างถูกต้องโดยในขณะเพิ่มความสูงต้องทำการตรวจวัดการเคลื่อนตัวให้สมดุลย์และสังเกตความผิดปกติของอุปกรณ์หรือความสมดุลย์ของปั้นจั่นหอสูง 

-  ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยในพื้นที่สูงได้อย่างปลอดภัย

-  ข้อสอบข้อเขียน

-  การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ