หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัญหาในด้านต่างๆ เพื่อระบุปัญหาด้านบริหารองค์กรภาพรวม และปัญหาเชิงลึกเฉพาะด้าน

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-MRZY-423B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัญหาในด้านต่างๆ เพื่อระบุปัญหาด้านบริหารองค์กรภาพรวม และปัญหาเชิงลึกเฉพาะด้าน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวินิจฉัยสถานประกอบการเชิงลึกเฉพาะด้าน ระดับ 6  



และนักวินิจฉัยสถานประกอบการและให้คำปรึกษา ระดับ 7



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถวิเคราะห์เพื่อจัดระดับของปัญหาหลักของสถานประกอบการว่าเป็นปัญหาระดับบุคคล  ระดับฝ่าย ระดับกลุ่มธุรกิจ ระดับองค์กร  แล้วสร้างความสัมพันธ์ของปัญหาในด้านต่างๆ ที่พบ เพื่อระบุปัญหาภาพรวมขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพนักวินิจฉัยสถานประกอบการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02211

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัญหาด้านต่างๆ

จัดระดับของปัญหาของสถานประกอบการว่าเป็นปัญหาระดับบุคคล ระดับแผนก ระดับกลุ่มธุรกิจ หรือระดับลูกค้าได้

02211.01 190896
02211

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัญหาด้านต่างๆ

วิเคราะห์และสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ของปัญหา ซึ่งแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของปัญหาต่างๆ ที่พบได้

02211.02 190897
02212

ระบุปัญหาภาพรวม

ระบุปัญหาภาพรวมของการวินิจฉัยได้ ว่าเป็นปัญหาที่ทำให้ธุรกิจไม่เติบโตตามเป้าหมาย ปัญหาที่ทำให้การดำเนินงานขาดประสิทธิภาพ ปัญหาที่นำไปสู่การขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือเป็นเพียงประเด็นในการพัฒนาศักยภาพด้นการแข่งขัน

02212.01 190898
02212

ระบุปัญหาภาพรวม

กำหนด THEME การวินิจฉัย เพื่อกำหนดแนวทางการวินิจฉัยในภาพรวมองค์กร

02212.02 190899

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการวิเคราะห์การใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัญหา เช่น ต้นไม้การตัดสินใจ (Decision tree),  แผนผังกลุ่มเชื่อมโยง (Affinity Diagrams) แผนผังความสัมพันธ์ (Relations Diagrams)   

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธุรกิจของสถานประกอบการที่รับบริการ



2. เข้าใจความต้องการของผู้ประกอบการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



 1. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



2. หนังสือรับรองการทำงาน



3. เอกสาร หรือสื่อการนำเสนอผลการวินิจฉัย



4. ใบกำหนดหน้าที่งาน



5. ผลประเมินผู้ประกอบการ



     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร



2. รางวัลหรือเกียรติบัตร



3. ผลงานทางวิชาการ (หนังสือ บทความ วิจัย)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ขอรับการรับรองที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำตามเกณฑ์การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (Qualification Pathways) ใช้วิธีการประเมินโดยการการสัมภาษณ์ และตรวจแฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



2. ผู้ที่ขอรับการรับรองที่มีประสบการณ์สูง อาจพิจารณาให้เลือกวิธีการประเมินโดยการเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



(ง) วิธีการประเมิน



1. การตรวจแฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



2. การเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน (RESK: Recognition of Existing Skills and Knowledge)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



1) การเก็บรวบรวมข้อมูลควรคำนึงถึงความเป็นปัจจุบันของข้อมูลที่จะนำมาใช้



2) ข้อมูลต่าง ๆ ของสถานประกอบการต้องถูกเก็บเป็นความลับ เว้นแต่สถานประกอบการอนุญาตหรือยินยอมให้เผยแพร่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แบบประเมินทักษะจากการตรวจแฟ้มสะสมผลงาน  และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



2. แบบประเมินการเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน (RESK: Recognition of Existing Skills and Knowledge



(ดูรายละเอียดจากคูมือการประเมิน)



ยินดีต้อนรับ