หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการแผนปฏิบัติงาน ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานแบบหล่อคอนกรีต

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-UIOJ-108A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการแผนปฏิบัติงาน ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานแบบหล่อคอนกรีต

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

205 แบบหล่อคอนกรีต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องสามารถคำนวณปริมาณการใช้วัสดุได้ สามารถแก้ไขปัญหาหน้างานและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
205511

วางแผนปริมาณการใช้วัสดุได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

1.1 คำนวณหาขนาด ความกว้าง ความยาวของแบบหล่อได้

205511.01 194207
205511

วางแผนปริมาณการใช้วัสดุได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

1.2 คำนวณปริมาณการใช้ไม้สำหรับสร้างแบบหล่อคอนกรีตได้

205511.02 194208
205511

วางแผนปริมาณการใช้วัสดุได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

1.3  จัดทำบัญชีรายการวัสดุและวางแผนการใช้วัสดุได้

205511.03 194209
205512

เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต แก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.1 อธิบายลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีตได้ถูกต้อง

205512.01 194210
205512

เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต แก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 ประเมินพฤติกรรมและปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นหน้างานได้

205512.02 194211
205512

เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต แก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.3 อธิบายวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานและตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

205512.03 194212

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. เข้าใจรายละเอียดแบบแปลน รูปด้าน รูปตัด ของชิ้นส่วนโครงสร้าง

2. อธิบายข้อกำหนดในรายการประกอบแบบได้

3. ตรวจสอบความถูกต้องและความมั่นคงแข็งแรงของแบบหล่อได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การคำนวณหาขนาด ความกว้าง ความยาวของแบบหล่อ

2. การคำนวณปริมาณการใช้วัสดุ

3. การจัดทำบัญชีรายการวัสดุและการวางแผนการใช้วัสดุ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต

2. การมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาหน้างาน

3. การใช้ความรู้ที่มีในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ

    - ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ

    - ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    - ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต วิธีการแก้ไขปัญหาหน้างาน และการมีทักษะในการคำนวณหาขนาด ความกว้าง ความยาวของแบบหล่อ ปริมาณวัสดุที่ใช้ การจัดทำบัญชีรายการวัสดุและการวางแผนการใช้วัสดุ

(ง) วิธีการประเมิน

    - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ

    - ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

- ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต การคำนวณหาขนาด ความกว้าง ความยาวของแบบหล่อ ปริมาณวัสดุที่ใช้ การจัดทำบัญชีรายการวัสดุการวางแผนการใช้วัสดุ และมีประสบการณ์ในการทำงาน การแก้ไขปัญหาหน้างาน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. คำนวณปริมาณการใช้ไม้สำหรับสร้างแบบหล่อคอนกรีตได้

2. สามารถจัดทำบัญชีรายการวัสดุ เช่น ใช้ไม้ ตะปู ขนาดเท่าไร ปริมาณเท่าไร และวางแผนการใช้วัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

3. เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับแรงดัด แรงเฉือน และขนาดของการแอ่นตัว (Deflection) ที่ยอมรับได้ของแบบหล่อคอนกรีต การเสริมความแข็งแรงแบบหล่อคอนกรีตบริเวณที่เป็นจุดอ่อนของแบบหล่อแต่ละชนิด เช่น แบบหล่อผนังคอนกรีตขนาดใหญ่ แบบหล่อพื้น แบบหล่อคาน แบบหล่อเสา

4. สามารถแก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินความสามารถคำนวณปริมาณการใช้วัสดุได้

    - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ข) เครื่องมือประเมินความเข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต ความสามารถแก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ