หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ฉาบปูนรองพื้นและงานฉาบเรียบได้ตามแบบที่กำหนด

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-FLZM-102A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ฉาบปูนรองพื้นและงานฉาบเรียบได้ตามแบบที่กำหนด

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

204 ช่างฉาบปูน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถฉาบปูนตามระดับ และแนวระนาบ ทำปุ่มระดับ ทำเหลี่ยม (จับเซี้ยม) ของการฉาบรองพื้นและการฉาบเรียบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
204321

เลือกเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฉาบปูน

1.1 เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการฉาบปูน

204321.01 194160
204321

เลือกเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฉาบปูน

1.2 เก็บ ซ่อม แต่ง แก้ไข และบำรุงรักษาเครื่องมือ

204321.02 194161
204322

ฉาบปูน

2.1 เตรียมพื้นที่ทำงานและพื้นผิวชนิดต่าง ๆ ที่จะทำการฉาบ

204322.01 194162
204322

ฉาบปูน

2.2 ผสมปูนฉาบตามข้อกำหนดการใช้งาน

204322.02 194163
204322

ฉาบปูน

2.3 ฉาบปูนตามขั้นตอนการหาแนวดิ่ง ฉาก ระยะ ระดับ และแนวระนาบ การทำปุ่มระดับ ทำเหลี่ยม (จับเซี้ยม) การฉาบรองพื้น การฉาบทับหน้าและการฉาบแต่งผิว

204322.03 194164
204322

ฉาบปูน

2.4 เตรียมผิวเพื่อประสานกับการทำพื้นผิวชนิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น งานปูกระเบื้อง งานหินขัด งานวัสดุปิดผิวอื่น ๆ

204322.04 194165
204322

ฉาบปูน

2.5 ใช้วัสดุและผสมปูนฉาบให้เหมาะสมกับการใช้งานหรือตามข้อกำหนด

204322.05 194166
204322

ฉาบปูน

2.6 เตรียมและใช้เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน

204322.06 194167

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

เป็นผู้ที่รู้จักเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานฉาบ มีทักษะการฉาบปูนในเบื้องต้น

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การเตรียมพื้นที่และพื้นผิวงานฉาบและการขนย้ายอุปกรณ์

2. การทำปุ่มระดับ ทำเหลี่ยม (จับเซี้ยม) และการฉาบปูน 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มาตรฐานความปลอดภัยการทำงานฉาบปูน

2. รู้จักวัสดุที่ใช้ในการฉาบปูน

3. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฉาบปูน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ

2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลการสอบข้อเขียน จากแบบทดสอบความรู้ และ

2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน    

ผู้ประเมินตรวจประเมิน เกี่ยวกับ เลือกวัสดุ อุปกรณ์ ฉาบปูน รองพื้นและงานฉาบเรียบ

วิธีการประเมิน

1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ

2. สังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องรู้วิธีการเลือกวัสดุ อุปกรณ์  การกองเก็บ ขนย้ายอุปกรณ์และการเตรียมพื้นที่สำหรับงานฉาบ รู้วิธีการผสมปูน และฉาบปูนให้ได้ระดับตามแนวนอนและแนวดิ่ง ทั้งการฉาบรองพื้น การฉาบทับหน้าและการฉาบแต่งผิว ตลอดจนเตรียมผิวเพื่อประสานกับการทำพื้นผิวชนิดอื่น ๆ 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

-ต้องสามารถเลือก เตรียมวัสดุฉาบ ขนย้ายอุปกรณ์ และปฏิบัติงานบนนั่งร้านหรือที่สูงได้

-ต้องสามารถเตรียมพื้นที่ เตรียมอัตราส่วนผสม 

-ต้องสามารถฉาบปูน ทำปุ่มระดับ จับเซี้ยม ได้ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) ฉาบปูนรองพื้นและงานฉาบเรียบได้ถูกต้องตามแบบรูป รายการที่กำหนด

    - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ

    - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ