หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรมสำเร็จรูปในการเขียนแบบร่างแบบงานงานโครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-JPYV-007A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรมสำเร็จรูปในการเขียนแบบร่างแบบงานงานโครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

102 ช่างเขียนแบบโครงสร้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ในการเขียนแบบและร่างแบบโครงสร้างได้อย่างเหมาะสม ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบ และโปรแกรมจัดการงานเอกสารพื้นฐานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำหรับงานเขียนแบบ2. คู่มือปฏิบัติวิชาชีพ มาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้าง ฉบับปี พ.ศ. 2554 สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102411

ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเขียนแบบงานโครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์

1.1 ระบุเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเขียนแบบและร่างแบบงานโครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์

102411.01 193480
102411

ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเขียนแบบงานโครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์

1.2 เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับการเขียนแบบ

102411.02 193481
102411

ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเขียนแบบงานโครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์

1.3 ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการเขียนแบบและร่างแบบงานโครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ได้

102411.03 193482
102412

เข้าใจสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบโครงสร้าง

2.1 บอกมาตรฐานการเขียนแบบ

102412.01 193483
102412

เข้าใจสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบโครงสร้าง

2.2 กำหนดมาตราส่วน ได้อย่างถูต้อง

102412.02 193484
102412

เข้าใจสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบโครงสร้าง

2.3 เลือกใช้รูปแบบมิติได้อย่างถูกต้อง

102412.03 193485

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนแบบและอ่านแบบ



2. สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบและโปรแกรมงานเอกสารพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การเลือกและใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับการเขียนแบบ



2. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบและโปรแกรมงานเอกสารพื้นฐาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ชนิดของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ



2. หลักการทำงานของโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบและโปรแกรมงานเอกสารพื้นฐาน



3. ชนิดและสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบโครงสร้าง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    - ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรมสำเร็จรูปในการเขียนแบบและร่างแบบงานโครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ

    - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



- ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเขียนแบบและร่างแบบโครงสร้าง การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบและโปรแกรมงานเอกสารพื้นฐาน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. งานเขียนแบบชนิดต่าง ๆ ได้แก่ งานเขียนแบบโครงสร้าง งานเขียนแบบไฟฟ้า งานเขียนแบบวิศวกรรมโครงสร้าง งานเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล



2. โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการเขียนแบบคือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ในการเขียนแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น AutoCAD, GstarCAD, ArchiCAD, Revit เป็นต้นสามารถเรียกคำสั่งด้วยวิธีต่าง ๆ การกำหนดพื้นที่ในการเขียนแบบ การตั้งค่าระยะห่างจุดพิกัด การใช้ปุ่มฟังก์ชันต่าง ๆ บนคีย์บอร์ด การเลือกวัตถุ



3. โปรแกรมเอกสารงานพื้นฐาน ได้แก่ Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft Power Point



4. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเขียนแบบ ได้แก่ กระดาษเขียนแบบขนาดต่าง ๆ เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ คุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนแบบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมิน การ ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเขียนแบบงานโครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์



      - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



      - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



(ข) เครื่องมือประเมิน การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการเขียนแบบและร่างแบบงานโครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์



      - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



      - แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ