หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้คำปรึกษา แนะนำ กำกับ ติดตามแผนและกระบวนการที่กำหนด

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-LZSN-431B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้คำปรึกษา แนะนำ กำกับ ติดตามแผนและกระบวนการที่กำหนด

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ ระดับ 7



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำด้วยวิธีการและรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับปัญหา หรือ การพัฒนาเฉพาะด้านตลอดโครงการ  เช่น การให้ข้อมูลต่างๆ  การวินิจฉัยเพิ่มเติมซึ่งอาจจำเป็นต้องกำหนดปัญหาใหม่  การให้คำแนะนำ การชี้แนะหรือให้ความเห็น การช่วยเหลือในการดำเนินการตามแนวทางแก้ไขที่แนะนำ  การร่วมพัฒนาแผนกลยุทธ์ให้ดีขึ้น  นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างการมีส่วนร่วม การสร้างฉันทามติและความมุ่งมั่นของทีมหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการแก้ไขหรือการพัฒนา  การอบรมและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ของพนักงานในการแก้ปัญหาที่คล้ายคลึงกันในอนาคต ตลอดจนการปรับปรุงประสิทธิผลการดำเนินงานเฉพาะด้านหรือผลการดำเนินงานทั้งองค์กรให้เกิดความยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้ เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพนักวินิจฉัยสถานประกอบการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04211

กำหนดวิธีการให้คำปรึกษาแนะนำ

วางแผนการคำปรึกษาต่างๆ ที่ทำให้การดำเนินการโครงการสำเร็จ

04211.01 190926
04211

กำหนดวิธีการให้คำปรึกษาแนะนำ

2. กำหนดวิธีการและรูปแบบการให้คำปรึกษาต่างๆ ที่ทำให้การดำเนินการโครงการสำเร็จ

04211.02 190927
04212

สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ

สร้างผู้นำและทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา

04212.01 190928
04212

สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ

สร้างฉันทามติการดำเนินการแก้ไขปัญหา 
04212.02 190929
04212

สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ

อบรมและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ของพนักงานที่เกี่ยวข้อง 

04212.03 190930

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหา หรือการปรับปรุงกระบวนการ



2. ภาวะผู้นำและทักษะในการสร้างทีม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ในการบริหารจัดการและการวางแผนกลยุทธ์เฉพาะด้าน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



2. หนังสือรับรองการทำงาน



3. เอกสาร หรือสื่อการนำเสนอผลการวินิจฉัย



4. ใบกำหนดหน้าที่งาน



5. ผลประเมินผู้ประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร



2. รางวัลหรือเกียรติบัตร



3. ผลงานทางวิชาการ (หนังสือ บทความ วิจัย)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ขอรับการรับรองที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำตามเกณฑ์การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (Qualification Pathways) ใช้วิธีการประเมินโดยการการสัมภาษณ์ และตรวจแฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



2. ผู้ที่ขอรับการรับรองที่มีประสบการณ์สูง อาจพิจารณาให้เลือกวิธีการประเมินโดยการเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน



   (ง) วิธีการประเมิน



1. การสัมภาษณ์ และตรวจแฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



2. การเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน (RESK: Recognition of Existing Skills and Knowledge)


15. ขอบเขต (Range Statement)

1) การเก็บรวบรวมข้อมูลควรคำนึงถึงความเป็นปัจจุบันของข้อมูลที่จะนำมาใช้



2) ข้อมูลต่าง ๆ ของสถานประกอบการต้องถูกเก็บเป็นความลับ เว้นแต่สถานประกอบการอนุญาตหรือยินยอมให้เผยแพร่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แบบประเมินความรู้และทักษะจาการสัมภาษณ์



2. แบบประเมินทักษะจากการตรวจแฟ้มสะสมผลงาน  และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง



3. แบบประเมินการเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน (RESK: Recognition of Existing Skills and Knowledge



(ดูรายละเอียดจากคูมือการประเมิน)



 



 



ยินดีต้อนรับ