หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมเบาชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์

สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASV-WBHX-210A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมเบาชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างซ่อมตัวถังรถยนต์


1 7231 ช่างเครื่องและช่างซ่อมเครื่องยนต์ยานยนต์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความสามารถ เตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเคาะได้ตามกำหนด เคาะชิ้นงานได้เข้ารูปทรงตามกำหนด พ่นน้ำยาป้องกันสนิมด้านหลังชิ้นงานเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเคาะได้ตามกำหนด ใช้เครื่องมือ Washer welder ได้ตามข้อกำหนด ใช้เครื่องมือ Washer welder ได้ตามข้อกำหนด พ่น/ทาน้ำยาป้องกัน สนิมด้านหลังชิ้นงาน ปฏิบัติงานได้ตามข้อกำหนดความปลอดภัย ได้ตามคู่มือปฏิบัติงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บริการยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
IV20141

ซ่อมชิ้นส่วนด้วยการเคาะได้ตามข้อกำหนด

เตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเคาะได้ตามกำหนด

IV20141.01 193101
IV20141

ซ่อมชิ้นส่วนด้วยการเคาะได้ตามข้อกำหนด

เคาะชิ้นงานได้เข้ารูปทรงตามกำหนด

IV20141.02 193102
IV20141

ซ่อมชิ้นส่วนด้วยการเคาะได้ตามข้อกำหนด

พ่นน้ำยาป้องกันสนิมด้านหลังชิ้นงาน

IV20141.03 193103
IV20141

ซ่อมชิ้นส่วนด้วยการเคาะได้ตามข้อกำหนด

ปฏิบัติงานได้ตามข้อกำหนดความปลอดภัย

IV20141.04 193104
IV20142

ซ่อมรอยยุบด้วยเครื่องมือพิเศษได้ตามข้อกำหนด

เตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเคาะได้ตามกำหนด

IV20142.01 193105
IV20142

ซ่อมรอยยุบด้วยเครื่องมือพิเศษได้ตามข้อกำหนด

ใช้เครื่องมือ Washer welder ได้ตามข้อกำหนด

IV20142.02 193106
IV20142

ซ่อมรอยยุบด้วยเครื่องมือพิเศษได้ตามข้อกำหนด

ชิ้นงานได้รูปทรงที่ถูกต้องตามกำหนด

IV20142.03 193107
IV20142

ซ่อมรอยยุบด้วยเครื่องมือพิเศษได้ตามข้อกำหนด

พ่น/ทาน้ำยาป้องกัน สนิมด้านหลังชิ้นงาน

IV20142.04 193108
IV20142

ซ่อมรอยยุบด้วยเครื่องมือพิเศษได้ตามข้อกำหนด

ปฏิบัติงานได้ตามข้อกำหนดความปลอดภัย

IV20142.05 193109

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถใช้อุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้กับเครื่อง Washer welder

2. สามารถอ่านขั้นตอนและทำความเข้าใจคู่มือปฏิบัติทำงานของเครื่อง Washer welder

3. สามารถใช้เครื่องเชื่อม CO2

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

2. มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือ

3. มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างตัวถังรถยนต์

4. มีความรู้เกี่ยวกับความรู้เรื่องโลหะวิทยาของชิ้นงานที่ทำการซ่อม

5. มีความรู้เกี่ยวกับความรู้เรื่องวัสดุที่ใช้ผลิตตัวถังรถยนต์

6. มีความรู้เกี่ยวกับชนิดและคุณสมบัติของน้ำยากันสนิม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. แสดงผลงานซ่อมเบาชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์

    2. แสดงการซ่อมเบาชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์

    3. แสดงการใช้เครื่องมือในซ่อมเบาชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์

    4. แสดงการซ่อมชิ้นส่วนด้วยการเคาะ

    5. แสดงการซ่อมรอยยุบด้วยเครื่องมือพิเศษ

    6. แสดงหลักฐานเอกสารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ  ใบกำหนด หน้าที่ ภาพถ่าย วีดิโอการปฏิบัติงาน หรือ  ผลงานจากการปฏิบัติงาน เป็นต้น 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ระบุหรืออธิบายเกี่ยวกับการซ่อมเบาชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์

    2. ระบุหรืออธิบายวิธีการใช้เครื่องมือในซ่อมเบาชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์

    3. ระบุหรืออธิบายเกี่ยวกับการซ่อมชิ้นส่วนด้วยการเคาะ

    4. ระบุหรืออธิบายเกี่ยวกับการซ่อมรอยยุบด้วยเครื่องมือพิเศษ

    5. หลักฐานความรู้ด้านเอกสาร เช่นใบรับรองความรู้จากสถานประกอบการ แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน  ใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร เป็นต้น

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการแสดงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์สมรรถนะ และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2.วิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    3.ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    โดยเจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1. แบบประเมินข้อสอบข้อเขียน.

    2. แบบประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบประเมินสัมภาษณ์

    4. แบบประเมินเทียบโอนประสบการณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำรายละเอียด

    ขอบเขต (range statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานมีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures) สถานที่ทำงาน(work site) สภาวะในการทำงาน (operating conditions) และข้อมูล/เอกสาร (information/documents

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    I) ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures)

        - การซ่อมชิ้นส่วนด้วยการเคาะ หมายถึง การเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเคาะได้ตามกำหนด วิธีการเลือกใช้ค้อนคาะ ในการเคาะชิ้นงานได้เข้ารูปทรงตามกำหนด พ่นน้ำยาป้องกันสนิมด้านหลังชิ้นงาน

        - การซ่อมรอยยุบด้วยเครื่องมือพิเศษ หมายถึง การซ่อมรอยยุบด้วยเครื่อง Washer welder การใช้เครื่องเชื่อม CO2

    II) สถานที่ทำงาน (work site)

        - ทำความสะอาด บำรุงรักษาและจัดเก็บเครื่องมือวัดและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆโดยคำนึงถึงระบบ  5 ส และความปลอดภัยในการทำงาน

    III) สภาวะในการทำงาน (operating conditions)

        - อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ ได้แก่ ชุดประแจแหวน,ชุดประแจปากตาย ,เบอร์ 8,10,12 ,ชุดบล็อก ,เครื่องขัด ซิ้งเกิ้ล แอ๊คชั่น ,เครื่องขัดดับเบิ้ลแอคชั่น ,เครื่องเชื่อม MIX ,max ,CO2​​​​​​​ ,เครื่องขัดกระดาษทรายแบบสายพาน ,เครื่องเชื่อมกระตุก ,ค้อนตู๊ ,บีบควงปากแบน ,ไขควงสี่แฉก 

    IV) ข้อมูล/เอกสาร (information/documents)

        - คู่มือการใช้งาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1. ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2. ประเมินภาคความสามารถด้วยแบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

3. ประเมินภาคความรู้และประสบการณ์ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

4. ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ