หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ ระบุปัญหา และประเด็นเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-GSOQ-422B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ ระบุปัญหา และประเด็นเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวินิจฉัยสถานประกอบการเชิงลึก (ทรัพยากรมนุษย์)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริงเชิงลึกทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบบริหารจัดการและผลการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น นโยบาย เป้าหมาย ผังองค์กรฝ่ายทรัพยากรมนุษย์  ตัวชี้วัดการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์   ระบบสารสนเทศด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์  การวางแผนอัตรากำลัง  การสรรหาและคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง  การบริหารค่าจ้างและสวัสดิการ การประเมินผลปฏิบัติงาน การสร้างแรงจูงใจ  ข้อพิพาทแรงงาน  กิจกรรมพัฒนาองค์กร และแรงงานสัมพันธ์  ฯลฯ  และ ปัญหาและอุปสรรคด้านทรัพยากรมนุษย์ในมุมมองของผู้บริหาร  แล้วสามารถระบุปัญหา สาเหตุ และประเด็นเชิงกลยุทธ์ด้านด้านทรัพยากรมนุษย์ ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพนักวินิจฉัยสถานประกอบการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02161

วิเคราะห์ข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์

วิเคราะห์ ข้อมูลของระบบ และผลการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ ที่เก็บรวบรวมมาได้  

02161.01 215217
02161

วิเคราะห์ข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์

แสดงผลการวิเคราะห์ที่ชัดเจน และอยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย 

02161.02 215218
02162

ระบุปัญหา และประเด็นเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์พร้อมระบุสาเหตุและผลกระทบ

แปลผลการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ  เพื่อระบุปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ พร้อมระบุสาเหตุและผลกระทบที่ชัดเจน

02162.01 215213
02162

ระบุปัญหา และประเด็นเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์พร้อมระบุสาเหตุและผลกระทบ

แปลผลการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ  เพื่อกำหนดประเด็นเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ  

02162.02 215214

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการวิเคราะห์  การแสดงผล  และ การแปรผลข้อมูลต่างๆทางสถิติ  เช่น  ร้อยละ,  ความถี่ , ค่าเฉลี่ย, อัตราส่วน ,การเปรียบเทียบ Plan/Actual ฯลฯ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถานประกอบการที่รับบริการ



2. ความรู้เกี่ยวกับระบบและตัวชี้วัดระบบบริหารจัดการและผลการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



2. หนังสือรับรองการทำงาน



3. เอกสาร หรือสื่อการนำเสนอผลการวินิจฉัย



4. ใบกำหนดหน้าที่งาน



5. ผลประเมินผู้ประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร



2. รางวัลหรือเกียรติบัตร



3. ผลงานทางวิชาการ (หนังสือ บทความ วิจัย)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ขอรับการรับรองที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำตามเกณฑ์การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (Qualification Pathways) ใช้วิธีการประเมินโดยการการสัมภาษณ์ และตรวจแฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



2. ผู้ที่ขอรับการรับรองที่มีประสบการณ์สูง อาจพิจารณาให้เลือกวิธีการประเมินโดยการเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



(ง) วิธีการประเมิน



 1. การตรวจแฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



 2. การเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน (RESK: Recognition of Existing Skills and Knowledge)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



1) การเก็บรวบรวมข้อมูลควรคำนึงถึงความเป็นปัจจุบันของข้อมูลที่จะนำมาใช้



2) ข้อมูลต่าง ๆ ของสถานประกอบการต้องถูกเก็บเป็นความลับ เว้นแต่สถานประกอบการอนุญาตหรือยินยอมให้เผยแพร่



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



  ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์เพื่อระบุปัญหาของ ระบบ และผลการดำเนินงาน เช่น นโยบาย เป้าหมาย ผังองค์กรฝ่ายทรัพยากรมนุษย์  ตัวชี้วัดการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์   ระบบสารสนเทศด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์  การวางแผนอัตรากำลัง การสรรหาและคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง  การบริหารค่าจ้างและสวัสดิการ การประเมินผลปฏิบัติงาน การสร้างแรงจูงใจ  ข้อพิพาทแรงงาน  กิจกรรมพัฒนาองค์กร และแรงงานสัมพันธ์  ฯลฯ  และ ปัญหาและอุปสรรคด้านทรัพยากรมนุษย์ในมุมมองของผู้บริหาร 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แบบประเมินทักษะจากการตรวจแฟ้มสะสมผลงาน  และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



2. แบบประเมินการเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน (RESK: Recognition of Existing Skills and Knowledge



 (ดูรายละเอียดจากคูมือการประเมิน)



ยินดีต้อนรับ