หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับโครงสร้างและตัวถัง (เฟรมอิสระ)

สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASV-RWWC-214A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับโครงสร้างและตัวถัง (เฟรมอิสระ)

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างซ่อมตัวถังรถยนต์


1 7231 ช่างเครื่องและช่างซ่อมเครื่องยนต์ยานยนต์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความสามารถ วิเคราะห์ความเสียหายเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวถังรถยนต์ได้ ตามข้อกำหนด ระบุตำแหน่งหรือชิ้นส่วนที่เสียหายกำหนดแนวทางพร้อมเครื่องมือที่จะดำเนินการแก้ไข กำหนดระยะเวลาในการซ่อม เปรียบเทียบโครงสร้างที่ชำรุดเสียหายกับค่ามาตรฐาน ดึงโครงรถ (Chassis) ได้ตามคู่มือซ่อม เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์การดึงโครงรถพร้อมนำโครงรถขึ้นติดตั้งบนแท่นดึงได้ตามกำหนด ระบุตำแหน่งและวัดค่าของโครงรถที่เสียหายเทียบกับคู่มือซ่อมได้ตามกำหนด ดึงโครงรถให้เข้ารูปได้ตามค่ากำหนด วัดค่ามาตรฐานหลังการซ่อมและทดลอง ประกอบชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านปลอดภัย ได้ตามคู่มือปฏิบัติงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บริการยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
IV20181

วิเคราะห์ความเสียหายเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวถังรถยนต์ได้ตามข้อกำหนด

ระบุตำแหน่งหรือชิ้นส่วนที่เสียหายได้

IV20181.01 193146
IV20181

วิเคราะห์ความเสียหายเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวถังรถยนต์ได้ตามข้อกำหนด

กำหนดแนวทางพร้อมเครื่องมือที่จะดำเนินการแก้ไข

IV20181.02 193147
IV20181

วิเคราะห์ความเสียหายเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวถังรถยนต์ได้ตามข้อกำหนด

กำหนดระยะเวลาในการซ่อมได้

IV20181.03 193148
IV20181

วิเคราะห์ความเสียหายเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวถังรถยนต์ได้ตามข้อกำหนด

เปรียบเทียบโครงสร้างที่ชำรุดเสียหายกับค่ามาตรฐานได้

IV20181.04 193149
IV20182

ดึงโครงรถ (Chassis) ได้ตามคู่มือซ่อม

เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์การดึงโครงรถพร้อมนำโครงรถขึ้นติดตั้งบนแท่นดึงได้ตามกำหนด

IV20182.01 193154
IV20182

ดึงโครงรถ (Chassis) ได้ตามคู่มือซ่อม

ระบุตำแหน่งและวัดค่าของโครงรถที่เสียหายเทียบกับคู่มือซ่อมได้ตามกำหนด

IV20182.02 193155
IV20182

ดึงโครงรถ (Chassis) ได้ตามคู่มือซ่อม

ดึงโครงรถให้เข้ารูปได้ตามค่ากำหนด

IV20182.03 193156
IV20182

ดึงโครงรถ (Chassis) ได้ตามคู่มือซ่อม

วัดค่ามาตรฐานหลังการซ่อมและทดลอง ประกอบชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

IV20182.04 193157
IV20182

ดึงโครงรถ (Chassis) ได้ตามคู่มือซ่อม

ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านปลอดภัย

IV20182.05 193158

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถอ่านขั้นตอนและทำความเข้าใจคู่มือปฏิบัติงานเพื่องานซ่อมตัวถังรถยนต์

2. สามารถวัดขนาดโครงรถและอ่านค่าตัวถังรถยนต์

3. สามารถใช้อุปกรณ์และเครื่องมืองานซ่อมตัวถัง

4. สามารถใช้อุปกรณ์ดึงตัวถังรถยนต์

5. สามารถคำนวณระยะการวัดตัวถังรถยนต์ได้

6. สามารถ ดึงตัวถังรถยนต์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

2. มีความรู้เกี่ยวกับ.การเลือกใช้เครื่องมือวัด

3. มีความรู้เกี่ยวกับโลหะวิทยาของชิ้นงานที่ทำการซ่อม

4. มีความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงสร้างตัวถังรถยนต์

5. มีความรู้เกี่ยวกับ ค่ามาตรฐานของโครงสร้างรถ

6. มีความรู้เกี่ยวกับวิธีเลือกใช้อุปกรณ์การซ่อมตัวถัง

7. มีความรู้เกี่ยวกับ การเลือกและวิธีใช้ชนิดและคุณบัติของน้ำยากันสนิม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. แสดงผลงานการปรับโครงสร้างและตัวถัง (เฟรมอิสระ)

    2. แสดงการปรับโครงสร้างและตัวถัง (เฟรมอิสระ)

    3. แสดงการใช้เครื่องมือในการปรับโครงสร้างและตัวถัง (เฟรมอิสระ)

    4. แสดงการวิเคราะห์ความเสียหายเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวถังรถยนต์

    5. แสดงการดึงโครงรถ (Chassis)

    6. หลักฐานเอกสารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ  ใบกำหนดหน้าที่   ภาพถ่าย วีดิโอการปฏิบัติงาน หรือ  ผลงานจากการปฏิบัติงาน เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ระบุหรืออธิบายเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างและตัวถัง (เฟรมอิสระ)

    2 .ระบุหรืออธิบายเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในการปรับโครงสร้างและตัวถัง (เฟรมอิสระ)

    3. ระบุหรืออธิบายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความเสียหายเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวถังรถยนต์

    4. ระบุหรืออธิบายเกี่ยวกับการดึงโครงรถ (Chassis)

    5. หลักฐานความรู้ด้านเอกสาร เช่นใบรับรองความรู้จากสถานประกอบการ แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน   ใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร เป็นต้น

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      หลักฐานที่ต้องการแสดงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์สมรรถนะ และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. วิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    โดยเจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1. แบบประเมินข้อสอบข้อเขียน

    2. แบบประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบประเมินสัมภาษณ์

    4. แบบประเมินเทียบโอนประสบการณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำรายละอียด

    ขอบเขต (range statement) เป็นส่วนที่เกียวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกียวข้องกับสมรรถนะนี้ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานมีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures) สถานที่ทำงาน(work site) สภาวะในการทำงาน (operating conditions) และข้อมูล/เอกสาร (information/documents

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    I) ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures)

        - การปรับโครงสร้างและตัวถัง (เฟรมอิสระ) นี้ประกอบด้วยความสามารถในการ ดัด ดึง โครงรถประเภทเฟรมอิสระ มีโครงสร้างที่ซับซ้อนและได้รับความเสียหายหนัก รวมถึงปรับแต่งให้ได้รูปทรงที่ถูกต้องตามมาตรฐานคู่มือซ่อม

        - การดึงโครงรถ (Chassis) พิจารณาจากความสามรถในการวัดค่าของโครงรถที่เสียหายก่อนซ่อม ติดตั้งเครื่องมือและ อุปกรณ์การดึงโครงรถ ดึงโครงรถให้เข้ารูป วัดค่ามาตรฐานหลังการซ่อมและทดลองประกอบชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตามคู่มือซ่อม

    II) สถานที่ทำงาน (work site)

        - ทำความสะอาด บำรุงรักษาและจัดเก็บเครื่องมือวัดและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆโดยคำนึงถึงระบบ   5 ส และความปลอดภัยในการทำงาน

    III) สภาวะในการทำงาน (operating conditions)

        - อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ ได้แก่ ชุดประแจแหวน,ชุดประแจปากตาย ,เบอร์ 8,10,12 ,ชุดบล็อก ,เครื่องขัด ซิ้งเกิ้ล แอ๊คชั่น ,เครื่องขัดดับเบิ้ลแอคชั่น ,เครื่องเชื่อม MIX ,max ,co2 ,เครื่องขัดกระดาษทรายแบบสายพาน ,เครื่องเชื่อมกระตุก ,ค้อนตู๊ ,บีบควงปากแบน ,ไขควงสี่แฉก  ดึงตัวถังรถยนต์,เครื่องมื่อวัดระยะห่างตัวถัง,เครื่องเติม Co2

    IV) ข้อมูล/เอกสาร (information/documents)

        - คู่มือการใช้งาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1. ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2. ประเมินภาคความสามารถด้วยแบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

3. ประเมินภาคความรู้และประสบการณ์ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

4. ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ