หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ตามแผนปฏิบัติการแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM Execution Plan) ตามที่กำหนด

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-ZAGZ-022A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ตามแผนปฏิบัติการแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM Execution Plan) ตามที่กำหนด

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

105 ช่างเขียนแบบแบบจำลองสารสนเทศอาคาร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถอ่านแบบก่อสร้างได้ และเข้าใจส่วนประกอบแบบที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น แปลน รูปด้าน รูปตัด แบบขยาย และสามารถสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารได้ ตามแผนการปฏิบัติการ (BIM Execution Plan) ตามที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
105411

เข้าใจสิ่งที่จำเป็นในงานเขียนแบบก่อสร้าง 

1.1 เข้าใจแบบก่อสร้างได้ถูกต้อง

105411.01 193553

1.2 เข้าใจแบบผังพื้นได้ถูกต้อง

105411.02 193554

1.3 เข้าใจผังโครงสร้างได้ถูกต้อง

105411.03 193555

1.4 เข้าใจแบบรูปตัดได้ถูกต้อง

105411.04 193556

1.5 เข้าใจแบบรูปด้านได้ถูกต้อง

105411.05 193557

1.6 เข้าใจแบบขยายได้ถูกต้อง

105411.06 193558

1.7 เข้าใจแบบขยายวิศวกรรมได้ถูกต้อง

105411.07 193559

1.8 เข้าใจแบบขยายไฟฟ้าได้ถูกต้อง

105411.08 193560

1.9 เข้าใจแบบประปาได้ถูกต้อง

105411.09 193561

1.10 เข้าใจแบบผังบริเวณได้ถูกต้อง

105411.10 193562
105412

สร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ตามกระบวนการแบบจำลองสารสนเทศอาคาร

2.1 กำหนดกริดไลน์ได้ถูกต้อง

105412.01 193563

2.2 กำหนดระดับชั้นในการใช้อ้างอิงได้ถูกต้อง

105412.02 193564

2.3 กำหนดเส้นบอกขนาดได้ถูกต้อง

105412.03 193565

2.4 สร้างฐานรากได้ถูกต้อง

105412.04 193566

2.5 สร้างเสาตอม่อได้ถูกต้อง

105412.05 193567

2.6 สร้างคานคอดินได้ถูกต้อง

105412.06 193568

2.7 สร้างพื้นได้ถูกต้อง

105412.07 193569

2.8 สร้างคานรับโครงหลังคาได้ถูกต้อง

105412.08 193570

2.9 สร้างโครงหลังคาได้ถูกต้อง

105412.09 193571
105413

สร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารหมวดงานสถาปัตยกรรม ตามกระบวนการแบบจำลองสารสนเทศอาคาร

3.1 สร้างผนังได้ถูกต้อง

105413.01 193572

3.2 สร้างงานตกแต่งผิวพื้นได้ถูกต้อง

105413.02 193573

3.3 สร้างฝ้าเพดานได้ถูกต้อง

105413.03 193574

3.4 สร้างประตู-หน้าต่างได้ถูกต้อง

105413.04 193575

3.5 สร้างกระเบื้องมุงหลังคาได้ถูกต้อง

105413.05 193576
105414

เข้าใจกระบวนการแบบจำลองสารสนเทศอาคาร

4.1 หลักการกระบวนการแบบจำลองสารสนเทศอาคาร

105414.01 193577

4.2 ระดับขั้นการพัฒนาแบบ

105414.02 193578

4.3 การจัดการข้อมูลแบบจำลองสารสนเทศอาคาร

105414.03 193579
105415

เข้าใจกฎหมายควบคุมอาคาร

5.1 ลักษณะทั่วไป

105415.01 193580

5.2 กฎหมายผังเมือง, การใช้ประโยชน์ที่ดิน

105415.02 193581

5.3 กฎหมายควบคุมอาคาร

105415.03 193582
105416

เข้าใจเครื่องมือการสร้างโมเดลจากโปรแกรม BIM Autoing Tools

6.1 เข้าใจพื้นฐานโปรแกรม 

105416.01 193583

6.2 เข้าใจคำสั่งพื้นฐานจากโปรแกรม 

105416.02 193584

6.3 ประยุกต์ใช้เครื่องมือจากโปรแกรม 

105416.03 193585

6.4 พัฒนาแบบจำลองได้จากโปรแกรม 

105416.04 193586

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- สำเร็จการศึกษาระดับประโยควิชาชีพ หรือเทียบเท่า ประโยควิชาชีพชั้นสูงจนถึงระดับปริญญาตรี ในสาขาช่างเทคนิคการเขียนแบบ 



-  มีความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ หรือเขียนภาพ 2 มิติ 3 มิติได้



-  สามารถร่าง และเขียนแบบรายละเอียดส่วนประกอบต่าง ๆ และระบบการทำงานต่าง ๆ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-  การเลือกและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ หรือเขียนภาพ 2 มิติ 3 มิติได้



-  การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบ และโปรแกรมงานเอกสารพื้นฐาน



-  การใช้โปรแกรมสามมิติพื้นฐานได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-  ชนิดของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบ



-  หลักการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    -  ผลการสอบปฏิบัติ เป็นชิ้นงานที่สำเร็จ เอกสารหรือไฟล์งาน

    -  ใบงานต่าง ๆ

    -  แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    -  ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ หรือ

    -  ผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้

    -  แบบบันทึกประกอบการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    -  การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2-3 ปี มีประสบการณ์ในใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการเขียนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร

    -  ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเขียนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    -  ทดสอบด้านความรู้

    -  ทดสอบด้านด้านทักษะ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



-  ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงการอ่านแบบก่อสร้างได้ และเข้าใจส่วนประกอบแบบที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น แปลน รูปด้าน รูปตัด แบบขยาย และสามารถสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารได้ ตามแผนการปฏิบัติการ (BIM Execution Plan) ตามที่กำหนด



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



-  แบบก่อสร้าง หมายถึง แบบที่ใช้ในการสร้างบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการยื่นเพื่อขออนุญาตก่อสร้างจนสร้างบ้านเสร็จ ประกอบไปด้วย แบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้างพร้อมรายการคำนวณ แบบวิศวกรรมระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง งานระบบประปาและสุขาภิบาล



-  แบบจำลองสารสนเทศอาคาร คือ  เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับงานเขียนแบบสถาปัตยกรรม งานเขียนแบบไฟฟ้า งานเขียนแบบวิศวกรรมโครงสร้าง งานเขียนแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบอาคารไปจนถึงการก่อสร้าง เป็นการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาควบคุมกระบวนการต่างๆ ระบบจะสร้างแบบจำลองเสมือนของอาคารที่แม่นยำ



-  โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการเขียนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ในการเขียนแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ สามารถใช้คำสั่งในการเขียนองค์ประกอบอาคาร โดยมีข้อมูลที่จำเป็นประกอบในแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เช่น Sketch Up, ArchiCAD, Autodesk Revit, Tekla



-  โปรแกรมเอกสารงานพื้นฐาน ได้แก่ Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft Power Point



-  แผนปฏิบัติการ (BIM Execution Plan) คือ การสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้วยระบบ BIM โดยเสนอแนวทาง และข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการทำงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมิน สร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ตามแผนปฏิบัติการแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM Execution Plan) ตามที่กำหนด



      - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



      - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน