หน่วยสมรรถนะ
จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของปัญหาการบริหารจัดการด้านต่างๆ
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | TAA-OBBX-424B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของปัญหาการบริหารจัดการด้านต่างๆ |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
นักวินิจฉัยสถานประกอบการเชิงลึกเฉพาะด้าน ระดับ 6 และนักวินิจฉัยสถานประกอบการและให้คำปรึกษา ระดับ 7 |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของปัญหาต่างๆทางธุรกิจ (Business Impact) ต่อองค์กร หรือ ต่อลูกค้าออกมาเป็นตัวเงินหรือข้อมูลเชิงปริมาณ และประเมินโอกาสเกิดในระบบธุรกิจ (Risk Threshold) และ ความสำคัญที่ผู้บริหารมุ่งเน้น (Executive’s Priority) และนำผลการวิเคราะห์จัดระดับความสำคัญและความเร่งด่วนของปัญหาต่อไป |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพนักวินิจฉัยสถานประกอบการ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
- |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
- |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
02221 ประเมินผลกระทบของปัญหาหลักด้านต่างๆ |
ประเมินผลกระทบของปัญหาด้านการบริหารจัดการแต่ละด้าน โดยคำนวณมูลค่าของปัญหาสำคัญแต่ละด้านเป็นตัวเงิน หรือเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ |
02221.01 | 190900 |
02221 ประเมินผลกระทบของปัญหาหลักด้านต่างๆ |
จัดลำดับผลกระทบตามมูลค่า |
02221.02 | 190901 |
02222 จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของปัญหาหลักด้านต่างๆ |
ประเมินความสำคัญและความเร่งด่วนของปัญหา โดยพิจาณาจากผลกระทบ ความเร่งด่วน และความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา |
02222.01 | 190902 |
02222 จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของปัญหาหลักด้านต่างๆ |
จัดลำดับความสำคัญปัญหาหลัก โดยพิจาณาจาก มูลค่าผลกระทบ โอกาสเกิด (Risk Threshold) และ ความสำคัญที่ผู้บริหารมุ่งเน้น (Executive’s Priority) |
02222.02 | 190903 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
- |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ทักษะการวิเคราะห์การใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบ เช่น Impact Analysis, ต้นไม้การตัดสินใจ (Decision tree), 5 Whys (Why-Why) Analysis ควบคู่ไปกับ แผนภูมิก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรือ แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Chart) (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธุรกิจของสถานประกอบการที่รับบริการ 2. เข้าใจความต้องการของผู้ประกอบการ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 2. หนังสือรับรองการทำงาน 3. เอกสาร หรือสื่อการนำเสนอผลการวินิจฉัย 4. ใบกำหนดหน้าที่งาน 5. ผลประเมินผู้ประกอบการ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร 2. รางวัลหรือเกียรติบัตร 3. ผลงานทางวิชาการ (หนังสือ บทความ วิจัย) (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ขอรับการรับรองที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำตามเกณฑ์การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (Qualification Pathways) ใช้วิธีการประเมินโดยการการสัมภาษณ์ และตรวจแฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 2. ผู้ที่ขอรับการรับรองที่มีประสบการณ์สูง อาจพิจารณาให้เลือกวิธีการประเมินโดยการเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน (ง) วิธีการประเมิน 1. การตรวจแฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 2. การเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน (RESK: Recognition of Existing Skills and Knowledge) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลควรคำนึงถึงความเป็นปัจจุบันของข้อมูลที่จะนำมาใช้ 2) ข้อมูลต่าง ๆ ของสถานประกอบการต้องถูกเก็บเป็นความลับ เว้นแต่สถานประกอบการอนุญาตหรือยินยอมให้เผยแพร่ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
- |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
- |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. แบบประเมินทักษะจากการตรวจแฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 2. แบบประเมินการเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน (RESK: Recognition of Existing Skills and Knowledge (ดูรายละเอียดจากคูมือการประเมิน) |