หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-DMT-4-010ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์ประเภท Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ) ซึ่งหมายถึง แม่พิมพ์เดี่ยวที่ใช้ผลิตงานขนาดใหญ่ โดยมากเป็นจำพวกชิ้นส่วนยานยนต์ ใช้โครงสร้างทำจากเหล็กหล่อเพื่อการประหยัดและสามารถลดน้ำหนักให้กับแม่พิมพ์ ครอบคลุมกระบวนการทำงานในการขึ้นรูปชิ้นงาน (Draw, Form) ที่มีรูปร่างที่ไม่สมมาตร (Non-symmetrical shape) โดยจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน การกำหนด Strip layout การออกแบบพันช์และดาย โครงสร้างแม่พิมพ์  เลือกวัสดุทำพิมพ์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ช่วยในการขึ้นรูปและตรวจทานความถูกต้องของแบบแม่พิมพ์ เพื่อให้ได้งานที่ตรงตามข้อกำหนดจากแบบสั่งงาน (Part Drawing) 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101M10.1 เตรียมข้อมูลในการออกแบบแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ) 1.1 ศึกษาแบบชิ้นงาน 101M10.1.01 4312
101M10.1 เตรียมข้อมูลในการออกแบบแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ) 1.2ศึกษาข้อกำหนดของ Processdesign หรือ Die Layout 101M10.1.02 4313
101M10.1 เตรียมข้อมูลในการออกแบบแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ) 1.3 วิเคราะห์ แรงในการขึ้นรูปและตัวแปรต่างๆที่ใช้ในการขึ้นรูป ผ่านผลการจำลองด้วย CAE 101M10.1.03 4314
101M10.2 ออกแบบและเขียนแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ) 2.1 ออกแบบ Strip layout 101M10.2.01 4315
101M10.2 ออกแบบและเขียนแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ) 2.2 ออกแบบพันช์และดาย 101M10.2.02 4316
101M10.2 ออกแบบและเขียนแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ) 2.3 ออกแบบโครงสร้างแม่พิมพ์ 101M10.2.03 4317
101M10.2 ออกแบบและเขียนแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ) 2.4 ออกแบบชิ้นส่วน และเลือกใช้ Standardparts 101M10.2.04 4318
101M10.2 ออกแบบและเขียนแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ) 2.5 กำหนดวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ 101M10.2.05 4319
101M10.2 ออกแบบและเขียนแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ) 2.6 ตรวจทานการออกแบบแม่พิมพ์ 101M10.2.06 4320

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A  


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถอ่านและแปลความหมายของแบบงาน (Product) เพื่อกำหนดขั้นตอนการทำงาน

2. สามารถอ่านขั้นตอนการทำงานของแม่พิมพ์เพื่อขึ้นรูปชิ้นงานตามต้องการได้

3. สามารถใช้ซอฟต์แวร์การเขียนแบบวิศวกรรม

4. สามารถกำหนดกระบวนการขึ้นรูปโลหะแผ่นและลำดับการขึ้นรูปเพื่อออกแบบ Die layout

5. สามารถออกแบบและวาง Strip layout

6. สามารถออกแบบและการเขียนแบบพันช์และดาย

7. สามารถออกแบบและการเขียนแบบโครงสร้างแม่พิมพ์เหล็กหล่อ

8. สามารถออกแบบชิ้นส่วนและเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน

9. สามารถเลือกใช้วัสดุและชิ้นส่วนมาตรฐานที่จำเป็นในการออกแบบแม่พิมพ์

10. สามารถคำนวณแรงที่ใช้ในการขึ้นรูป และตัวแปรที่จำเป็นในการขึ้นรูป


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านและทำความเข้าใจเงื่อนไขของแบบงาน (Product) เพื่อการออกแบบแม่พิมพ์

2. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบภาพฉายในระบบ ISO Method-E และ ISO Method-A

3. ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดข้อกำหนดของ Process design หรือ Die layout

4. ความรู้เกี่ยวกับกลไกพื้นฐานการทำงานของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ

5. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการขึ้นรูปโลหะแผ่น ทฤษฎีการตัดโลหะแผ่น ทฤษฎีพับ-ดัดโลหะแผ่น ทฤษฎีการลากขึ้นรูปโลหะแผ่น

6. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดตัวแปรในการขึ้นรูปและพารามิเตอร์ในการออกแบบแม่พิมพ์

7. ความรู้เกี่ยวกับการสร้างกระสวนและแบบหล่อโลหะ

8. ความรู้เกี่ยวกับการวาง Strip layout

9. ความรู้ด้านการเลือกชิ้นส่วนมาตรฐาน

10. ความรู้ด้านชนิดของวัสดุทำแม่พิมพ์

11. ความรู้ด้านสัญลักษณ์ GD&T

12. ความรู้ด้านการวิเคราะห์ผลจาก CAE



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. แสดงการออกแบบ Strip layout

      2. แสดงการ ออกแบบพันช์และดาย

      3. แสดงการออกแบบโครงสร้างแม่พิมพ์

      4. แสดงการออกแบบชิ้นส่วน และเลือกใช้ Standard parts

      5. แสดงการกำหนดวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์

      6. แสดงการตรวจทานการออกแบบแม่พิมพ์

      7. แสดงแบบแม่พิมพ์Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ)

      8. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. อธิบายเงื่อนไขของแบบงาน (Product) สำหรับการออกแบบแม่พิมพ์

      2. อธิบายหรือระบุรายระเอียดข้อกำหนดของ Process design หรือ Die layout

      3. อธิบายหรือระบุวิธีการคำนวณแรงที่ใช้ในการขึ้นรูป

      4. อธิบายหรือระบุตัวแปรในการขึ้นรูปและพารามิเตอร์ในการออกแบบแม่พิมพ์

      5. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษาที่แสดงถึงความรู้ในการออกแบบแม่พิมพ์

      6. ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

       ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการออกแบบแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ)  โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง การทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

   (ง) วิธีการประเมิน

      1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

      2. แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ

      3. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อกำหนด และมาตรฐานการผลิต

     2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถคำนวณตัวแปรในการขึ้นรูป และกำหนดพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการออกแบบแม่พิมพ์Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ)

     3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเลือกใช้วัสดุทำพิมพ์ และชิ้นส่วนมาตรฐาน ตามมาตรฐาน JIS, AISI, DIN, มอก. หรือมาตรฐานฐานที่เทียบเท่าได้เหมาะสมกับหน้าที่การใช้งาน

     4. ผู้เข้าประเมินต้องออกแบบแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ)โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบได้

     5. ผู้เข้าประเมินต้องเขียนแบบแบบสั่งงาน เพื่อสร้างแม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ)ได้

     6. ผู้เข้ารับการประเมินต้องอ่านแบบและเขียนแบบสั่งงานด้วยมาตรฐานที่ใช้ในการมองภาพฉายระบบ ISO Method - E และ ISO Method – A

     7. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถตรวจสอบขนาดและค่า GD&T ตามแบบสั่งงาน และสัญลักษณ์มาตรฐาน ASME Y14.5 M : 2018

     8. ผู้เข้ารับการประเมินต้องออกแบบชุดแม่พิมพ์โดยคำนึงถึงความเที่ยงตรง ความสะดวกในการประกอบ ถอดประกอบ และเพื่อการบำรุงรักษาโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. แม่พิมพ์ Single แบบซับซ้อน (โครงสร้างเหล็กหล่อ) หมายถึง แม่พิมพ์เดี่ยวที่ใช้ผลิตงานขนาดใหญ่ โดยมากเป็นจำพวกชิ้นส่วนยานยนต์ ใช้โครงสร้างทำจากเหล็กหล่อเพื่อการประหยัดและสามารถลดน้ำหนักให้กับแม่พิมพ์ ครอบคลุมกระบวนการทำงานในการขึ้นรูปชิ้นงาน (Draw, Form) ที่มีรูปร่างที่ไม่สมมาตร (Non-symmetrical shape) จำเป็นต้องวิเคราะห์ด้วย CAE เพื่อช่วยในการออกแบบแม่พิมพ์



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

     1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

     2. แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน หรือ

     3. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน




ยินดีต้อนรับ