หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานซ่อมเบา

สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASV-NHQS-207A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานซ่อมเบา

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างซ่อมตัวถังรถยนต์


1 7231 ช่างเครื่องและช่างซ่อมเครื่องยนต์ยานยนต์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถ ใช้ชุดเครื่องมือถอด- ประกอบชิ้นส่วนตัวถังทั่วไปของรถยนต์ได้ตามคู่มือซ่อม ถอด-ประกอบโดยไม่เกิดความเสียหายกับชิ้นส่วนตัวถัง ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยได้ เลือกใช้ค้อนได้เหมาะสมกับลักษณะงาน เลือกใช้ตัวรอง (Dolly) ได้เหมาะสมกับลักษณะงาน ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านปลอดภัย ได้ตามคู่มือปฏิบัติงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บริการยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
IV20111

ใช้เครื่องมือประจำตัวช่างเพื่อการถอดประกอบชิ้นส่วนตัวถังได้ตามคู่มือซ่อม

ใช้ชุดเครื่องมือถอด- ประกอบชิ้นส่วนตัวถังทั่วไปของรถยนต์ได้ตามคู่มือซ่อม

IV20111.01 193057
IV20111

ใช้เครื่องมือประจำตัวช่างเพื่อการถอดประกอบชิ้นส่วนตัวถังได้ตามคู่มือซ่อม

ถอด-ประกอบโดยไม่เกิดความเสียหายกับชิ้นส่วนตัวถัง

IV20111.02 193058
IV20111

ใช้เครื่องมือประจำตัวช่างเพื่อการถอดประกอบชิ้นส่วนตัวถังได้ตามคู่มือซ่อม

ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยได้

IV20111.03 193059
IV20112

ใช้เครื่องมือสำหรับงานซ่อมเบาได้ตามข้อกำหนด

เลือกใช้ค้อนได้เหมาะสมกับลักษณะงาน

IV20112.01 193060
IV20112

ใช้เครื่องมือสำหรับงานซ่อมเบาได้ตามข้อกำหนด

เลือกใช้ตัวรอง (Dolly) ได้เหมาะสมกับลักษณะงาน

IV20112.02 193061
IV20112

ใช้เครื่องมือสำหรับงานซ่อมเบาได้ตามข้อกำหนด

ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยได้

IV20112.03 193062

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถใช้ค้อนเคาะและชุดอุปกรณ์การเคาะ

2. สามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

3. สามารถบำรุงรักษาเครื่องมือได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เกี่ยวกับการอ่านคู่มือพื้นฐาน

2. มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือพื้นฐานเพื่อการถอดประกอบชิ้นส่วนตัวถัง

3. มีความรู้เกี่ยวกับชนิดของเครื่องมือสำหรับงานซ่อมเบาในการถอด-ประกอบ

4. มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุชิ้นส่วนตัวถัง เช่น โลหะ หรืออโลหะ

5. การใช้คู่มือเครื่องมือในการใช้งาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. แสดงผลงานการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานซ่อมเบา

    2. แสดงการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานซ่อมเบา

    3. แสดงการใช้เครื่องมือประจำตัวช่างเพื่อการถอดประกอบชิ้นส่วนตัวถัง

    4. หลักฐานเอกสารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเช่น  ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ  ใบกำหนดหน้าที่  ภาพถ่าย วีดิโอการปฏิบัติงาน หรือ  ผลงานจากการปฏิบัติงาน เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ระบุหรืออธิบายเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานซ่อมเบา

    2. ระบุหรืออธิบายเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือประจำตัวช่างเพื่อการถอดประกอบชิ้นส่วนตัวถัง

    3. หลักฐานความรู้ด้านเอกสาร เช่นใบรับรองความรู้จากสถานประกอบการ แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน ใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร เป็นต้น

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      หลักฐานที่ต้องการแสดงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์สมรรถนะ และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. วิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1. แบบประเมินข้อสอบข้อเขียน

    2. แบบประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบประเมินสัมภาษณ์

    4. แบบประเมินเทียบโอนประสบการณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำรายละเอียด

    ขอบเขต (range statement) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการระบุสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมของงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานมีลักษณะสำคัญใน 4 กลุ่ม กล่าวคือ ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures) สถานที่ทำงาน(work site) สภาวะในการทำงาน (operating conditions) และข้อมูล/เอกสาร (information/documents)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    I) ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures)

        - การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานซ่อมตัวถังรถยนต์ ประกอบด้วยวิธีใช้ค้อนเคาะและชุดอุปกรณ์การเคาะ วิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

        - การปฏิบัติการเคาะด้วยค้อนเคาะ เช่น Dolly Box 

        - การปฏิบัติการรองด้วยตัวรอง เช่น ตัวรองกลม ตัวรองโค้ง ตัวรองเหลี่ยม

    II) สถานที่ทำงาน (work site)

        - ทำความสะอาด บำรุงรักษาและจัดเก็บเครื่องมือวัดและอุปกรณ์เสริมต่างๆโดยคำนึงถึงระบบ 5 ส และความปลอดภัยในการทำงาน

    III) สภาวะในการทำงาน (operating conditions)

        - อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ ได้แก่ ชุดประแจแหวน,ชุดประแจปากตาย ,เบอร์ 8,10,12 ,ชุดบล็อก ,เครื่องขัด ซิ้งเกิ้ล แอ๊คชั่น ,เครื่องขัดดับเบิ้ลแอคชั่น ,เครื่องเชื่อม MIX ,max ,CO2 ,เครื่องขัดกระดาษทรายแบบสายพาน ,เครื่องเชื่อมกระตุก ,ค้อนตู๊ ,บีบควงปากแบน ,ไขควงสี่แฉก 

    IV) ข้อมูล/เอกสาร (information/documents)

        - คู่มือการใช้งาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1. ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2. ประเมินภาคความสามารถด้วยแบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

3. ประเมินภาคความรู้และประสบการณ์ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

4. ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน



ยินดีต้อนรับ