หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานเคลื่อนย้าย จัดวาง และต่อเหล็กเสริมคอนกรีต

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-YTPL-110A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานเคลื่อนย้าย จัดวาง และต่อเหล็กเสริมคอนกรีต

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

206 เหล็กเสริมคอนกรีต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องรู้วิธีการเคลื่อนย้ายเหล็กเสริมคอนกรีตได้ปลอดภัย สามารถจัดวางและต่อเหล็กเสริมคอนกรีตได้ถูกต้องตามแบบที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐาน ว.ส.ท. 3400 รายละเอียดการเสริมเหล็ก   - ข้อ 3403 การจัดวางเหล็กเสริม   - ข้อ 3404 ระยะเรียงของเหล็กเสริม   - ข้อ 3405 การต่อเหล็กเสริม   - ข้อ 3406 เหล็กเสริมตามขวาง   - ข้อ 3407 เหล็กเสริมต้านการยืดหด   - ข้อ 3408 ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริม วัดจากผิวเหล็ก

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
206321

เคลื่อนย้ายเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างปลอดภัย

1.1 รู้กำหนดตำแหน่งระยะยกเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

206321.01 194224
206321

เคลื่อนย้ายเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างปลอดภัย

1.2 รู้กำหนดวิธีการคล้องลวดสลิงเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

206321.02 194225
206321

เคลื่อนย้ายเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างปลอดภัย

1.3 ตรวจสอบคุณภาพของลวดสลิงได้เบื้องต้น

206321.03 194226
206322

จัดวางเหล็กเสริมคอนกรีตตามระยะที่กำหนดในแบบได้ถูกต้อง

2.1 เลือกใช้อุปกรณ์วัดระยะได้ 

206322.01 194227
206322

จัดวางเหล็กเสริมคอนกรีตตามระยะที่กำหนดในแบบได้ถูกต้อง

2.2 ระบุข้อกำหนดระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมคอนกรีต และระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมคอนกรีตกับไม้แบบได้ถูกต้อง

206322.02 194228
206322

จัดวางเหล็กเสริมคอนกรีตตามระยะที่กำหนดในแบบได้ถูกต้อง

2.3 จัดวางเหล็กเสริมคอนกรีตได้ระยะถูกต้องตามแบบ

206322.03 194229
206323

ต่อทาบเหล็กเสริมคอนกรีตได้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

3.1 เลือกใช้วิธีการต่อเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างถูกต้อง

206323.01 194230
206323

ต่อทาบเหล็กเสริมคอนกรีตได้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

3.2 ระบุข้อกำหนดของการต่อ การทาบ เหล็กเสริมคอนกรีตได้ถูกต้องตามมาตรฐาน

206323.02 194231
206323

ต่อทาบเหล็กเสริมคอนกรีตได้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

3.3 ปฏิบัติงานต่อและทาบเหล็กเสริมคอนกรีตได้ถูกต้องตามมาตรฐาน

206323.03 194232

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. การใช้เครื่องมือในการตัด ดัด งอ ต่อ และผูกเหล็กเสริมคอนกรีต

2. ชนิด ประเภท และขนาดของเหล็กเสริมคอนกรีต

3. วิธีการเก็บรักษาวัสดุที่ถูกต้อง

4. การตรวจคุณภาพของเหล็กเสริมคอนกรีตเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การใช้อุปกรณ์วัดระยะ เช่น ตลับเมตร

2. การจัดวาง การต่อและการทาบเหล็กเสริมคอนกรีต

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ระยะยก การคล้องลวดสลิง ที่ปลอดภัย

2. ข้อกำหนดระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมคอนกรีต และระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมคอนกรีตกับไม้แบบ

3. วิธีการต่อ และการทาบเหล็กเสริมคอนกรีต

4. ข้อกำหนดของการต่อ การทาบ เหล็กเสริมคอนกรีต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    - ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี) และ

    - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    - ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี) และ

    - แบบสอบสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    - ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการยกเหล็กเสริมคอนกรีต ข้อกำหนดระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมคอนกรีต และระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมคอนกรีตกับไม้แบบ วิธีการต่อและการทาบเหล็กเสริมคอนกรีต ข้อกำหนดของการต่อ การทาบเหล็กเสริมคอนกรีต และการมีทักษะในการใช้อุปกรณ์วัดระยะ การจัดวาง และการต่อเหล็กเสริมคอนกรีต

(ง) วิธีการประเมิน

    - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน และ

    - แบบสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

- ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการยกเหล็กเสริมคอนกรีต ข้อกำหนดระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมคอนกรีต และระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมคอนกรีตกับไม้แบบ วิธีการต่อและการทาบเหล็กเสริมคอนกรีต ข้อกำหนดของการต่อ การทาบเหล็กเสริมคอนกรีต

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. สามารถเคลื่อนย้ายเหล็กเสริมคอนกรีตได้ปลอดภัย

2. จัดวาง ต่อ ทาบ เหล็กเสริมคอนกรีตตามระยะที่กำหนด และถูกต้องตามมาตรฐาน ว.ส.ท.


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการเคลื่อนย้ายเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างปลอดภัย

    - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน และ

    - แบบสอบสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ข) เครื่องมือประเมินการจัดวางเหล็กเสริมคอนกรีตตามระยะที่กำหนดในแบบได้ถูกต้อง

    - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ค) เครื่องมือประเมินการต่อเหล็กเสริมคอนกรีตได้ถูกต้องตามมาตรฐาน

    - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ