หน่วยสมรรถนะ
ทำงานร่วมกันระหว่างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Collaboration)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | CIP-UUQA-024A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ทำงานร่วมกันระหว่างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Collaboration) |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2566 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
105 ช่างเขียนแบบแบบจำลองสารสนเทศอาคาร |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถนำแบบจำลองสารสนเทศอาคารทุกระบบทั้งหมดมารวมกัน เช่น งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานไฟฟ้า งานประปา งานเครื่องกล โดยต้องมีจุดอ้างอิง (Reference Point) เดียวกัน และสามารถตรวจสอบความขัดแย้งในโมเดลของแต่ละระบบในระดับหลัก และระดับรอง |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อุตสาหกรรมก่อสร้าง |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
105511 นำแบบจำลองสารสนเทศอาคารทุกระบบทั้งหมดมารวมกัน |
1.1 สามารถสร้างจุด reference point ตามแบบได้ตามแผนการปฏิบัติการ |
105511.01 | 193593 |
105511 นำแบบจำลองสารสนเทศอาคารทุกระบบทั้งหมดมารวมกัน |
1.2 สามารถนำแบบจำลองสารสนเทศอาคารทุกระบบทั้งหมดมารวมกัน โดยอ้างอิงจุด reference point |
105511.02 | 193594 |
105512 ตรวจสอบความขัดแย้งในโมเดลของแต่ละระบบ |
2.1
สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบข้อขัดแย้งของแบบจำลองสารสนเทศอาคาร |
105512.01 | 193595 |
105512 ตรวจสอบความขัดแย้งในโมเดลของแต่ละระบบ |
2.2
สามารถสร้างรายงานข้อขัดแย้งของแบบจำลองสารสนเทศอาคารได้ตามแผนปฏิบัติการ |
105512.02 | 193596 |
105512 ตรวจสอบความขัดแย้งในโมเดลของแต่ละระบบ |
2.3 แยกองค์ประกอบของแบบจำลองสารสนเทศอาคาร
เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อขัดแย้งได้ตามแผนปฏิบัติการ |
105512.03 | 193597 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
- สำเร็จการศึกษาระดับประโยควิชาชีพ หรือเทียบเท่า ประโยควิชาชีพชั้นสูงจนถึงระดับปริญญาตรี ในสาขาช่างเทคนิคการเขียนแบบ - มีความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ หรือเขียนภาพ 2 มิติ 3 มิติได้ - สามารถเข้าใจกระบวนการในการตรวจสอบข้อขัดแย้งของแต่ละโครงสร้าง |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - การเลือกและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ หรือเขียนภาพ 2 มิติ 3 มิติได้ - การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบ และโปรแกรมงานเอกสารพื้นฐาน - การใช้โปรแกรมสามมิติพื้นฐานได้ - การสร้างจุดอ้างอิง (Reference point) (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ชนิดของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบ - หลักการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบ - หลักการตรวจสอบการข้อขัดแย้งของแต่ละโครงสร้าง |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ - ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการตรวจสอบข้อขัดแย้งในแตะละระบบ (ข) คำอธิบายรายละเอียด - แบบก่อสร้าง หมายถึง แบบที่ใช้ในการสร้างบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการยื่นเพื่อขออนุญาตก่อสร้างจนสร้างบ้านเสร็จ ประกอบไปด้วย แบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้างพร้อมรายการคำนวณ แบบวิศวกรรมระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง งานระบบประปาและสุขาภิบาล - แบบจำลองสารสนเทศอาคาร คือ เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับงานเขียนแบบสถาปัตยกรรม งานเขียนแบบไฟฟ้า งานเขียนแบบวิศวกรรมโครงสร้าง งานเขียนแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบอาคารไปจนถึงการก่อสร้าง เป็นการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาควบคุมกระบวนการต่างๆ ระบบจะสร้างแบบจำลองเสมือนของอาคารที่แม่นยำ - โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการเขียนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ในการเขียนแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ สามารถใช้คำสั่งในการเขียนองค์ประกอบอาคาร โดยมีข้อมูลที่จำเป็นประกอบในแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เช่น Sketch Up, ArchiCAD, Autodesk Revit, Tekla - แผนปฏิบัติการ (BIM Execution Plan) คือ การสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้วยระบบ BIM โดยเสนอแนวทาง และข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการทำงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ - Reference point คือ จุดอ้างอิง ของตำแหน่งการสร้าง Grid และ Level ในแบบจำลองสารสนเทศอาคาร - ข้อขัดแย้งในแต่ละระบบ คือ การแสดงผลของระนาบวัตถุ 2 ด้านที่ห่างกัน, สัมผัสกัน, หรืออยู่ในตำแหน่งเดียวกัน - โปรแกรมที่ใช้ในการนำแบบจำลองสารสนเทศอาคารทุกระบบทั้งหมดมารวมกัน และตรวจสอบความขัดแย้งในโมเดลของแต่ละระบบในระดับหลัก และระดับรอง ได้แก่ Autodesk Navisworks, Solibri |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
(ก) เครื่องมือประเมิน ทำงานร่วมกันระหว่างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Collaboration) - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน |